ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หยัด ช้างทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Pastman (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{ศิลปินกรมศิลปากร}}
 
นาย'''หยัด ช้างทอง''' [[ศิลปินแห่งชาติ]] สาขาศิลปการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) พุทธศักราช ๒๕๓๒ [http://art.culture.go.th/index.php?case=artistDetail&art_id=161&pic_id=&side=dnc_art_thได้] รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับมอบท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ซึ่งเป็นหน้าพาทย์สูงสุดและมีความศักดิ์สิทธิ์ในทางนาฏศิลป์ไทย จากนายรงภักดี (เจียร จารุจรณ) [http://art.culture.go.th/index.php?case=artistDetail&art_id=155&pic_id=&side=dnc_art_th] ณ โรงละครพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖ พร้อมกับศิลปินอาวุโสของกรมศิลปากรท่านอื่นอีก๓ ท่าน ๑.นายอาคม สายาคม ๒. นายอร่าม อินทรนัฏ ๓. นายยอแสง ภักดีเทวา
 
[[ภาพ:06-01-24-Amporn-1DSC.jpg|450px|left]]
บรรทัด 22:
[[ภาพ:Yadchangthong&wifeDSC.jpg|200px|left]]
 
นายหยัด ช้างทอง เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน [[พ.ศ. ๒๔๖๒]] ที่บ้านริมคลองประปา [[แขวงจรเข้น้อย]] [[เขตลาดกระบัง]] [[กรุงเทพมหานคร]] เป็นบุตรของนายยอด และนางถนอม ช้างทอง สมรสกับนางสาวผิว ทองอยู่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ มีบุตร ธิดา ๒ คน คือ นางพเยาว์ พุกบุญมี และ นายยงยุทธ ช้างทอง
 
== ประวัติการศึกษาและด้านศิลปการแสดง ==
 
นายหยัด ช้างทอง เข้ารับการศึกษาที่[[โรงเรียนวัดรัชดาธิษฐาน]] จนจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ มีจิตใจชอบการแสดงโขนจึงไม่คิดที่จะศึกษาต่อทางด้านวิชาสามัญ นายหยัดจึงสมัครเข้าเป็นศิษย์นายพานัส โรหิตาจล ศิลปินโขนผู้มีชื่อเสียงและเป็นศิษย์เอกของพระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) นาฏศิลปินโขนยักษ์ ตัวเอกในรัชกาลที่ ๖ บุตรนายทองอยู่ พี่ชายต่างมารดา ของ พระยานัฏกานุรักษ์ ( ทองดี สุวรรณภารต ) อดีตเจ้ากรมโขนหลวง
 
นายหยัด ได้ฝึกหัดโขนเป็นตัวยักษ์อยู่กับนายพานัส โรหิตาจล จนมีความชำนาญในการแสดงโขน สามารถออกโรงแสดงได้ โดยเริ่มตั้งแต่ยักษ์ต่างเมือง เช่น สัทธาสูร มูลพลัม มังกรกัณฐ์ แสงอาทิตย์ จนกระทั่งแสดงเป็นยักษ์ใหญ่ คือเป็นทศกัณฐ์ได้เป็นอย่างดี เป็นที่พอใจของนายพานัส โรหิตาจล ผู้เป็นครูเป็นอย่างมาก
บรรทัด 32:
เมื่อคณะโขนของนายพานัส โรหิตาจล ไปแสดงที่ใดก็ตาม นายหยัด ช้างทอง ก็จะติดตามไปแสดงด้วยทุกครั้ง ถ้าไม่มีงานแสดงของตน นายพานัส ก็อนุญาตให้นายหยัด ช้างทอง ไปร่วมแสดงโขนกับคณะอื่นได้ การที่นายหยัดได้มีโอกาสไปแสดงกับโขนคณะอื่นนั้น ทำให้รู้จักมักคุ้นกับเพื่อนศิลปินมากขึ้น ประกอบกับนายหยัดเป็นคนเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน มีความสามารถในด้านการแสดงสูง จึงเป็นที่พอใจของครูมัลลี คงประภัศร์ หรือที่ศิลปินโขนละครรู้จักกันในนาม “ย่าหมัน” เจ้าของโขนคณะไทยศิริ จึงได้ชักชวนให้นายหยัด ช้างทอง ไปสมัครเข้ารับราชการในกรมศิลปากร
 
