ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
V i P (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
 
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว [[พ.ศ. 2475|พุทธศักราช 2475]] ฉบับนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีผู้รับสนอง[[พระบรมราชโองการ]]ในการประกาศใช้ ถ้าอ้างในหลักทาง[[นิติศาสตร์]]แล้ว อาจกล่าวได้ว่า [[พระมหากษัตริย์]]ทรงยินยอมและตกลงใจในการให้[[รัฐธรรมนูญ]]แก่ประชาราษฎรอย่างแท้จริง
 
== บทบัญญัติในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ==
 
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 มีสาระสำคัญทั้งหมด 5 หมวด 39 มาตรา
 
 
<center>[[ภาพ:Emblem thailand garuda4.png|125px]]</center>
<br />
<center>'''พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว'''</center>
<center>'''พุทธศักราช ๒๔๗๕''' </center>
<br />
<br />
'''<center>[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า'''
'''<br />โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และโดยที่ได้ทรงยอมรับตามคำร้องของคณะราษฎร'''
'''<br />จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ไว้โดยมาตราต่อไปนี้</center>'''
 
=== หมวด ๑ ===
 
'''ข้อความทั่วไป'''
 
* '''มาตรา ๑''' อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎร ทั้งหลาย
* '''มาตรา ๒''' ให้มีบุคคลและคณะบุคคลดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรตามที่จะได้กล่าวต่อไปในธรรมนูญ คือ
** ๑. [[กษัตริย์]]
** ๒. [[สภาผู้แทนราษฎร]]
** ๓. [[คณะกรรมการราษฎร]]
** ๔. [[ศาล]]
 
 
=== หมวด ๒ ===
 
'''[[กษัตริย์]]'''
 
* '''มาตรา ๓''' [[กษัตริย์]]เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ [[พระราชบัญญัติ]]ก็ดี คำวินิจฉัยของ[[ศาล]]ก็ดี การอื่น ๆ ซึ่งจะมีบท[[กฎหมาย]]ระบุไว้โดยฉะเพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของ[[กษัตริย์]]
* '''มาตรา ๔''' ผู้เป็น[[กษัตริย์]]ของประเทศ คือ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] การสืบมฤดกให้ให้เป็นไปตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ [[พ.ศ. 2467|พ.ศ. ๒๔๖๗]] และด้วยความเห็นชอบของ[[สภาผู้แทนราษฎร]]
* '''มาตรา ๕''' ถ้า[[กษัตริย์]]มีเหตุจำเป็นชั่วคราวที่จะทำหน้าที่ไม่ได้ หรือไม่อยู่ในพระนคร ให้[[คณะกรรมการราษฎร]]เป็นผู้ใช้สิทธิแทน
* '''มาตรา ๖''' [[กษัตริย์]]จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของ[[สภาผู้แทนราษฎร]]จะวินิจฉัย
* '''มาตรา ๗''' การกระทำใด ๆ ของ[[กษัตริย์]]ต้องมี[[กรรมการราษฎร]] ผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของ[[คณะกรรมการราษฎร]]จึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
 
 
=== หมวด ๓ ===
 
'''[[สภาผู้แทนราษฎร]]'''
 
''ส่วนที่ ๑ อำนาจและหน้าที่''
 
* '''มาตรา ๘''' [[สภาผู้แทนราษฎร]]มีอำนาจออก[[พระราชบัญญัติ]]ทั้งหลาย [[พระราชบัญญัติ]]นั้นเมื่อ[[กษัตริย์]]ได้ประกาศให้ใช้แล้ว ให้เป็นอันใช้บังคับได้ ถ้า[[กษัตริย์]]มิได้ประกาศให้ใช้[[พระราชบัญญัติ]]นั้นภายใน กำหนด ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับ[[พระราชบัญญัติ]]นั้นจาก[[สภา]] โดยแสดงเหตุผลที่ไม่ยอมทรงลงพระนาม ก็มีอำนาจส่ง[[พระราชบัญญัติ]]นั้นคืนมายัง[[สภา]] เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ถ้า[[สภา]]ลงมติยืนตามมติเดิม [[กษัตริย์]]ไม่เห็นพ้องด้วย [[สภา]]มีอำนาจออกประกาศ[[พระราชบัญญัติ]]นั้นใช้บังคับเป็น[[กฎหมาย]]ได้
* '''มาตรา ๙''' สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจดูแลควบคุมกิจการ ของประเทศ และมีอำนาจประชมกันถอดถอนกรรมการ ราษฎรหรือพนักงานรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้
 
