ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อียิปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
 
{{ช่วยดูหน่อย}}
''สำหรับอียิปต์โบราณยุคราชวงศ์ สามารถดูได้ที่ [[อียิปต์โบราณยุคราชวงศ์]]''
 
'''สมัยอียิปต์โบราณ''' คือประวัติศาสตร์ของ[[ประเทศอียิปต์]] ตั้งแต่เริ่มมีอารยธรรม จนถึงปี 525 ปีก่อนคริสตกาล
 
การแบ่งประวัติศาสตร์อียิปต์ออกเป็นราชวงศ์นั้น นักบวชนามว่า'''มาเนโธ'''(Manetho) เป็นผู้ทำขึ้นคนแรก โดยบัญชาของ[[ฟาโรห์]]ทอเลมีฟิลาเดลฟุส(Ptolemy Philadelphus) เมื่อ 20 ปีก่อนคริสตกาล ยังมีบันทึกประวัติศาสตร์อีกหลายครั้ง หลักฐานที่สำคัญของประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณเพิ่งมาปรากฏเมื่อตอนปลายคริสต์ศวรรษที่ 18 โดยที่บูชาด์(Bouchard) นายทหาร[[ฝรั่งเศส]]ขุดพบ[[ศิลาจารึก]]ที่บริเวณปาก[[แม่น้ำไนล์]] ภายหลังเรียกว่า'''[[จารึกโรเซตตา]]''' (Rosetta Stone) ตามชื่อของตำบลที่ขุดพบ ต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ ชองโปลิยอง(Champollion) ได้ตีความอักษรบนจารึกทำให้ประวัติศาสตร์[[อียิปต์โบราณ]]ชัดเจนขึ้น
 
อียิปต์ ตามความหมายที่เฮโรดอท นักเดินทางชาวกรีกให้ไว้ หมายถึง ของขวัญจากแม่น้ำไนล์ อียิปต์ ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ (เรียกว่าดินดำ) อยู่ระหว่างที่ราบสูงที่เป็น[[ทะเลทราย]] ทางเหนือของ[[ทวีปอัฟริกา]] แม่น้ำไนล์ยาวประมาณ1,000 กม. ต้นแม่น้ำมาจากทะเลสาบใน[[ประเทศเอธิโอเปีย]]ทางตะวันออก และทางตะวันตกของแม่น้ำไนล์เป็นทะเลทราย (เรียกกันว่าดินแดง) ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินมาจากแม่น้ำไนล์ไหลผ่านภูเขาที่เต็ม ไปด้วยแร่ธาตุจากเอธิโอเปียจนถึงอียิปต์และมาท่วมล้นฝั่ง ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม น้ำนำโคลนตมที่อุดมสมบูรณ์มาให้
 
== เริ่มอารยธรรม ==
 
อียิปต์เป็นประเทศที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในช่วงฤดูหนาวและตกเฉพาะบริเวณเดลต้า (ดินแดนสันดอนบริเวณปากแม่น้ำไนล์) อียิปต์ได้อาศัยความชุ่มชื้นของแม่น้ำไนล์เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต ถ้าขาดแม่น้ำไนล์อียิปต์ก็ไม่ต่างอะไรกับทะเลทรายที่ร้อนระอุ นักประวัติศาสตร์[[กรีกโบราณ]]ผู้หนึ่งได้เคยกล่าวไว้ว่า '''Egypt is the gift of the Nile” Nile'''(อียิปต์เป็นของขวัญของแม่น้ำไนล์) คำกล่าวนี้จึงเป็นความจริงอย่างยิ่ง กล่าวคือในราวเดือนกรกฎาคมของทุกๆปี น้ำในแม่น้ำไนล์จะไหลท่วมท้นฝั่งทั้งสองและจะเริ่มลดลงในเดือนตุลาคม เมื่อน้ำลดจะทิ้งโคลนตมไว้ตามบริเวณสองฝั่งลำน้ำ โคลนตมเหล่านี้เป็นปุ๋ยซึ่งเมื่อเพาะปลูกแล้วจะให้ผลดีอย่างมาก ชาวอียิปต์โบราณยังรู้จักวิธีทำนา ทำนบกั้นน้ำ ขุดคูส่งน้ำลำเลียงเข้าไปในดินแดนซึ่งอยู่ลึกเข้าไปจากฝั่ง เป็นการขยายพื้นที่ประกอบการกสิกรรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ประเทศอียิปต์ในสมัยโบราณประกอบไปด้วยบริเวณที่สำคัญ 2 บริเวณ คือ
1. '''อียิปต์บน'''(Upper Egypt) ได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา มีความยาวประมาณ 500 ไมล์ ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำตอนนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างไปจนสุดสายตาเต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้ง
 
2. '''อียิปต์ล่างหรืออียิปต์ต่ำ'''(Lower Egypt) ได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัด ไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณนี้ชาวกรีกเรียกว่า เดลต้า (Delta) เป็นบริเวณปลายสุดของลำน้ำ มีความยาวประมาณ 100 ไมล์ อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขึ้นในแถบเดลต้านี้
 
 
บรรทัด 20:
 
 
อียิปต์ได้เปรียบประเทศอื่นในแถบตะวันออกใกล้ในเรื่องกำแพงธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่นได้มาก ทางใต้ของแม่น้ำไนล์ที่อยู่ใต้เขตแดนอียิปต์ลงไปอยู่บนที่สูงมีแนวน้ำตกมาก ทำให้การรุกทางเรือยาก ทางตะวันออกและตะวันตกของอียิปต์ทางแถบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์เท่านั้น ที่ไม่มีพรมแดนป้องกันการโจมตีทางเรือและทางบกจากชนเผ่าเซมิติค ที่เป็นพวกเร่ร่อนอยู่ทางทะเลทรายอาราเบียและทางปาเลสไตน์ เพราะทางเหนือของอียิปต์ติดต่อกับคอคอดซึ่งเชื่อมอียิปต์กับ[[เอเชีย]]และ[[คาบสมุทรอาระเบีย]]
 
 
บรรทัด 26:
 
==สมัยก่อนราชวงศ์==
'''สมัยก่อนราชวงศ์'''(Pre-Dynastic Period) คือเรื่องราวของอียิปต์ในสมัยที่ยังอยู่แยกเป็นนครอิสระ หรือจังหวัดเล็กๆ เรียกว่า'''โนมิส''' (Nomes) แต่ละโนมิสมีสัญลักษณ์ประจำตัว เช่น [[สุนัข]] [[เหยี่ยว]] [[แมลงป่อง]] เป็นต้น มีโนมิสทั้งหมดรวมกันประมาณ 40 แห่ง
 
[[category:อียิปต์โบราณ]]