ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยูคาลิปตัส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ลบส่วนละเมิดลิขสิทธิ์
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ลบส่วนละเมิดลิขสิทธิ์
บรรทัด 94:
 
ข้อกล่าวอ้างว่าไม้ยูคาลิปตัสเปรียบเสมือนต้นไม้สูบระบายน้ำ ที่ทำให้หนอง บึง และแผ่นดินแห้งแล้งนั้น มีหลักฐานทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่าระดับน้ำที่ลดลงเท่ากับการปลูกพืชอื่น และ ดีกว่าในที่โล่ง
 
 
== การวิจัยเชิงบูรณาการ ==
 
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ได้ให้การสนับสนุนทุนแก่คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกรมป่าไม้ เพื่อดำเนินงาน
โครงการ “การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบทโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้วยการปลูกไม้โตเร็ว” <ref>[http://www.rdi.ku.ac.th/kufair50/king/10_king/10_king.html หมู่บ้านไม้เศรษฐกิจ] </ref>
โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 3-4 ปี เริ่มตั้งแต่กรกฎาคม 2548 โดยมีพื้นที่ศึกษาในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานการเจริญเติบโตของไม้ยูคาลิปตัส
ที่ปลูกบนคันนา บริเวณรอบบ้าน และในไร่มันสำปะหลัง ได้ทราบเทคนิคการปลูกในฤดูแล้ง
 
รวมถึงแม่ไม้ ระยะปลูก และรอบตัดฟันที่เหมาะสม ข้อมูลผลกระทบของการปลูกไม้ยูคาลิปตัส ที่มีต่อดิน น้ำ และการเก็บกักคาร์บอน ได้ข้อมูลด้านต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกพืชเกษตรกับการปลูก ไม้ยูคาลิปตัสในระบบวนเกษตร
 
ผลงานวิจัยที่ได้คาดว่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกไม้ยูคาลิปตัส ในการคัดเลือกสายพันธุ์ และวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อระบบนิเวศและผลผลิตของพืชควบ ทำให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งในรูปของกระแสรายวันจากพืชเกษตรและเงินออมจากไม้ยืนต้น ผู้ประกอบการซึ่งใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบก็มีป้อนโรงงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดแคลน ก่อให้เกิดการสร้างงานและพัฒนาชุมชนชนบทอย่างยั่งยืน รวมทั้งช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยในการแก้ปัญหาโรคร้อน และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่แผ่นดิน
 
โดยมีโครงการย่อย 9 โครงการ และชื่อหัวหน้าโครงการ ดังนี้ <ref>บุญวงศ์ ไทยอุตส่าห์ และคณะ ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 0-2561-4761</ref>
 
1. โครงการวิจัยประยุกต์การปลูกไม้โตเร็วบนคันนา และตามแนวเขตแปลงเกษตร หัวหน้าโครงการ : ดร.เริงชัย เผ่าสัจจ
 
2. การปลูกไม้โตเร็วบนคันนาปรับแต่งในระหว่างฤดูแล้งอย่างประณีตด้วยระยะห่างต่างกัน หัวหน้าโครงการ : นายพิรัตน์ นาครินทร์
 
3. การประเมินการเก็บกักคาร์บอนของการปลูกไม้โตเร็วรูปแบบต่างๆ หัวหน้าโครงการ : ดร. สาพิศ ดิลกสัมพันธ์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
4. ผลกระทบของการปลูกไม้โตเร็วต่อคุณสมบัติของดิน การหมุนเวียนธาตุอาหารพืชและการกระจายของราก หัวหน้าโครงการ : ดร. รุ่งเรือง พูลศิริ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
5. การใช้น้ำและประสิทธิภาพการใช้น้ำของไม้โตเร็ว หัวหน้าโครงการ : ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
6. ศักยภาพทางเศรษฐกิจของการปลูกไม้โตเร็วในระบบวนเกษตร หัวหน้าโครงการ : นายณัฐวัฒน์ คลังทรัพย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
7. ความเป็นไปได้ของการปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา ด้วยระยะห่างระหว่างต้นต่าง ๆ กัน หัวหน้าโครงการ : นายบพิตร เกียรติวุฒินนท์ กรมป่าไม้
 
8. การปลูกเปรียบเทียบแม่ไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาทั่วไป หัวหน้าโครงการ : นายวิฑูรย์ เหลืองวิริยะแสง กรมป่าไม้
 
9. ความเป็นไปได้ของการปลูกไม้ยูคาลิปตัสแทรกเป็นแถบในแปลงปลูกมันสำปะหลัง หัวหน้าโครงการ : นายทศพร วัชรางกูร กรมป่าไม้
 
== อ้างอิง ==