 
'''''
''ส่วนที่ ๒ [[ผู้แทนราษฎร]]''
 
* '''มาตรา ๑๐''' สมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นไปตามกาลสมัยดั่งนี้
 
** สมัยที่ ๑
นับแต่วันใช้ธรรมนูญนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิก ในสมัยที่ ๒ จะเข้ารับตำแหน่งให้คณะราษฎรซึ่งมีคณะผู้รักษา พระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทนจัดตั้งผู้แทนราษฎร ชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน ๗๐ นายเป็นสมาชิกในสภา
 
** สมัยที่ ๒
ภายในเวลา ๖ เดือนหรือจนกว่าการจัดประเทศเป็นปกติเรียบร้อย สมาชิกในสภาจะต้องมีบุคคล ๒ ประเภททำกิจการร่วมกัน คือ
 
*** ประเภทที่ ๑ ผู้แทนซึ่งราษฎรจะได้เลือกขึ้นจังหวัดละ ๑ นาย ถ้าจังหวัดใดมีสมาชิกเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน ให้จังหวัดนั้นเลือกผู้แทนเพิ่มขึ้นอีก ๑ นายทุก ๆ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น เศษของ ๑๐๐,๐๐๐ ถ้าเกินกว่าครึ่งให้นับเพิ่มขึ้นอีก ๑
*** ประเภทที่ ๒ ผู้เป็นสมาชิกอยู่แล้วในสมัยที่ ๑ มีจำนวน เท่ากับสมาชิกประเภทที่ ๑ ถ้าจำนวนเกินให้เลือกกันเองว่า ผู้ใดจะคงเป็นสมาชิกต่อไป ถ้าจำนวนขาดให้ผู้ที่มีตัวอยู่ เลือกบุคคลใด ๆ เข้าแทนจนครบ
 
** สมัยที่ ๓
เมื่อจำนวนราษฎรทั่วพระราชอาณาเขตต์ได้สอบไล่วิชชาปถมศึกษาได้เป็นจำนวนเกินกว่าครึ่งและอย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ สมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น สมาชิกประเภทที่ ๒ เป็นอันไม่มีอีกต่อไป
 
* '''มาตรา ๑๑''' คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้แทน ประเภทที่ ๑ คือ
 
** ๑. สอบไล่วิชชาการเมืองได้ตามหลักสูตร์ซึ่งสภาจะได้ ตั้งขึ้นไว้
** ๒. มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์
** ๓. ไม่เป็นผู้ไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถ
** ๔. ไม่ถูกศาลพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิในการรับเลือก
** ๕. ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย
** ๖. ฉะเพาะผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้แทนประเภทที่ ๑ ใน สมัยที่ ๒ จะต้องได้รับความเห็นชอบของสมาชิกในสมัยที่ ๑ เสียก่อนว่าเป็นผู้ที่ไม่ควรสงสัยว่าจะนำมาซึ่งความไม่เรียบร้อย
 
* '''มาตรา ๑๒''' การเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ ๑ ที่ ๒ ให้ทำ ดั่งนี้
 
** ๑. ราษฎรในหมู่บ้านเลือกผู้แทนเพื่อออกเสียงตั้งผู้แทน ตำบล
** ๒. ผู้แทนหมู่บ้านเลือกผู้แทนตำบล
** ๓. ผู้แทนตำบลเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกในสภาผู้แทน ราษฎร
การเลือกตั้งสมาชิกในสมัยที่ ๓ จะมีกฎหมายบัญญัติภายหลังโดยจะดำเนินวิธีการที่ให้สมาชิกได้เลือกตั้งผู้แทนในสภาโดยตรง
 
