ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดของประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''[[จังหวัด]]''' เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของ[[ประเทศไทย]] มีทั้งสิ้น 75 จังหวัด (ไม่รวม[[กรุงเทพมหานคร]] เพราะเป็นองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ไม่นับเป็นจังหวัด) มีการจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่างๆ โดยใช้เกณฑ์แตกต่างกันมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดย[[ราชบัณฑิตยสถาน]]สำหรับใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่างๆตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางจังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของ[[จังหวัดอำนาจเจริญ]]อยู่ที่[[อำเภอเมืองอำนาจเจริญ]] เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "[[อำเภอเมือง]]" ยกเว้น[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง ([[อำเภอพระนครศรีอยุธยา]]) โดยมากเมืองแบบนี้จะเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด ยกเว้นเพียง 4 จังหวัด คือ [[จังหวัดสงขลา]] ([[อำเภอหาดใหญ่]]) [[จังหวัดนราธิวาส]] ([[ อำเภอสุไหงโก-ลก]]) [[จังหวัดชลบุรี]] ([[เมืองพัทยา]] ในพื้นที่[[อำเภอบางละมุง]]) และ[[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] ([[อำเภอหัวหิน]])
 
แต่ละจังหวัดจะมี[[ผู้ว่าราชการจังหวัด]]เป็นผู้ปกครอง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งมาจาก[[กระทรวงมหาดไทย]] ยกเว้นแต่[[กรุงเทพมหานคร]]เท่านั้น ที่มีที่มาของผู้ว่าราชการมาจาก[[การเลือกตั้ง]]
 
หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "[[อำเภอ]]" ซึ่งมีทั้งสิ้น 877 อำเภอ ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต แต่มักมีการเรียกเขตเหล่านี้ด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นอำเภออยู่เสมอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด
 
== ประวัติ ==
=== สมัยก่อนการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ===
{{โครงส่วน}}
 
=== การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2435 ===
[[ภาพ:Thailand monthon 1915.png|thumb|300px|แผนที่มณฑลเทศาภิบาล [[พ.ศ. 2458]]]]
[[พ.ศ. 2435]] [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ ให้เป็นไปตามอย่างอารยะประเทศในโลกตะวันตก โดยทรงตั้ง[[กระทรวง]]ขึ้นใหม่ 12 กระทรวง และโอนการปกครองหัวเมืองทั้งหมดให้มาขึ้นกับ[[กระทรวงมหาดไทย]] โดยมี[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] (ขณะนั้นดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ) เป็นองค์ปฐมเสนาบดี
บรรทัด 23:
เดือน[[ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2458]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยการปกครองระดับ "ภาค" ขึ้นเพื่อกำกับมณฑล โดยมีผู้ปกครองภาคเรียกว่า "อุปราช" ในระยะนี้ได้มีการตั้งมณฑลต่างๆ เพิ่มขึ้นจนถึงปี [[พ.ศ. 2465]] อีก 4 มณฑล แต่มณฑลดังกล่าวก็ถูกยุบลงในปี [[พ.ศ. 2468]] และมีอีกหลายมณฑลที่ถูกยุบรวมในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาล อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]]
 
=== สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ===
 
หลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศสยามใน พ.ศ. 2475]] ระบบ[[มณฑลเทศาภิบาล]]ได้ถูกยกเลิกในปี [[พ.ศ. 2476]] ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด และตั้งแต่หลัง [[พ.ศ. 2500]] เป็นต้นมา ก็ได้มีการจัดตั้งจังหวัดเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง โดยการตัดแบ่งอาณาเขตบางส่วนจากจังหวัดที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ในปี [[พ.ศ. 2515]] ได้มีการโดยแบ่งพื้นที่บางส่วนของ[[จังหวัดอุบลราชธานี]]มาจัดตั้งเป็น[[จังหวัดยโสธร]] เป็นต้น จังหวัดของไทยที่จัดตั้งขึ้นล่าสุดคือ[[จังหวัดหนองบัวลำภู]] (แยกจาก[[จังหวัดอุดรธานี]]) [[จังหวัดสระแก้ว]] (แยกจาก[[จังหวัดปราจีนบุรี]]) และ[[จังหวัดอำนาจเจริญ]] (แยกจาก[[จังหวัดอุบลราชธานี]]) ทั้งสามจังหวัดนี้จัดตั้งขึ้นพร้อมกันเมื่อปี [[พ.ศ. 2536]]
บรรทัด 138:
{{col-end}}
 
== การแบ่งแบบอื่นๆอื่น ==
=== สภาพัฒน์ฯ ===
{|
|valign="top"|[[ภาพ:Map_TH_provinces_by_sapapat.png|150px|left]]
|[[คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ]] แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค มีขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เหมือนกับภูมิภาคทาง ภูมิศาสตร์ แต่ขอบเขตของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกแตกต่างไปจากภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ดังนี้<ref name="royin" />
:{{แถบสีสองกล่อง|#FF99FF}} '''[[ภาคเหนือ]]'''
::มี 17 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุทัยธานี
บรรทัด 177:
|}
 
=== กรมทางหลวง ===
{|
|valign="top"|[[ภาพ:Map_TH_provinces_by_highway.png|150px|left]]
บรรทัด 191:
|}
 
=== รหัสโทรศัพท์พื้นฐาน ===
{|
|valign="top"|[[ภาพ:Map_TH_provinces_by_areacode.png|150px|left]]
บรรทัด 207:
|}
 
===[[ รหัสไปรษณีย์]] ===
[[กรมไปรษณีย์โทรเลข]] ได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 9 ภาค ตามระบบ[[รหัสไปรษณีย์]]
{|
| valign="top"|[[ภาพ:Map_TH_provinces_by_postalcode.png|150px|left]]
บรรทัด 236:
|}
 
=== วัฒนธรรม ===
[[ภาพ:Map_TH_provinces_by_culture.gif|100px|thumb|]]
# '''เขตวัฒนธรรมล้านนา'''
บรรทัด 247:
# '''เขตวัฒนธรรมปัตตานี'''
 
=== การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ===
{|
| valign="top"|[[ภาพ:Map_TH_provinces_by_electoral2007.png|150px|left]]
บรรทัด 273:
|}
 
=== กิจการลูกเสือ ===
{|
|valign="top"|[[ภาพ:Map_TH_provinces_by_scoutscarf.png|150px|left]]
บรรทัด 308:
 
== อ้างอิง ==
{{reflist}}
<references />
*Tej Bunnag ([[เตช บุนนาค]]), ''The Provincial Administration of Siam 1892-1915'', ISBN 0-19-580343-4
 
บรรทัด 319:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.baanjomyut.com/76province/tesapiban.html การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล - เว็บไซต์บ้านจอมยุทธ์ดอตคอม]
* [http://www.dopa.go.th/ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย]
 
{{จังหวัด}}
 
[[หมวดหมู่:จังหวัดในประเทศไทย| ]]
[[หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ไทย]]