ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจ้าพิจิตรจิราภา เทวกุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saranluck (คุย | ส่วนร่วม)
หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:16, 7 พฤศจิกายน 2551


หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล

ได้ทรงเข้าเรียนในโรงเรียนสุนันทาลัย จนสำเร็จชั้นมัธยม 5 หลังจากนั้นได้ทรงเริ่ม เป็นครูถวายพระอักษรภาษาอังกฤษแก่พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ เมื่อมีพระชันษาได้ 18 ปี พ.ศ. 2450 ได้ทรงรับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนราชินี ซึ่งสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2386 เพื่อให้เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของกุลสตรี ท่านอาจารย์ทรงมีความสามารถในหลายด้าน ได้ทรงตั้งแผนกอนุบาลขึ้นที่โรงเรียนราชินี ทรงออกหนังสือพิมพ์โรงเรียนชื่อ สตรีพจน์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นราชินีบำรุง เพื่อส่งเสริมให้ครูและนักเรียนค้นคว้าหาความรู้เขียนเรื่องและกลอนลงพิมพ์ในหนังสือนี้ ได้นิพนธ์บทละครและเพลงแนวส่งเสริมจริยศึกษาร้องกันแพร่หลาย ทรงก่อตั้งราชินีมูลนิธิและสมาคมนักเรียนเก่าราชินีขึ้น นอกจากนี้ยังทรงนำนักเรียนไปทัศนศึกษาตามสถานที่ต่างๆ อีกด้วย พ.ศ. 2472 ได้ทรงดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และ ผู้จัดการทั้งสองแห่ง ( โรงเรียนราชินี และ โรงเรียนราชินีบน ) จนถึงปี พ.ศ. 2480 ทรงลาออกจากอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนราชินีบน เนื่องจากมีพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ห้ามมิให้บุคคลเดียวเป็นอาจารย์ใหญ่หลายโรงเรียน จึงทรงเป็นผู้จัดการโรงเรียนราชินีบนเพียงตำแหน่งเดียวจนสิ้นชีพิตักษัย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2486 นับได้ว่าทรงงานเต็มความสามารถตลอดพระชนม์ชีพทีเดียว ด้วยเหตุนี้ชาวราชินีบนจึงควรอย่างยิ่งที่จะรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของ " ท่านอาจารย์ " สืบไปชั่วกาลนาน

หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จึงถือเป็นวันสำคัญของโรงเรียนอีกวันหนึ่งสืบมาจนทุกวันนี้