ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัฏจักรไนโตรเจน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: et:Lämmastikuringe
PAHs (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 13:
* จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนได้อย่างเป็นอิสระ ในดินจะเป็นกิจกรรมของจุลินทรีย์ เช่น ''Azotobactor'', ''Beijerinckia'', ''Pseudomonas'', ''Rlebsiella'' และ[[แอกติโนมัยสีต]]บางตัว โดยทั่วไปอัตราการตรึงไนโตรเจนจะต่ำ เว้นแต่เมื่อเข้าไปอยู่ใน[[ไรโซสเฟียร์]]และได้รับสารอินทรีย์จาก[[รากพืช]] อัตราการตรึงไนโตรเจนจะสูงขึ้น ในน้ำจะเป็นกิจกรรมของ[[สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน]] เช่น ''Anabeana'', ''Nostoc'', ''Aphanizomehon'',''Gloeotrichia'', ''Calothrix'' <ref>Atlas,R.M. and R. Bartha. 1998. Microbial Ecology: Fundamental and Aplication 4 edition. Menlo Park. Benjamin/Cummings. Science Plubishing. </ref>
* จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนเมื่ออยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น มีหลายกลุ่มได้แก่ <ref>Elken, G.H. 1992. Biological nitrogen fixation system in tropical ecosystem: an overview. ''In'' Biological Nitrogen Fixation and Sustainability of Tropical Agriculture. K. Mulongoy, M. Gueye and D.S.C. Spancer, eds. John Wieley and Sons. </ref>
** [[แบคทีเรีย]] ''Frankia''เป็นการเกิดปมระหว่าง Actinorhizea (''Frankia'')กับ[[พืชใบเลี้ยงคู่]]ที่ไม่ใช่[[พืชตระกูลถั่ว]] ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น พบในเขตอบอุ่น แต่ก็มีหลายชนิดพบในเขตร้อนด้วย เช่น ''Purshia tridenta'' ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจในแอฟริกา หรือ[[สนประดิพัทธิ์]]และ[[สนทะเล]] (Casuarina)ที่ปลูกได้ในประเทศไทย ''Frankia'' เป็นแบคทีเรียที่พบในปมของพืชที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว เป็นสกุลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ[[แอกติโนมัยสีท]] แบ่งได้เป็นกลุ่มที่สร้างสปอแรงเจียภายในปม ซึ่งเจริญได้ช้า ตรึงไนโตรเจนได้น้อย คัดแยกให้บริสุทธิ์ได้ยาก กับกลุ่มที่ไม่สร้างสปอแรงเจีย ที่เจริญได้เร็วกว่า
** สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อยู่ร่วมกับพืช ที่สำคัญคือ ''Anabeana'' ที่อยู่ร่วมกับ[[แหนแดง]] และ ''Nostoc'' ซึ่งอยู่ร่วมกับ[[ปรง]] และ[[ไลเคน]] อย่างไรก็ตาม สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมีแหล่งอาศัยที่หลากหลายกว่าระบบการตรึงไนโตรเจนอื่นๆ และที่น่าสังเกตคือในขณะที่ไรโซเบียมและ ''Frankia'' อยู่ร่วมกับพืชชั้นสูง แต่สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจะอยู่ร่วมกับพืชที่มีวิวัฒนาการต่ำกว่า เช่น ไลเคน [[ลิเวอร์เวิร์ต]] [[เฟิน]] [[จิมโนเสปิร์ม]] เป็นต้น
** [[ไรโซเบียม]]ที่อยู่ในปมของพืชตระกูลถั่ว เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ
 
===การเปลี่ยนรูปของไนโตรเจนหลังการตรึง===
เมื่อก๊าซไนโตรเจนถูกตรึงโดยสิ่งมีชีวิต จะอยู่ในรูป[[แอมโมเนียมอิออน]] ส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในกระบวนการสร้างสารอินทรีย์ ส่วนหนึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไนไตรล์ และ[[ไนเตรตอิออน]] โดยแบคทีเรีย ''Nitrosomonas'' และ N''itrobactor'' ตามลำดับ กระบวนการนี้เรียกว่าไนตริฟิเคชัน ในขณะที่ไนโตรเจที่อยู่ในสารอินทรีย์เมื่อถูกย่อยสลายจะได้แอมโมเนียมอิออนเช่นเดียวกัน