ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านลอมกลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
== สภาพทางภูมิศาสตร์ ==
 
บ้านลอมกลาง หมู่ 3 ตำบล[[ยม]] อำเภอ[[ท่าวังผา]] จังหวัด[[น่าน]] รหัสไปรษณีย์ 55140 ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลยม เนื้อที่ของหมู่บ้านจำนวน 1500 ไร่ จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 97 ครัวเรือน ตั้งอยู่บน[[ทางหลวงแผ่นดิน]]หมายเลข 1180 หลัก[[กิโลเมตร]]ที่ 12 (ถนนท่าวังผา-ศิลาเพชร) สภาพเป็นเนินภูเขา อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่าง[[ลำน้ำบั่ว]]และ[[แม่น้ำย่าง]] ทางด้านทิศเหนือเป็น[[ภูเขา]]สูงโอบล้อมอยู่เป็นที่ตั้งของ[[ดอยม่อนหลวง]] และ[[ดอยม่อนหีโง]] จรดไปถึงลำน้ำหมู บ้านนานิคม และข้ามไปถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ จรดห้วยช้างสั่น บ้านป่ากลาง อ.[[ปัว]] และบ้านน้ำฮาว ทิศใต้เป็นเนินที่ราบเรียกว่า[[ทุ่งฆ้อง]] และ[[ที่ราบสูงบ้านเสี้ยว]]โดยมีแม่น้ำย่างกั้นระหว่างบ้านเสี้ยวกับบ้านลอมกลาง ทางทิศเหนือห่างจากหมู่บ้าน 2 กม.เป็น[[ดอยภูคา]] ทิศตะวันตกเป็นเนินลงลำน้ำบั่วกั้นระหว่าง[[บ้านสบบั่ว]]กับบ้านลอมกลาง
 
เส้น 21 ⟶ 22:
'''บ้านลอมกลาง''' หรือในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า '''บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย''' หรือ '''บ้านบั่วใต้''' หรือ'''บ้านน้ำบั่ว''' ซึ่งตั้งชื่อขึ้นตามสภาพของภูมิศาสตร์คือเป็นที่ราบลุ่มลำน้ำบั่ว ซึ่งกำเนิดมาจากยอดดอยภูคาประกอบกับในพื้นที่ราบลุ่มดังกล่าวเต็มไปด้วยต้นกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ก่อตั้งหมู่บ้านนั้นเกิดเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2345 ในครั้งนั้นเกิดวิกฤติ ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง หลังจากสงครามใน[[สิบสองปันนา]]สงบลง เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้โปรดให้ลูกหลานของพญา[[เชียงลาบ]] จำนวน 15 ครอบครัว ได้ตั้งบ้านเรือน บริเวณลุ่มลำน้ำบั่ว
 
ครั้นตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบล้วนแต่เป็นลูกหลานพญาเชียงลาบจึงได้อัญเชิญผีบรรพบุรุษ และผีเจ้าเมืองเชียงลาบ และผีนักรบต่าง ๆ ของเมือง[[เชียงลาบ]] ให้มาสถิตย์อยู่ที่ศาลประจำหมู่บ้านและมีพิธีบวงสรวงทุกเดือนสี่ และเดือนแปดตามปฏิทินไทลื้อ '''พิธีนี้ยังคงมีจนถึงปัจจุบัน'''
 
'''ลำดับเหตุการณ์สำคัญ'''
 
[[พ.ศ. 2330]] เกิดยุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" [[เจ้ากาวิละ]] เจ้าผู้ครอง[[นครเชียงใหม่]] และเจ้าผู้ครองนคร[[น่าน]] นคร[[แพร่]] นคร[[ลำปาง]] เจ้าเมือง[[หลวงพระบาง]] เจ้าจอมหง แห่ง[[เชียงตุง]] และกองทัพ[[สยาม]] ได้นำกำลังไพร่พลและอาวุธ เข้าตีหัวเมืองลื้อต่าง ๆ ใน[[สิบสองปันนา]] เพื่อขับไล่พม่าออกจาก[[ล้านนา]] และหัวเมืองสิบสองปันนา และในครั้งนั้นได้นำกำลังเข้าโจมตี[[เชียงแสน]] ซึ่งเป็น[[เมืองขึ้น]]ของพม่า ในขณะนั้นเมือง[[เชียงลาบ]]เป็นหัวเมืองหนึ่งของเชียงแสน และเป็นเมืองขึ้นของพม่า
 
ครั้นกองทัพของล้านนาเข้าโจมตีเชียงแสนทางพม่าได้สั่งให้หัวเมืองต่าง ๆ เช่น เชียงลาบ เชียงแขง เมืองเลน เมืองพยาก นำทัพเข้ามาสมทบกับทัพของเชียงแสน
 
เมื่อทัพของเจ้าเจ็ดตนแห่งล้านนาได้ขับไล่พม่าออกจากเมืองเมือง[[เชียงแสน]]เจ้ากาวิลละโปรดให้ให้รื้อกำแพงเมืองทั้งหมด ซึ่งในตอนนั้นถือว่าสิ้นสุดของเชียงแสน ส่วนเมืองเชียงลาบ ในขณะนั้นเป็นหัวเมืองสำคัญของเชียงแสน ก็ถือคราวแตก และเป็นอิสระแก่เชียงแสน เมื่อทัพเจ้าเจ็ดตนขยายการยึดครองเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนารวมถึงเชียงลาบ ด้วย ทางเชียงลาบ ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ติดริม[[แม่น้ำโขง]] เจ้าหลวง[[เชียงลาบ]]พิจารณาเห็นแล้วว่ากำลังของชาวเชียงลาบไม่สามารถที่จะต้านทานศึกสงครามในครั้งนี้ได้แน่จึงได้ขอเป็นขอบข้าขัณฑสีมาแต่ล้านนา
เส้น 79 ⟶ 82:
* '''ประเพณีปี๋ใหม่''' ตรงกับเดือนหกของชาวไทลื้อ คือวันสงกรานต์ของไทย พิธีที่ต่างกันจากชาวล้านนาทั่วไปคือ ชาวลื้อจะมีการฉลองโดยการทำพิธีบายสีสู่ขวัญคนเฒ่าคนแก่ทุกคน และจะต้องทำให้ครบทุกคนในหมู่บ้าน และทุกบ้านหากมีผู้สูงอายุต้องทำพิธี และต้องเชิญชาวบ้านมาร่วมงาน และจะมีการฆ่าไก่ เพื่อมาต้มสู่ขวัญและ นำมาเลี้ยงแขกทุกคนในบ้าน และต้องเลี้ยงจนแขกคนสุดท้ายกลับ
 
== อาชีพ==
 
1. ทำนา-ทำไร่
2. สวนพริก
3. การผลิตกระดาษสา และผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา