ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดกำแพงแลง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
U4803074 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 90:
'''พระโพธิสัตว์โลเกศวรเปล่งรัศมี'''
 
พบตรงบริเวณปราสาททิศตะวันตก ลักษณะประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์โลเกศวรเปล่งรัศมีที่พบ ทำจากวัสดุศิลาทรายขาว วรกายชำรุดหักพังในส่วนศีรษะ แขน และขา แต่ยังคงพบศีรษะในบริเวณใกล้เคียงอยู่ ลวดลายบริเวณพระวรกายท่อนบนตรงบริเวณพระอุระปรากฏพระพุทธรูปปางสมาธิองค์เล็กประดับเรียงเป็นแถว ถ้าสมบูรณ์ จะมี 8 พระกร มีพระพุทธรูปปางสมาธิประดับเหนือกระบังหน้า สวมพระธำมรงค์ที่มีหัวเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิที่นิ้วพระบาททั้งสิบ อันแสดงถึงภาวะเหนือพระพุทธเจ้าทั้งปวง[[http://photos4.hi5.com/0061/800/427/JO0JNH800427-02.jpg]][[http://photos1.hi5.com/0056/987/904/79vlMQ987904-02.jpg]]
'''พระโพธิสัตว์โลเกศวรสี่กร'''
 
พบในสภาพชำรุดเหลือเพียงส่วนพระวรกายและท่อนแขน 4 ท่อน ทรงภูษาสมพตในศิลปะเขมรแบบบายน ถ้าสมบูรณ์ จะมี 4 กร กรซ้ายหน้าถือดอกบัว กรขวาหน้าถือหม้อน้ำ กรซ้ายหลังถือประคำ กรขวาหลังถือคัมภีร์[[http://photos2.hi5.com/0063/374/865/xhmFdq374865-02.jpg]]
 
'''พระวัชรสัตว์นาคปรก'''
 
เป็นพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ลักษณะที่พบเหลือเพียงส่วนของพระพักตร์และพระอุระ ด้านหลังมีแผ่นหินสลักติดเป็นตัวนาคแผ่พังพาน ถ้าสมบูรณ์จะเป็นพระพุทธรูปนาคปรก บนฐานพญานาคขด ปางสมาธิ เป็นพระวัชรสัตว์ในลัทธิวัชรยานของกัมพูชา คำว่า วัชรสัตว์ เป็นพระนามที่เขมรใช้เรียกพระอาทิพุทธะหรือพระมหาไวโรจนะ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 6 ของพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน ซึ่งศิลปเขมรนิยมสร้างออกมาในรูปแบบพระพุทธรูปนาคปรก[[http://photos4.hi5.com/0057/802/251/xOV8xK802251-02.jpg]]
 
'''พระนางปรัชญาปารมิตา'''
บรรทัด 106:
'''หัวสะพานรูปครุฑยุดนาค'''
 
หัวสะพานนี้ไม่ได้พบภายในวัดกำแพงแลง แต่พบว่าได้จัดเก็บไว้ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี โดยลักษณะเป็นหัวบันไดครุฑยุดนาค แต่ที่พบนี้ ชำรุดไปมาก เหลือเพียงส่วนของขาครุฑ และหัวพญานาค 3 เศียรเท่านั้น ซึ่งลักษณะของหัวสะพานเช่นนี้ เป็นที่นิยมมาในศิลปะเขมรสมัยบายน ดังตัวอย่างจากหัวสะพานรูปครุฑยุคนาด ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร[[http://photos3.hi5.com/0059/023/690/SDxPJS023690-02.jpg]]
 
== ความหมายของประติมากรรมที่พบ ==