ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพิชัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 37:
จนกระทั่งถึงสมัย[[กรุงรัตนโกสินทร์]] เมืองพิชัยได้เป็นเมืองสำคัญขึ้นในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] เพราะเมื่อ[[เจ้าอนุวงศ์]][[เวียงจันทน์]]เป็นขบถ กองทัพจากกรุงเทพฯ ยกขึ้นไปปราบปราม และโปรดให้เลิกอาณาเขตศรีสัตนาคนหุตไม่ให้มีดังแต่ก่อน เมืองพิชัยได้หัวเมืองขึ้นหลายเมือง ขยายเขตแดนออกไปถึง[[แม่น้ำโขง]] ต้องตรวจตรารักษาการทางเมือง[[แพร่]] เมือง[[น่าน]] ตลอดจนเมือง[[หลวงพระบาง]]
 
ต่อมาเมืองพิชัยเสื่อมลง เนื่องจากราษฎรอพยพไปอยู่[[ตำบลท่าอิฐ]] (ซึ่งเป็นที่ตั้งตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้) จนกระทั่งถึงสมัย[[รัชกาลที่ 5]] พระองค์ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตำบลท่าอิฐเป็นเมืองขึ้นเรียกว่า '''เมือง[[อุตรดิตถ์]]''' และโปรดให้เป็นเมืองขึ้นของอำเภอพิชัย ซึ่งในตอนนั้นเมืองพิชัยแบ่งการปกครองออกเป็น 5 เมือง คือ เมืองอุตรดิตถ์ เมือง[[ตรอน]] เมือง[[ลับแล]] เเละเมืองและเมือง[[น้ำปาด]]
 
ใน [[พ.ศ. 2442]] รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางเมืองพิชัยไปตั้งที่เมืองอุตรดิตถ์โดยยังไม่ได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อเมืองอุตรดิตถ์ แต่ใช้ชื่อ "เมืองพิชัย" อยู่ เพิ่งเปลี่ยนชื่อมาเป็น "เมืองอุตรดิตถ์" เมื่อปี [[พ.ศ. 2458]] ในสมัย[[รัชกาลที่ 6]] ส่วนพื้นที่อันเป็นที่ตั้งเมืองพิชัยเก่า โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า '''อำเภอพิชัย''' เรื่อยมาจนปัจจุบันนี้