ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การดื้อแพ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 18:
== ดื้อแพ่งในสหรัฐอเมริกา ==
 
ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1955-1968 ใน[[สหรัฐอเมริกา]]มีการต่อสู้เพื่อสิทธิความเท่าเทียมกันของคนผิวดำ ที่เรียกว่า ขบวนการสิทธิพลเมือง (Civil Rights Movement) ซึ่งก่อนหน้านี้คนผิวดำและผิวขาวต้องแยกใช้ห้องน้ำ ร้านอาหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ย่านที่อยู่อาศัย รถประจำทาง โดยเฉพาะในรัฐทางใต้จะใช้งานร่วมกันไม่ได้
 
ในปี ค.ศ. 1955 หญิงผิวดำ[[โรซา ชื่อพาร์กส์]] (Rosa Parks) ปฏิเสธที่จะลุกให้ที่นั่งแก่คนผิวขาวบนรถประจำทางตามที่คนขับรถสั่ง ทั้งที่กฎหมายท้องถิ่นระบุว่าเมื่อโดยสารรถร่วมกัน เธอจะต้องสละที่ให้คนผิวขาวนั่ง เธอถูกจับขึ้นศาลและถูกตัดสินจำคุก จากนั้นกลุ่มคนผิวดำจึงพากันประท้วง จนกระทั่งรัฐบาลท้องถิ่นต้องยกเลิกกฎหมายนี้ กรณีประท้วงนี้มีชื่อเรียกว่า การคว่ำบาตรรถประจำทางมอนต์โกเมอรี (Montgomery Bus Boycott)<ref>พัฒนายุ ทารส, [http://www.nationweekend.com/2005/10/28/NW15_552.php แด่ 'โรซา ปาร์คส์' นักสู้เพื่อสิทธิคนผิวสี], เนชั่น สุดสัปดาห์, 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548</ref>
 
มีร้านอาหารหลายๆหลาย ๆ แห่งในรัฐทางใต้ ปฏิเสธที่จะให้บริการแก่คนผิวดำ จึงมีการดื้อแพ่งโดยใช้วิธี "ซิทอิน" (sit in) คือเข้าไปนั่งเฉย ๆ โดยนักศึกษาผิวดำพากันแต่งตัวเรียบร้อย ใส่สูทผูกไทเข้าไปนั่งในร้านอาหารที่ปฏิเสธคนผิวดำ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าไปนั่งในทุกที่นั่ง จนไม่มีที่ว่างเหลือ จนกระทั่งร้านนั้นไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ มีการกระทำเลียนแบบไปทั่วทุกรัฐทางใต้ โดยมีคนผิวขาวส่วนหนึ่งที่เห็นใจคนผิวดำร่วมขบวนการด้วย มีการใช้วิธี sit in ซิทอินกับสถานที่สาธารณะต่างๆต่าง ๆ ทั้งสวนสาธารณะ ห้องสมุด โรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ เมื่อถูกเจ้าหน้าที่จับนักศึกษาเหล่านี้ก็ไม่ยอมประกันตัว ต้องการติดคุกเพื่อให้เป็นข่าว และให้เป็นภาระกับเจ้าหน้าที่
 
การต่อสู้เหล่านี้เพื่อกดดันรัฐบาลกลาง จนนำมาสู่การออกกฎหมายสิทธิเลือกตั้ง (Voting Rights Act ใน) ค.ศ. 1965 และกฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act ปี) ค.ศ. 1968 ที่ให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำ
 
== ดื้อแพ่งในสังคมไทย ==