ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บางกอกรีกอเดอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
หมอบรัดเลย์ได้กราบทูลขอพระบรมราชานุญาตกับ[[รัชกาลที่ 3]] เมื่อบรรดาอำมาตย์มุขมนตรีให้การสนับสนุนแล้ว จึงได้ออกหนังสือพิมพ์ขึ้น ซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ ยังไม่มีใครรู้จัก จนบางคนคิดว่า มันเป็นเพียง[[จดหมายเหตุ]]ธรรมดา ถึงกับมีคนเรียกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น<ref>สุกัญญา ตีระวนิช, '''หมอบรัดเลกับการหนังสือพิมพ์กับกรุงสยาม''' (กรุงเทพ : มติชน 2529) หน้า 40</ref> แต่ออกพิมพ์ได้ปีเดียวก็เลิกไป เพราะรัฐบาลไม่สนับสนุน อันเนื่องมาจากการทำหนังสือพิมพ์แบบอเมริกัน ที่มีรูปแบบวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่เนื่องจากผู้อ่านหนังสือพิมพ์ก็คือรัฐบาลนั่นเอง และเมื่อประสบปัญหาจากรัฐบาล ประกอบกับหมอมีปัญหาส่วนตัวเกี่ยวกับการจัดระบบเผยแพร่[[คริสตศาสนา]]ในเมืองไทยและปัญหาครอบครัว จึงเลิกออกหนังสือพิมพ์ไประยะหนึ่ง
 
ต่อมาในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] พระองค์ทรงเปิดกว้างต่อการไหลบ่าของอารยธรรมตะวันตกมากขึ้น ทั้งยังทรงเคยเป็นสมาชิก บางกอกรีคอเดอ มาก่อน และเมื่อหมอบรัดเลย์ออกหนังสือพิมพ์อีก ก็ทรงบอกรับเป็นสมาชิกอีก ครั้นได้พบว่าหมอบรัดเลย์เขียนบทความโจมตี[[พุทธศาสนา]]ก็ทรงเขียนบทความตอบโต้ โดยมิทรงลงพระมหาปรมาภิไตย แต่คนทั่วไปก็ทราบดีกว่าบทความเหล่านั้นคือใคร<ref>สุกัญญา, เรื่องเดียวกัน, หน้า 55</ref> แต่เนื่องจากหมอบรัดเลย์ยกศาสนาของตนและประเทศของตนข่มคนไทย จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจกับคนไทยอย่างกว้างขวาง จึงทำให้การบอกรับสมาชิกไม่เพิ่มขึ้นทั้งสมาชิกเดิมก็ไม่จ่ายเงิน จึงยากที่จะยืนหยัดในสถานการณ์เช่นนี้
 
== อ้างอิง ==