ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หยัด ช้างทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แจ้งต้องการเก็บกวาดด้วยสจห.
Malakoa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
 
== ประวัติ ==
[[ภาพ:Yadchangthong&wifeDSC.jpg|300200px|left]]
 
นายหยัด ช้างทอง เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๒ ที่บ้านริมคลองประปา แขวงจรเข้น้อย เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายยอด และนางถนอม ช้างทอง สมรสกับนางสาวผิว ทองอยู่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ มีบุตร ธิดา ๒ คน คือ นางพเยาว์ พุกบุญมี และ นายยงยุทธ ช้างทอง
 
== ประวัติการศึกษาและด้านศิลปการแสดง ==
 
นายหยัด ช้างทอง เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดรัชดาธิษฐาน จนจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ มีจิตใจชอบการแสดงโขนจึงไม่คิดที่จะศึกษาต่อทางด้านวิชาสามัญ นายหยัดจึงสมัครเข้าเป็นศิษย์นายพานัส โรหิตาจล ศิลปินโขนผู้มีชื่อเสียงและเป็นศิษย์เอกของพระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) นาฏศิลปินโขนยักษ์ ตัวเอกในรัชกาลที่ ๖ บุตรนายทองอยู่ พี่ชายต่างมารดา ของ พระยานัฏกานุรักษ์ ( ทองดี สุวรรณภารต ) อดีตเจ้ากรมโขนหลวง
 
นายหยัด ได้ฝึกหัดโขนเป็นตัวยักษ์อยู่กับนายพานัส โรหิตาจล จนมีความชำนาญในการแสดงโขน สามารถออกโรงแสดงได้ โดยเริ่มตั้งแต่ยักษ์ต่างเมือง เช่น สัทธาสูร มูลพลัม มังกรกัณฐ์ แสงอาทิตย์ จนกระทั่งแสดงเป็นยักษ์ใหญ่ คือเป็นทศกัณฐ์ได้เป็นอย่างดี เป็นที่พอใจของนายพานัส โรหิตาจล ผู้เป็นครูเป็นอย่างมาก
 
เมื่อคณะโขนของนายพานัส โรหิตาจล ไปแสดงที่ใดก็ตาม นายหยัด ช้างทอง ก็จะติดตามไปแสดงด้วยทุกครั้ง ถ้าไม่มีงานแสดงของตน นายพานัส ก็อนุญาตให้นายหยัด ช้างทอง ไปร่วมแสดงโขนกับคณะอื่นได้ การที่นายหยัดได้มีโอกาสไปแสดงกับโขนคณะอื่นนั้น ทำให้รู้จักมักคุ้นกับเพื่อนศิลปินมากขึ้น ประกอบกับนายหยัดเป็นคนเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน มีความสามารถในด้านการแสดงสูง จึงเป็นที่พอใจของครูมัลลี คงประภัศร์ หรือที่ศิลปินโขนละครรู้จักกันในนาม “ย่าหมัน” เจ้าของโขนคณะไทยศิริ จึงได้ชักชวนให้นายหยัด ช้างทอง ไปสมัครเข้ารับราชการในกรมศิลปากร
 
นายหยัดจึงนำเรื่องนี้ไปเรียนปรึกษากับนายพานัส โรหิตาจล ผู้เป็นครู นายพานัสก็เห็นดีและมีความชื่นชมที่ศิษย์จะได้เข้ารับราชการ มีความเจริญก้าวหน้า จึงสนับสนุนให้นายหยัด ช้างทอง ไปสมัครเข้ารับราชการในกรมศิลปากรในปี พ.ศ.๒๔๘๔ นายหยัด ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญอยู่ ๓ ปี จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๗ จึงได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งศิลปินจัตวา อัตราเงินเดือน ๒๔ บาท
 
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ นาฏศิลป์โขนเสื่อมลง เนื่องจากขาดผู้สนับสนุนและประชาชนก็หันไปสนใจการแสดงแบบตะวันตกมากขึ้น ผู้บังคับบัญชาในกรมศิลปากรขณะนั้น จึงให้ศิลปินโขนทั้งหมดแยกย้ายกันไปหัดดนตรีสากล เพื่อจะได้ออกแสดงในงานต่าง ๆ แทนการแสดงโขน นายหยัดต้องไปหัดเป่าบาสซูน (Bassoon) ซึ่งตนไม่ถนัดและไม่เคยสนใจมาก่อน จึงทำให้เป่าบาสซูนได้ไม่ดีเท่าที่ควร
 
ต่อมากรมศิลปากรได้ฟื้นฟูการแสดงโขน ละครขึ้นมาใหม่ แล้วนำออกแสดงให้ประชาชนชมทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ละ ๗ รอบ ที่โรงละครศิลปากร ซึ่งตั้งอยู่ข้างพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (โรงละครนี้ได้ถูกไฟไหม้ไปหมด เมื่อคืนวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๓) และยังได้ปรับปรุงการเรียนการสอนของโรงเรียนนาฏศิลป (ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป) โดยหาครูมาสอนและรับสมัครนักเรียนเพิ่มขึ้น ในระยะนี้นายหยัด ช้างทอง จึงกลับมาแสดงโขนตามเดิม และเป็นครูสอนวิชานาฏศิลป์โขนฝ่ายยักษ์ให้แก่นักเรียนนาฏศิลป์
 
เนื่องจากนายหยัด ช้างทอง เป็นผู้ที่สนใจใฝ่หาวิชาความรู้ทางด้านนาฏศิลป์อยู่เสมอ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงวิลาศวงงาม (หร่ำ อินทรนัฏ) ศิลปินอาวุโสซึ่งท่านเป็นผู้แสดงโขนในสมัยรัชกาลที่ ๖ และนอกจากหลวงวิลาศวงงามแล้ว นายอร่าม อินทรนัฏ บุตรชายของหลวงวิลาศวงงาม ทศกัณฐ์ผู้มีฝีมือเป็นเอกของกรมศิลปากรก็ได้แนะนำสั่งสอนวิชาการทางด้านนาฏศิลป์ให้แก่นายหยัดเพิ่มเติมอีกด้วย
 
เมื่อท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ได้เข้ามารับราชการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยของกรมศิลปากร นายหยัด ช้างทอง ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี และได้รับการถ่ายทอดวิชาการด้านนาฏศิลป์โขน ละคร และชุดเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จนนายหยัดสามารถแสดงละครเป็นตัวเอกได้หลายเรื่อง เช่น
แสดงเป็น ท้าวพันธุมสุริยวงศ์ ในละครเรื่องพระร่วง
แสดงเป็น ชาละวัน ตัวจรเข้ และท้าวรำไพ ในละครเรื่องไกรทอง
แสดงเป็น พระพันวษา และขุนแผน ในละครเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฯลฯ