ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระเมรุ (จังหวัดนครปฐม)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 16:
ประการที่สาม คือ การขุดแต่งทางโบราณคดี ซึ่งถือว่าเป็นงานชิ้นสูงสุดทางโบราณคดี ที่ต้องอาศัยผู้ชำนาญเฉพาะทาง และที่สำคัญ ต้องใช้ทุนทรัพย์มากพอสมควรในกระบวนการขุดค้น<ref>ศิลปากร, กรม. เรื่องการขุดแต่งวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม. (พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2482) , หน้า</ref>
 
การขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดพระเมรุ ถือเป็นการขุดค้นที่มีการใช้งบประมาณที่มากพอสมควร ซึ่งช่วงเวลานั้นทางประเทศไทยยังไม่มีทุนทรัพย์ที่เพียงพอต่อการดำเนินการขุดค้น จึงได้ขอความช่วยเหลือไปยังสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ (I‘Ecole Française d’Extrême Crient, Hanui) โดยมีข้อตกลงกันคือ งบประมาณในการขุดค้นทั้งหมดจะเป็นของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ยกเว้นส่วนของค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ประเทศไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยทางประเทศไทยได้มอบหมายให้กองโบราณคดีของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์เป็นผู้ควบคุมการขุดค้น ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ คือ นายปิแอร์ ดูปองต์ (Pierre Dupont) อันมีการตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย คือ ศิลปวัตถุที่พบจะต้องแบ่งให้ทั้งสองฝ่าย โดยประเทศไทยมีสิทธ์เลือกศิลปวัตถุก่อน จากนั้นจึงเป็นโอกาสของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ การร่วมมือในการขุดค้นของทั้งสองฝ่าย ได้มีการลงนามกันได้อย่างเป็นทางการที่กรุงเทพฯ ระหว่างอธิการบดีกรมศิลปากรกับผู้ประศาสตร์การของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศไว้เมื่อ วันที่ 27 ธันวาคม 2480 โดยเริ่มการขุดค้นในวันที่ 24 มกราคม 2482 ถึง 24 พฤษภาคม 2482 รวมเวลาในการขุดค้นทั้งสิ้น 6 เดือนเต็ม[[ภาพ:http://photos4www.hi5.com/0059friend/133/015photos/ZSmnST133015-02displayMyPhoto.jpgdo?photoId=2658271709&albumId=247952230&ownerId=126012169]]
 
แต่เดิมวัดพระเมรุก่อนการขุดค้นมีรูปทรงสัณฐานเป็นมูลดินกลมสูง 10 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เมตร ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่และหญ้าอยู่โดยรอบ การลงมือขุดค้นในครั้งแรกเริ่มเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2528 โดยการถางต้นไม้เล็ก ๆ ออก และได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 29 มกราคม 2528 ทั้งนี้แรงงานที่ใช้ในการขุดค้นคือประชาชนจำนวน 50 คน ซึ่งได้ค่าแรงตอบแทนต่อคนวันละ 60 สตางค์ แต่ทำการขุดค้นได้ 2 วันก็เกิดปัญหาในการควบคุมการปฏิบัติงาน จึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้นักโทษเป็นแรงงาน 90 คน โดยจ่ายค่าแรงให้นักโทษ ต่อคนวันละ 60 สตางค์ ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการขุดค้นได้เป็นอย่างมาก และสามารถควบคุมการทำงานได้ง่ายขึ้นอีกด้วย