* '''มาตรา ๑๓''' ผู้แทนประเภทที่ ๑ จะอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ ๔ ปีนับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง แต่เมื่อถึงสมัยที่ ๓ แล้ว แม้ผู้แทนในสมัยที่ ๒ จะได้อยู่ในตำแหน่งไม่ถึง ๔ ปีก็ดี ต้องออกจากตำแหน่งนับแต่วันที่ผู้แทนในสมัยที่ ๓ ได้เข้ารับตำแหน่ง
 
ถ้าตำแหน่งผู้แทนว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามเวร ให้สมาชิกเลือกผู้อื่นตั้งขึ้นใหม่ให้เต็มที่ว่าง แต่ผู้แทนใหม่มีเวลาอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่ผู้ออกไปนั้นชอบที่จะอยู่ได้
 
* '''มาตรา ๑๔''' ราษฎรไม่ว่าเพศใดเมื่อมีคุณสมบัติดั่งต่อไปนี้ ย่อมมีสิทธิออกเสียงลงมติเลือกผู้แทนหมู่บ้านได้ คือ
 
** ๑. มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์
** ๒. ไม่เป็นผู้ไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถ
** ๓. ไม่ถูกศาลพิพากษาให้เสียสิทธิในการออกเสียง
** ๔. ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย
 
** คุณสมบัติของผู้แทนหมู่บ้านและผู้แทนตำบลให้เป็นไป เหมือนดั่งมาตรา ๑๑
 
* '''มาตรา ๑๕''' การเลือกตั้งผู้แทนใด ๆ ให้ถือตามคะแนน เสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้มีการเลือกครั้งที่ ๒ ถ้าครั้งที่ ๒ มีคะแนนเสียงเท่ากันให้ตั้งคนกลางออกเสียงชี้ ขาด และให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนกลางไว้
 
* '''มาตรา ๑๖''' ผู้แทนนอกจากถึงเวร จะต้องออกจาก ตำแหน่ง ให้นับว่าขาดจากตำแหน่ง เมื่อขาดคุณสมบัติดั่ง กล่าวไว้ในมาตรา ๑๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเมื่อตาย หรือ เมื่อสภาได้ได้วินิจฉัยให้ออกในเมื่อสภาเห็นว่าเป็นผู้นำความ เสื่อมเสียให้แก่สภา
 
* '''มาตรา ๑๗''' การฟ้องร้องสมาชิกของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] เป็นคดีอาชญายังโรงศาลจะต้องได้รับอนุญาตจากสภาก่อน ศาลจึ่งจะรับฟ้องได้
 
 
'''''
''ส่วนที่ ๓ ระเบียบการประชุม''
 
* '''มาตรา ๑๘''' ให้สมาชิกเลือกกันขึ้นเป็นประธานของ สภา ๑ นายมีหน้าที่ดำเนิรการของสภา และมีรองประธาน ๑ นายเป็นผู้ทำการแทน เมื่อประธานมีเหตุขัดข้องชั่วคราว ที่จะทำหน้าที่ได้
 
* '''มาตรา ๑๙''' เมื่อประธานไม่อยู่ หรือไม่สามารถมาได้ ก็ให้รองประธานแทนเป็นผู้รักษาความเรียบร้อยในสภา และ จัดการให้ได้ปรึกษาหารือกันตามระเบียบ
 
* '''มาตรา ๒๐''' ถ้าประธานและรองประธานไม่อยู่ในที่ประชุม ทั้ง ๒ คนก็ให้สมาชิกที่มาประชุมเลือกตั้งกันเองขึ้นเป็นประธาน คนหนึ่งชั่วคราวประชุมนั้น
 
* '''มาตรา ๒๑''' การประชุมปกติให้เป็นหน้าที่ของสภาเป็น ผู้กำหนดการประชุมพิเศษจะมีได้ต่อเมื่อสมาชิกมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่า ๑๕ คนได้ร้องขอหรือคณะกรรมการราษฎรได้ร้อง ขอให้เรียกประชุม การนัดประชุมพิเศษ ประธานหรือผู้ทำการแทนประธานเป็นผู้สั่งนัด
 
* '''มาตรา ๒๒''' การประชุมทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึ่งจะเป็นองค์ ประชุมปรึกษาการได้
 
* '''มาตรา ๒๓''' การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้นให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีจำนวนเสียงลงคะแนนเท่ากันให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียง หนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
 
* '''มาตรา ๒๔''' สมาชิกไม่ต้องรับผิดในถ้อยคำใด ๆ ที่ได้กล่าวหรือแสดงเป็นความเห็นในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุม ผู้หนึ่งผู้ใดจะว่ากล่าวฟ้องร้องเพราะเหตุนั้นหาได้ไม่
 
* '''มาตรา ๒๕''' ในการประชุมทุกคราวประธานต้องสั่งให้เจ้าหน้าที่ประจำในสภาจดรายงานรักษาไว้และเสนอเพื่อให้สมาชิกได้ตรวจแก้ไขรับรอง แล้วให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมลงนามกำกับไว้
 
* '''มาตรา ๒๖''' สภามีอำนาจตั้งอนุกรรมการเพื่อทำการอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือให้สอบสวนพิจารณาทำความเห็นในเรื่องใด เรื่องหนึ่งขึ้นเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เพื่อปรึกษาหารือตกลงอีก ชั้นหนึ่งก็ได้ ประธานอนุกรรมการนั้นเมื่อสภาไม่ได้ตั้งก็ให้อนุกรรมการเลือกกันเองตั้งขึ้นเป็นประธานได้
 
อนุกรรมการมีอำนาจเชิญบุคคลใด ๆ มาชี้แจงแสดงความ เห็นได้ อนุกรรมการและผู้ที่เชิญมาได้รับสิทธิในการแสดง ความเห็นตามมาตรา ๒๔
 
ในการประชุมอนุกรรมการนั้นต้องมีอนุกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า ๓ นายจึ่งจะเป็นองค์ประชุมปรึกษาการได้เว้นแต่อนุกรรมการนั้นจะมีจำนวนตั้งขึ้นเพียง ๓ คน เมื่อมาประชุมแค่ ๒ คนก็ให้นับว่าเป็นองค์ประชุมได้
 
* '''มาตรา ๒๗''' สภามีอำนาจตั้งระเบียบการปรึกษาหารือ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามธรรมนูญนี้ (ในชั้นแรกนี้ให้ อนุโลมใช้ข้อบังคับสภากรรมการองคมนตรีฉะเพาะที่ไม่ขัด กับธรรมนูญนี้ไปพลางก่อน)
 
 
=== หมวด ๔ ===
 
'''[[คณะกรรมการราษฎร]]'''
 
''ส่วนที่ ๑ อำนาจและหน้าที่''
 
* '''มาตรา ๒๘''' คณะกรรมการราษฎรมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุที่ประสงค์ของสภา
 
* '''มาตรา ๒๙''' ถ้ามีการฉุกเฉินเกิดขึ้นซึ่งคณะกรรมการจะเรียกประชุมสภาราษฎรให้ทันท่วงทีมิได้ และคณะกรรมการราษฎรเห็นสมควรจะต้องออกกฎหมายเพื่อให้เหมาะแก่การฉุกเฉินนั้น ๆ ก็ทำได้ แต่จะต้องรีบนำกฎหมายนั้นขึ้นให้สภารับรอง
 
* '''มาตรา ๓๐''' คณะกรรมการราษฎรมีอำนาจให้อภัยโทษ แต่ให้นำความขึ้นขอพระบรมราชานุญาตเสียก่อน
 
* '''มาตรา ๓๑''' ให้เสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้รับผิดชอบต่อคณะกรรมการราษฎรในกิจการทั้งปวง
 
สิ่งใดซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งหรือระเบียบการของคณะกรรมการราษฎร หรือกระทำไปโดยธรรมนูญไม่อนุญาตให้ทำได้ให้ถือว่าการนั้นเป็นโมฆะ
 
 
'''''
''ส่วนที่ ๒ กรรมการราษฎรและเจ้าหน้าที่ประจำ''
 
* '''มาตรา ๓๒''' คณะกรรมการราษฎรประกอบด้วยประธานคณะกรรมการราษฎร ๑ นาย และกรรมการราษฎร ๑๔ นาย รวมเป็น ๑๕ นาย
 
