ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลังข้อมูล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สังข์เมือง (คุย | ส่วนร่วม)
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ สังข์เมือง (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโ�
บรรทัด 49:
=== การทำเหมืองข้อมูล ===
[[การทำเหมืองข้อมูล]] (Data Mining) คือ การหารูปแบบ (pattern) อะไรบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล ที่มองผิวเผินแล้วไม่อาจสังเกตเห็นได้ เนื่องจากข้อมูลมีปริมาณมาก เช่น การค้นหา[[กฎความสัมพันธ์]] ([[:en:association rules|association rules]]) ของสินค้าใน[[ห้างสรรพสินค้า]] เราอาจพบว่าลูกค้าร้อยละ 90 ที่ซื้อเบียร์ จะซื้อผ้าอ้อมเด็กด้วย, ซึ่งเป็นข้อมูลให้ทางห้างคิด[[รายการส่งเสริมการขาย]]ใหม่ๆ ได้; หรือ ธนาคารอาจพบว่า คนทั่วไปที่มีอายุ 20-29 ปี และมีรายได้ในช่วง 20,000-30,000 บาท มักซื้อเครื่องเล่น[[เอ็มพีสาม]], ธนาคารอาจเสนอให้คนกลุ่มนี้ทำ[[บัตรเครดิต]] โดยแถมเครื่องเล่นดังกล่าว เป็นต้น
 
=='''ประโยชน์ของระบบคลังข้อมูล'''==
 
โดยทั่วไปแล้วข้อมูล Operational Database จะเก็บข้อมูลในรูปแบบ Transaction Systems เมื่อมีความต้องการข้อมูลในอันที่จะนำมาใช้ช่วยในการตัดสินใจก็จะประสบปัญหาต่างๆเช่น
*บุคลากรทางด้าน Information Systems จำเป็นต้องเรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมีข้อมูลมากเกินความต้องการ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของ Transaction Operational Database ทำงานได้ช้าลง
*ข้อมูลจะเป็นรูปแบบข้อมูลตารางเท่านั้น
*ข้อมูลจะถูกนำเสนอในรูปแบบที่ตายตัว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของผู้ใช้
*ไม่ตอบสนองความต้องการของการตัดสินใจ เพราะข้อมูลสำหรับการตัดสินใจมีความสลับซับซ้อนสูง มีการรวมตัวกันของข้อมูลจากตารางต่างๆหลายๆตารางข้อมูล
*ไม่ตอบสนองการสอบถามข้อมูล (Data Queries) สำหรับผู้ใช้
*มีข้อมูลย้อนหลังน้อย (Historical Data)
*ข้อมูลถูกจัดเก็บกระจัดกระจายตามที่ต่างๆ ซึ่งยากต่อการเรียกใช้หรือขาดความสัมพันธ์ทางธุรกิจอันอาจจะต้องเสียเวลาในการทำให้สอดคล้อง หรือเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
 
จากอุปสรรคที่กล่าวมาข้างต้นคลังข้อมูลจึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองงานในรูปแบบการตัดสินใจโดยการแยกฐานข้อมูลออกจาก Operational Database และเก็บข้อมูลในรูปแบบข้อมูลสรุป (Summary Data) ซึ่งข้อมูลสรุปนี้จะเลือกแต่เฉพาะข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจหรือเพื่อใช้ในการบริหารไปจนถึงการกำหนดแผนงานในอนาคต
ในระบบคลังข้อมูล ข้อมูลที่ซับซ้อนจะถูกรวบรวมหรือเปลี่ยนแปลงให้ง่ายต่อการจัดเก็บและสามารถเรียกกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยข้อมูลต่างๆเหล่านี้จะถูกนำมาใช้สำหรับการวิเคราะห์และช่วยในเรื่องการตัดสินใจโดยอาศัยเครื่องมือ (tool) ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นซอฟท์แวร์มาใช้ในการจัดการทำรายงานและเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการตัดสินใจให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยผู้บริหาร นักวางแผน และนักวิเคราะห์ข้อมูลสามารถเรียกหาข้อมูลหรือสอบถาม (query) เพื่อให้ได้รับคำตอบในรูปแบบตารางรายงาน หรือรายงาน กราฟ เพื่อมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเองเช่น
*การเปรียบเทียบยอดขายระหว่างช่วงเวลาในอดีตกับปัจจุบันไปจนถึงการทำพยากรณ์ยอดขายในอดีต (Forecasting)
*การหายอดขายสูงสุดหรือต่ำสุด
*การเปรียบเทียบยอดขาย ต้นทุน กำไร ในรูปแบบตารางรายงาน หรือรายงาน กราฟ
 
ซึ่งเครื่องมือนี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในอันที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จในกระบวนการตัดสินใจ ในปัจจุบันเครื่องมือที่ตอบสนองงานเพื่อช่วยผู้บริหารสำหรับการตัดสินใจมีอยู่มากมายในตลาด ทั้งนี้ก็เป็นทางเลือกของผู้ใช้ในการที่จะเลือกเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อตอบสนองงานของผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจต่อไป
 
จะเห็นได้ว่าการจัดทำคลังข้อมูลเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของหน่วยงาน ทั้งนี้เพราะหน่วยงานต่าง ๆ มักจะมีข้อมูลธุรกรรมที่ไม่มีความต้องกัน (consistent) และมีความลักลั่นอยู่มากดังได้อธิบายไปบ้างแล้ว ดังนั้นการจัดทำคลังข้อมูลจะต้องหาทางแก้ปัญหานี้ให้ได้ อีกประการหนึ่งก็คือข้อมูลบางส่วนหายไปหรือมีไม่ครบ ยกตัวอย่างบริษัทแห่งหนึ่งต้องการวิเคราะห์ความสนใจของลูกค้าที่ใช้บัตรสมาชิกที่บริษัทออกให้ โดยกำหนดจะแยกความสนใจว่ามีความแตกต่างระหว่างเพศหรือไม่ แต่ในการจัดทำระบบประมวลผลธุรกรรมตั้งแต่แรกนั้นนักวิเคราะห์ระบบไม่ได้กำหนดให้เก็บข้อมูลเพศของลูกค้าเอาไว้เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับธุรกรรม ดังนั้นผู้ใช้จึงไม่สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ ในกรณีเช่นนี้ระหว่างการจัดทำคลังข้อมูลก็จะต้องจัดให้มีพนักงานที่ทำหน้าที่ศึกษาข้อมูลโดยพิจารณาจากแบบฟอร์มเดิมแล้วนำเพศมาบันทึกเป็นข้อมูลเพิ่มเติมขึ้น
 
การจัดทำคลังข้อมูลจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต เพราะปัจจุบันนี้ผู้ใช้และผู้บริหารของหน่วยงานเริ่มมีเข้าใจความสำคัญของข้อมูลมากขึ้น และเริ่มตระหนักว่าหากนำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เข้าใจสถานภาพหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจะทำให้หน่วยงานหรือบริษัทสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น และจะทำให้หน่วยงานหรือบริษัททำงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย
 
 
==ดูเพิ่ม==