นายหยัดจึงนำเรื่องนี้ไปเรียนปรึกษากับนายพานัส โรหิตาจล ผู้เป็นครู นายพานัสก็เห็นดีและมีความชื่นชมที่ศิษย์จะได้เข้ารับราชการ มีความเจริญก้าวหน้า จึงสนับสนุนให้นายหยัด ช้างทอง ไปสมัครเข้ารับราชการใน[[กรมศิลปากร]]ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นายหยัด ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญอยู่ ๓ ปี จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งศิลปินจัตวา อัตราเงินเดือน ๒๔ บาท
 
หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ ๒]] นาฏศิลป์โขนเสื่อมลง เนื่องจากขาดผู้สนับสนุนและประชาชนก็หันไปสนใจการแสดงแบบตะวันตกมากขึ้น ผู้บังคับบัญชาในกรมศิลปากรขณะนั้น จึงให้ศิลปินโขนทั้งหมดแยกย้ายกันไปหัดดนตรีสากล เพื่อจะได้ออกแสดงในงานต่าง ๆ แทนการแสดงโขน นายหยัดต้องไปหัดเป่าบาสซูน (Bassoon) ซึ่งตนไม่ถนัดและไม่เคยสนใจมาก่อน จึงทำให้เป่าบาสซูนได้ไม่ดีเท่าที่ควร
 
ต่อมากรมศิลปากรได้ฟื้นฟูการแสดงโขน ละครขึ้นมาใหม่ แล้วนำออกแสดงให้ประชาชนชมทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ละ ๗ รอบ ที่โรงละครศิลปากร ซึ่งตั้งอยู่ข้างพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (โรงละครนี้ได้ถูกไฟไหม้ไปหมด เมื่อคืนวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๓) และยังได้ปรับปรุงการเรียนการสอนของโรงเรียนนาฏศิลป (ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป) โดยหาครูมาสอนและรับสมัครนักเรียนเพิ่มขึ้น ในระยะนี้นายหยัด ช้างทอง จึงกลับมาแสดงโขนตามเดิม และเป็นครูสอนวิชานาฏศิลป์โขนฝ่ายยักษ์ให้แก่นักเรียนนาฏศิลป์
บรรทัด 40:
เนื่องจากนายหยัด ช้างทอง เป็นผู้ที่สนใจใฝ่หาวิชาความรู้ทางด้านนาฏศิลป์อยู่เสมอ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงวิลาศวงงาม (หร่ำ อินทรนัฏ) ศิลปินอาวุโสซึ่งท่านเป็นผู้แสดงโขนในสมัยรัชกาลที่ ๖ และนอกจากหลวงวิลาศวงงามแล้ว นายอร่าม อินทรนัฏ บุตรชายของหลวงวิลาศวงงาม ทศกัณฐ์ผู้มีฝีมือเป็นเอกของกรมศิลปากรก็ได้แนะนำสั่งสอนวิชาการทางด้านนาฏศิลป์ให้แก่นายหยัดเพิ่มเติมอีกด้วย
 
เมื่อ[[ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี]] [http://art.culture.go.th/index.php?case=artistDetail&art_id=23&pic_id=&side=dnc_art_th] ได้เข้ามารับราชการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยของกรมศิลปากร นายหยัด ช้างทอง ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี และได้รับการถ่ายทอดวิชาการด้านนาฏศิลป์โขน ละคร และชุดเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จนนายหยัดสามารถแสดงละครเป็นตัวเอกได้หลายเรื่อง เช่น
แสดงเป็น ท้าวพันธุมสุริยวงศ์ ในละครเรื่องพระร่วง
แสดงเป็น ชาละวัน ตัวจรเข้ และท้าวรำไพ ในละครเรื่องไกรทอง