* '''มาตรา ๓๓''' ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกในสภาผู้ ๑ ขึ้นเป็น ประธานกรรมการ และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกใน สภาอีก ๑๔ นายเพื่อเป็นกรรมการ การเลือกนี้เมื่อได้รับ ความเห็นชอบของสภาแล้ว ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับเลือกนั้น ๆ เป็นกรรมการของสภา ในเมื่อสภาเห็นว่ากรรมการมิได้ดำเนิน กิจการตามรัฐประศาสโนบายของสภา สภามีอำนาจเชิญ กรรมการให้ออกจากหน้าที่ แล้วเลือกตั้งใหม่ตามที่กล่าวใน ตอนนั้น
 
* '''มาตรา ๓๔''' กรรมการคนใดมีเหตุอันกระทำให้กรรมการคนนั้นขาดคุณสมบัติอันกำหนดไว้สำหรับผู้แทนในมาตรา ๑๑ ก็ตาม หรือตายก็ตามให้สภาเลือกกรรมการแทนสำหรับตำแหน่งนั้น ๆ
 
ในเมื่อสภาได้เลือกตั้งกรรมการแล้ว สภาชุดนั้นหมดกำหนดอายุตำแหน่งเมื่อใด ให้ถือว่ากรรมการชุดนั้นย่อมหมดกำหนดอายุตำแหน่งด้วย
 
* '''มาตรา ๓๕''' การตั้งการถอดตำแหน่ง[[เสนาบดี]] ย่อมเป็น พระราชอำนาจของ[[กษัตริย์]] พระราชอำนาจจะทรงใช้แต่ โดยตามคำแนะนำของ[[คณะกรรมการราษฎร]]
 
* '''มาตรา ๓๖''' การเจรจาการเมืองกับต่างประเทศเป็นหน้าที่ของกรรมการผู้แทนราษฎร และกรรมการอาจตั้งผู้แทนเพื่อ การนี้ได้
 
การเจรจาได้ดำเนินไปประการใดให้กรรมการรายงานกราบบังคมทูลกษัตริย์ทรงทราบ
 
การให้สัตยาบันสัญญาทางพระราชไมตรีเป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์ แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ตามคำแนะนำของ[[กรรมการราษฎร]]
 
* '''มาตรา ๓๗''' การประกาศสงครามเป็นพระราชอำนาจของ[[กษัตริย์]] แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ตามคำแนะนำของ[[กรรมการราษฎร]]
 
 
'''''
''ส่วนที่ ๓ ระเบียบการประชุม''
 
* '''มาตรา ๓๘''' ระเบียบการประชุมของ[[คณะกรรมการราษฎร]]ให้อนุโลมตามที่บัญญัติในหมวดที่ ๓
 
 
=== หมวด ๕ ===
 
'''ศาล'''
 
* '''มาตรา ๓๙''' การระงับข้อพิพาทให้เป็นไปตาม[[กฎหมาย]]ที่ใช้อยู่ในเวลานี้
 
 
 
 
ประกาศมา ณ วันที่ [[27 มิถุนายน|๒๗ มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475|พุทธศักราช ๒๔๗๕]] และให้ใช้บังคับได้แต่บัดนี้เป็นต้นไป
 
(พระบรมนามาภิธัย) ประชาธิปก ป.ร.
 
== สาระสำคัญ ==
เส้น 199 ⟶ 11:
# [[คณะกรรมการราษฎร]] มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภา อันประกอบไปด้วย [[ประธานคณะกรรมการราษฎร]] 1 คน และ[[คณะกรรมการราษฎร]] 14 คน รวมเป็น 15 คน
''([[ประธานคณะกรรมการราษฎร]] เทียบเท่าตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]]ในปัจจุบัน)''
 
 
== สาเหตุการสิ้นสุดการใช้[[รัฐธรรมนูญ]] ==
สาเหตุการสิ้นสุดการใช้[[รัฐธรรมนูญ]]อันเนื่องมาจากมีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475]] ซึ่งเป็น[[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับถาวรแทน เมื่อวันที่ [[10 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2475]]
 
 
{{รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย}}