ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชียงลาบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 8:
 
== ประวัติ ==
เหตุของการตั้งเมืองนั้น [[สมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3]] (ท้าวอ้ายปุง) ได้เห็นถึงความสำคัญของการค้าขาย และประกอบกับชัยภูมิที่เหมาะสม อีกทั้งเป็นประตูสู่เชียงแสน ซึ่งหากเกิดข้าศึกรุกรานเชียงรุ่ง ตรงจุดนี้ซึ่งเป็นจุดโขงโค้ง แม่น้ำโขงไหลเชี่ยวที่สุด ประกอบกับและเป็นจุดที่ยากลำบากที่สุดในการคมนาคม หากมีข้าศึกรุกรานจะทำให้ข้าศึกเหนื่อยล้า และสามารถสะกัดกั้นไม่ให้ข้าศึกไปตีเมืองหลวงเชียงรุ่งได้ ดังนั้นจึงได้โปรดให้เจ้าราชบุตร และบริวาร เสนาอามาตย์ สมณะ ครูบาสังฆเจ้า ไพร่พล เดินทางลงเรือ ตามลำน้ำโขงของ เรียกกันว่า "[[ล่องของ]]" มาขึ้นฝั่งตรงสบลาบ และเมื่อเจ้าราชบุตร และสมณะ ครูบาสังฆเจ้า พิจารณาเห็นชัยภูมิที่เหมาะสมแล้ว จึงได้ให้พราหมณ์ หรือ เข้าจ้ำ กระทำพิธีบวงสรวงลงผูกอาถรรพ์ฝังหลักใจ๋เมือง และใจ๋บ้าน แล้วอัญเชิญดวงวิญญาณของพระนางคำแดง อันเป็นผีบรรพบรุษตามตำนานไทลื้อ เรื่องพระนางคำแดงอพยพมาลูกหลานชาวลื้อจากเมืองลื้อหลวง ที่ เทือกเขาอัลไต มาประจำที่หอผีหลวง เพื่อปกปักรักษาเมือง แล้วจึงตั้งชื่อเมืองตามลำน้ำลาบ ว่า'''เมืองเชียงลาบ'''
 
'''เมืองเชียงลาบ'''เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ที่ลาดเชิงเขา ตัวเมือง ติดแม่น้ำโขง และเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญ ฉะนั้นรายได้หลักของเมืองคือ การเก็บภาษี อากร ส่วย ข่อน ที่เกิดจากพ่อค้าที่เดินทางไปค้าขายระหว่างเชียงแสน และเชียงรุ่ง อีกทั้งด้านทิศตะวันตกของเมืองเป็นภูเขาสูงซึ่งอุดมไปด้วยป่าไม้สัก และ น้ำผึ้ง และของป่าอื่น ๆ อีกทั้งด้านทิศเหนือซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองลวงซึ่งเป็นแหล่งผลิตเกลือสินเธาร์ ซึ่งถือว่าเป็นสินค้าสำคัญที่พวกพ่อค้าชาวจีนฮ่อ และไทใหญ่ นำลงมาขายให้กับเชียงแสน ปัจจุบันเมืองเชียงลาบก็ยังเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ซึ่งตรงข้ามกับท่าเชียงกกของลาว ในการเดินทางไปติดต่อค้าขายในสิบสองปันนา
 
เมื่อตั้งเมืองมาได้ไม่นาน พญายอง เจ้าเมืองยอง ได้ยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงลาบ และสามารถยึดเมืองได้ ดังนั้นเชียงลาบจึงเป็นเมืองขึ้นของเมืองยองมาตั้งแต่ต้น ภายหลังเมืองยองขาดเจ้าเมืองปกครอง และถูกเจ้าเมืองเชียงรุ่งยกทัพมาตีได้ เมืองยองจึงขึ้นกับเมืองเชียงรุ่ง เมืองเชียงลาบจึงได้กลับเข้าสู่การปกครองของเมืองแม่ตามเดิม