ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การดื้อแพ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ใช้ "ดื้อแพ่ง" และ "อารยะขัดขืน" ตามที่แต่ละคนใช้ เนื่องจากมีการเปรียบเทียบคำสองคำ
บรรทัด 27:
 
== ดื้อแพ่งในสังคมไทย ==
แนวคิดดื้อแพ่งในทางการเมือง หรือที่นิยมใช้คำว่า "อารยะขัดขืน" นั้น เริ่มแพร่หลายใน[[ภาษาไทย]] ในบริบทของ[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|การประท้วงขับไล่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร]] ในปี [[พ.ศ. 2549]] อย่างไรก็ตาม คำว่า "อารยะขัดขืน" นั้นถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดย[[ชัยวัฒน์ สถาอานันท์]] <ref name="nationsud">ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. [http://www.nationweekend.com/2006/03/03/NW14_441.php คอลัมน์หมายเหตุการณ์.] เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 718 วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549.</ref> เมื่อกล่าวถึงสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยชัยวัฒน์อธิบายว่า
 
:''อารยะขัดขืนเป็นเรื่องของการขัดขืนอำนาจรัฐ ที่ทั้งเป้าหมายและตัววิธีการอันเป็นหัวใจของ Civil Disobedience ส่งผลในการทำให้สังคมการเมืองโดยรวมมี 'อารยะ' มากขึ้น... การจำกัดอำนาจรัฐนั้นเอง เป็นหนทาง 'อารยะ' ยิ่งการจำกัดอำนาจรัฐโดยพลเมืองด้วยวิธีการอย่างอารยะคือ เป็นไปโดยเปิดเผย ไม่ใช้ความรุนแรง และยอมรับผลตามกฎหมายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้ใช้สันติวิธีแนวนี้ เพื่อให้สังคมการเมือง 'เป็นธรรม' ขึ้น เคารพสิทธิเสรีภาพของคนมากขึ้น และเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น''<ref>จากบทความใน ''รัฐศาสตร์สาร'' ปีที่ 24 ฉบับที่ 3, 2546, อ้างตาม<ref name="nationsud"/></ref>
บรรทัด 51:
อย่างไรก็ตาม [[แก้วสรร อติโพธิ]] ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้คำว่า ''อารยะ'' ว่าแท้จริงแล้วคำว่า ''civil'' น่าจะหมายถึงคำว่าพลเมือง และเสนอว่าน่าจะแปลเป็นไทยว่า '''การแข็งข้อไม่ยอมเป็นพลเมือง'''<ref>[http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra09230349 คอลัมน์สยามภาษา] หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2549.</ref>
 
ในวันที่ [[2 เม.ย.]] [[พ.ศ. 2549]] [[ไชยันต์ ไชยพร|รศ. ดร. ไชยันต์ ไชยพร]] อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉีกบัตรเลือกตั้งของตนทิ้งให้สื่อมวลชนดูหลังจากที่ใช้สิทธิลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดแล้ว โดยเขายอมรับว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งและพร้อมสู้คดีในทางกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตามไชยันต์ยืนยันสิทธิของตนตามมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญว่าบุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัวไปสอบสวน (อ้าง [http://www.bangkokbiznews.com/specialreport/2Apr/x001_91918.php?news_id=91918] และ [http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=3273&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai]) หลังจากนั้นนาย[[รัฐเอกราช ราษฎร์ภักดีรัช]] ได้ร่วมฉีกบัตรเลือกตั้งเช่นเดียวกัน โดยรัฐเอกราชได้กล่าวว่าตนเห็นว่าการวางตำแหน่งของคูหาเลือกตั้งนั้นไม่ถูกต้อง จึงได้แต่งชุดดำประท้วงและฉีกบัตรเลือกตั้ง รัฐเอกราชกล่าวว่าตนมีอุดมการณ์เดียวกับไชยันต์ด้วย (อ้าง [http://www.bangkokbiznews.com/2006/04/02/w001_91998.php?news_id=91998]) ล่าสุด[[ศูนย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ได้ยืนยันว่าจะช่วยเหลือไชยันต์ในทางกฎหมายแล้ว (อ้าง [http://www.bangkokbiznews.com/specialreport/2Apr/x001_92003.php?news_id=92003]) นอกจากในวันเดียวกันนาย[[ยศศักดิ์ โกศยากานนท์]] อาจารย์คณะ[[นิติศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต]] ยังได้ใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มนิ้วชี้ตนเองและใช้เลือดในการกากบาทในช่องลงคะแนนของบัตรเลือกตั้ง โดยเขายืนยันว่าได้ศึกษาข้อกฎหมายแล้วไม่ได้เป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายแต่อย่างใด แม้ว่ายศศักดิ์จะกล่าวว่าเขาประท้วงตามแนวทางอารยะขัดขืน ถ้าพิจารณาในแง่ที่ว่าการกระทำดังกล่าวไม่ผิดกฎหมายของยศศักดิ์จึงไม่น่าจัดว่าเป็นอารยะขัดขืนหรือดื้อแพ่ง แต่เป็นการประท้วงแบบสันติวิธี
 
== อ้างอิง ==