ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนราชินีบน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saranluck (คุย | ส่วนร่วม)
Saranluck (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 2:
 
 
== '''ประวัติโรงเรียนราชินีบน''' ==
 
พ.ศ.โรงเรียนราชินีบนเดิมมีนามว่า 2450 [[โรงเรียนศรีจิตรสง่า]] อยู่ในความอุปถัมภ์ของ[[หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล]] '''พ.ศ. 2450''' ได้รับพระมหากรุณาธิคุณใน [[สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง]] [[ในรัชกาลที่ 6]] ให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่[[โรงเรียนราชินี]] ด้วยน้ำพระทัยใฝ่ค้นคว้า และพระอุสาหะวิริยะที่จะสร้างความสามารถในการบริหารโรงเรียน เพื่อที่จะได้สามารถรับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณได้ดียิ่งขึ้น จึงได้ทรงเสียพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้ง[[โรงเรียนสตรี]]ขึ้น ที่ตึก[[ถนนอัษฎางค์]] เมื่อ'''วันที่ 16 พฤษภาคม 2454''' เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กจนถึงมัธยมปีที่ 3 ให้ชื่อว่า''' “ โรงเรียนศรีจิตรสง่า ”''' ด้วยวิธีร่วมทุน
 
ต่อมา เมื่อ '''พ.ศ. 2465''' โรงเรียนย้ายมาเปิดสอนที่ตึกของพระยามหิบาล ถนนสามเสนแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต [[กรุงเทพมหานคร]] บริเวณโรงไฟฟ้าสามเสน (สถานที่ปัจจุบัน)เมื่อตั้งอยู่ที่นี่ได้ 3 ปี ได้ขยายการสอนสูงขึ้นตามลำดับจนถึงชั้นมัธยมปีที่ 6
 
'''พ.ศ. 2469''' [[สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร]]ทรงพระศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์อุดหนุนการศึกษาเป็นจำนวนมากโปรดให้จัดซื้อที่ดิน บ้านพระยามหิบาลจำนวน 2 ไร่ 75 ตารางวา กับขอพระราชทานที่ดินของ[[สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า]] ตรงริม[[ถนนเขียวไข่กา]] มาสมทบ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ถมคูที่คั่นอยู่ตรงกลางนั้นเสีย จึงถมเนื้อที่ติดต่อกันรวม 4 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา โปรดให้กองช่างสุขาภิบาลอำนวยการสร้างสถานที่ศึกษาสำหรับสตรี ณ ที่แห่งนี้ ประทานเครื่องเรือนพร้อมเสร็จ โดยทรงสั่งทำที่โรงเรียนเพาะช่างทรงพระดำริว่านักเรียนชั้นมัธยม 7 และ 8 ของ[[โรงเรียนราชินี]]ที่ถนนมหาราช เป็นชั้นสูง ซึ่งจวนสำเร็จการเรียนอยู่แล้วควรจะให้คุ้นเคยกับสถานที่อันถูกต้องตามแบบสุขาภิบาลบ้าง เมื่อออกไปอยู่บ้านจะได้รู้จักแต่งบ้าน และรักษาสุขาภิบาล และอนามัยเป็นอันดี ทรงปรึกษาหม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล ท่านอาจารย์ใหญ่[[โรงเรียนราชินี]] ซึ่งท่านทรงเห็นด้วยและตัดสินพระทัยยุบโรงเรียนศรีจิตสง่า สมเด็จพระปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงพระกรุณาโปรดให้รับนักเรียนที่เคยเรียนที่โรงเรียนศรีจิตสง่านี้เข้าเรียนต่อไปในโรงเรียนใหม่นี้ จึงเป็นอันว่าโรงเรียนใหม่นี้รับนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ 3 ขึ้นไป โปรดให้นักเรียนราชินีที่จบชั้นมัธยมปีที่ 6 มาเรียนชั้นมัธยม 7 – 8 ต่อ ณ โรงเรียนราชินีบนนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2472 เป็นต้นไป [[สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร]] ประทานนาม โรงเรียนว่า “ โรงเรียนราชินีบน ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ]] ดังแจ้งในแผ่นจารึกหน้าตึกพิจิตรจิราภา ว่าสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นองค์แรกที่ทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการศึกษาแห่ง[[สตรี]] ซึ่งจะเป็นมารดาและบุพพาจารย์สืบต่อไปในภายหน้า ได้ทรงสละพระราชทรัพย์เป็นอเนกประการ เพื่อพระราชทานการศึกษาแก่สตรี เริ่มตั้งแต่ พระราชธิดาใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตลอดจนกุลสตรีทั่วไป
 
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นองค์แรกที่ทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการศึกษาแห่งสตรี ซึ่งจะเป็นมารดาและบุพพาจารย์สืบต่อไปในภายหน้า ได้ทรงสละพระราชทรัพย์เป็นอเนกประการ เพื่อพระราชทานการศึกษาแก่สตรี เริ่มตั้งแต่พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนกุลสตรีทั่วไป
 
สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธรเป็นพระองค์หนึ่งที่ได้รับพระมหากรุณา จึงทรงสร้าง โรงเรียนราชินีบน แห่งนี้ขึ้นไว้เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพันปีหลวงพระองค์นั้น
 
สมเด็จพระปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร โปรดให้ทำแผ่นศิลาจารึกคำเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 ตอกไว้กับตึกแรก ที่ทรงสร้างในโรงเรียนราชินีบน
 
นอกจากนี้ยังได้ทรงสร้างห้องแถวไม้ไว้เก็บผลประโยชน์ไว้บำรุงโรงเรียนทุกปี ขณะที่ยังดำรงพระชนม์อยู่ ก็จะประทานเงินสำหรับใช้สอยประจำตลอดมา นอกจากนี้ยังได้พระราชทานวังสุคันธาวาสที่ตั้งอยู่ [[ถนนวิทยุ]] ให้แก่โรงเรียนราชินีบน
 
โรงเรียนราชินีบน ได้เปิดทำการสอนเมื่อวันทื่ 17 พฤษภาคม 2472 มีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( [[วัดเบญจมบพิตร]] ) ขณะนั้นเป็น[[พระเทพมุนี]]เป็นประธานประกอบพิธีสงฆ์ [[พระวรวงศ์เธอพระองค์หญิง สุทธสิริโสภา]] เสด็จแทนพระองค์ สมเด็จพระราชปิตุจฉาฯ ทรงทำพิธีเปิดป้ายนามโรงเรียน เมื่อแรกเปิด มีนักเรียน 63 คน ตึกเรียนหลังแรกเป็นตึกสีครีม ปีกหนึ่งเป็นสองชั้น อีกปีกหนึ่งเป็นชั้นเดียว ชั้นบนสำหรับนักเรียนประจำ ส่วนชั้นล่างเป็นห้องเรียน ปัจจุบันเรียกตึกนี้ว่า [[ตึกพิจิตรจิราภา]]
 
โรงเรียนราชินีบน สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ด้วยพระกรุณาของ[[สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร]] ทรงสร้างห้องแถวไว้เพื่อเก็บผลประโยชน์ ตั้งทุนไว้บำรุงโรงเรียน และได้ประทานสิ่งของตลอดจนเงินค่าใช้จ่ายให้กับโรงเรียน
 
โรงเรียนได้สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนนัเรียนที่เพิ่มมากขึ้น
 
'''พ.ศ. 2508''' ได้ขยายตึกเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 เรียนที่ตึก 4 ชั้น ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตึก 3 ชั้น เป็นตึกประถมและอนุบาล
 
'''พ.ศ. 2510''' เปิดประมูลการก่อสร้างตึกเรียนวิทยาศาสตร์ และ ห้องอาหาร
 
'''พ.ศ. 2526''' เปิดตึกใหม่ซึ่งใช้เป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องวีดีโอ ใต้ตึกเป็นที่รับประทานอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและห้องโภชนาการ
 
'''พ.ศ. 2537''' โรงเรียนได้สร้างอาคารเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น โดยรื้อห้องแถวฝั่งตรงข้ามถนนเขียวไข่กา จัดสร้างเป็นตึกอนุบาลและที่พักนักเรียนประจำ สระว่ายน้ำ โรงยิม และสโมสร
 
ปัจจุบันโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 2 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนห้องเรียนทั้งสิ้น 67 ห้อง เป็นอนุบาล ถึง มัธยม 3 ชั้นละ 5 ห้องเรียน และ มัธยม 4 ถึง มัธยม 6 ชั้นละ 4 ห้องเรียน
 
 
'''วิสัยทัศน์ของโรงเรียนราชินีบน'''
 
โรงเรียนราชินีบน ตั้งอยู่เลขที่ 885 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โรงเรียนราชินีบนจัดการศึกษาอย่างมีเอกภาพ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มุ่งจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง การบูรณาการ การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดและการทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาให้นักเรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกุลสตรีไทยที่ทันสมัย ใฝ่เรียนรู้ มีคุณธรรม มีกิริยามารยาทที่ดี รู้จักกาลเทศะ รักษ์และแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างเหมาะสม มีวิจารณญาณ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค -เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลสร้างเสริมสุขภาพส่วนตน ครอบครัว และชุมชน มีจิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม รู้จักสิทธิและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีในสังคมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ และทักษะไปใช้ในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตอย่างพอเพียงตลอดจนการแก้ปัญหา พัฒนา และสร้างสรรค์ความเจริญให้กับชุมชน
 
 
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
 
 
'''วิสัยทัศน์ของ*[http://www.rajinibon.ac.th/ โรงเรียนราชินีบน''']
โรงเรียนราชินีบน ตั้งอยู่เลขที่ 885 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
http://www.rajinibon.ac.th