ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการทดลองเขียน สแปม หรือการก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 25:
คณะการแพทย์แผนตะวันออกจัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองกระแสความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของสังคมไทยและโลก โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์ วิจัย และพัฒนา ไปจนถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีรากฐานจากภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันออก บัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้จะเป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดและพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านนี้ เพื่อนำไปสู่การสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในทั้ง 3 ด้าน คือ
 
'''1. เป็นแพทย์แผนตะวันออกไทยที่ทันสมัย'''โดยมีความรู้ทั้งด้านภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแผนตะวันออกผสมผสานกับความรู้ในหลักการตรวจวินิจฉัยโรคของแพทย์แผนปัจจุบัน
 
'''2. เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสมุนไพรเพื่อส่งออก'''ที่มีความรู้ในเทคโนโลยีขั้นสูงและสามารถปรับใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาสมุนไพรไทยอย่างเป็นรูปธรรม
บรรทัด 42:
หลักสูตร 4 ปี จะเริ่มจากเรียนพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เคมี ชีวเคมี ชีววิทยา พฤกษศาสตร์ ในปีที่ 1 ในชั้นปีที่ 2 จะเรียนพื้นฐานวิชาชีพในเทอมที่ 1 เช่น สรีรวิทยา เภสัชวิทยา กายวิภาคศาสตร์ และในเทอมที่ 2 และปีที่ 3 ทั้งปี จะเข้าสู่วิชาชีพที่เน้นการเรียนรู้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนตะวันออก ประกอบด้วย การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน และการแพทย์อายุรเวท ในวิชาที่เรียนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยจะประกอบด้วย เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การนวดไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทย สำหรับการแพทย์แผนจีนจะเรียนเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาด้วยยาสมุนไพรจีน หลักการฝังเข็ม เป็นต้น จะมีการฝึกงานที่คลินิกการแพทย์แผนไทยในช่วงปิดภาคฤดูร้อนของปีที่ 3 ในปีที่ 4 จะเรียนวิชาเกี่ยวกับการพัฒนาภูมิปัญญาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ประกอบด้วย หลักการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรขั้นอุตสาหกรรม เช่น การสกัดสมุนไพรระดับอุตสาหกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ยาสมุนไพร เครื่องสำอาง อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่มและอาหารเพื่อสุขภาพ การควบคุมคุณภาพมาตรฐานสากล การประเมินความปลอดภัย การประเมินประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมถึงเรียนเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญา
นอกจากนี้ ยังมีรายวิชาที่เกี่ยวกับระบบส่งเสริมสุขภาพ เช่น สปา ซึ่งประกอบด้วยการใช้วิธีการทางการแพทย์แผนตะวันออก และวิธีการทางธรรมชาติบำบัดในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพและความงามเช่น การนวดชนิดต่างๆ การทรีตเม้นหน้าและตัว (facial and body treatment) การบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น (therapeutic heat and cold) ธาราบำบัด (hydrotherapy) คันธบำบัด (aromatherapy) รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับโภชนาการ อาหารสมุนไพร และอาหารเสริมสุขภาพ การฝึกสมาธิเป็นต้น รายละเอียดของวิชาที่เรียนทุกวิชาสามารถดูได้จาก web site คือ www.rsu.ac.th/oriental_med
 
'''หลักสูตรปริญญาโท'''[[ชื่อลิงก์]]
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การแพทย์แผนตะวันออก)
M.Sc. (Oriental Medicine)
 
'''ปรัชญา'''
การเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนตะวันออก มีจุดมุ่งมั่นความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการแพทย์แผนตะวันออก โดยเน้นการฟื้นฟูภูมิปัญญาและการพัฒนาให้มีความทันสมัยด้วยหลักของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมกับสามารถปรับใช้ในระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยและระดับสากลได้ บนพื้นฐานของการประเมินด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิผล ทั้งการส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพและการรักษาโรค รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรระดับส่งออก
'''แผนการศึกษา''':ระบบทวิภาค กำหนดการเปิดสอนภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2551 เน้นสอนวันเสาร์ อาทิตย์
'''คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา'''
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือสำนักงาน คณะกรรมการเข้าราชการพลเรือนรับรอง และมีคุณสมบัติอื่นตามเกณฑ์กำหนดของหลักสูตรดังสาขาต่อไปนี้
1) การแพทย์แผนตะวันออก การแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์
2) วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือที่เกี่ยวข้อง เช่น เภสัชศาสตร์ กายภาพบำบัด พยาบาล เทคนิคการแพทย์ ฯลฯ
3) สาขาอื่นที่มีพื้นฐานด้านการแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนตะวันออกที่เพียงพอ
'''จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ''' ไม่น้อยกว่า 40 หน่วยกิต
'''โครงสร้างและองค์ประกอบของหลักสูตร''' ตามแผน ก. ประกอบด้วย
หมวดวิชาพื้นฐาน 5 หน่วยกิต
หมวดวิชาชีพ 23 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
 
หมวดวิชาชีพ (23 หน่วยกิต) ให้เลือกเพียง 1 แขนงใน 5 แขนง ต่อไปนี้
'''แขนงที่ 1 ด้านคลินิก (การพัฒนาการรักษาโรค)'''
ศึกษาและวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการพัฒนาการรักษาโรค การส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพ โดยใช้หลักการแพทย์แผนตะวันออกขั้นสูงที่เน้นการใช้แพทย์แผนไทยในการรักษาโรคเรื้อรัง
 
'''แขนงที่ 2 ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร'''
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรทุกรูปแบบด้วยเทคโนโลยีสมุนไพรขั้นสูงทั้งที่เป็นยา ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพและเครื่องสำอาง โดยเน้นการพัฒนาแบบสมัยใหม่และแบบที่มีรากฐานมาจากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันออก
'''แขนงที่ 3 ด้านการประเมินความปลอดภัยและประสิทธิผล'''
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการประเมินความปลอดภัยและประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีรากฐานมาจากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันออกด้วยหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่อันประกอบด้วยการทดสอบทางด้านพิษวิทยา เภสัชวิทยาและการทดลองทางคลินิกในคนไข้
 
'''แขนงที่ 4 ด้านการประเมินคุณภาพ'''
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรแบบสมัยใหม่และแบบที่มีรากฐานมาจากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันออกด้วยหลักการประกันคุณภาพ และการควบคุมคุณภาพที่เป็นสากลตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
 
'''แขนงที่ 5 ด้านการควบคุมการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร'''ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตและการตลาดของผลิตภัณฑ์สมุนไพรในระดับประเทศและสากลในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นยา ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพและเครื่องสำอาง ในทุกรูปแบบทั้งที่มีการพัฒนาแบบสมัยใหม่และแบบที่มีรากฐานมาจากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันออก โดยเน้นหลักการบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงศึกษาเกณฑ์กฎหมายทั่วโลกเกี่ยวกับผลิตและการตลาดภัณฑ์สมุนไพร
 
รายละเอียดการรับสมัคร ดูได้ที่ www.rsu.ac.th/oriental_med รับสมัครถึง 31 ตุลาคม 2551 และเริ่มเรียน 1 พ.ย. 51
 
== ทุนการศึกษา ==