ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บางกอกรีกอเดอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
 
เนื้อหามีลักษณะเป็นตำรา ข่าวทั้งต่างประเทศและในประเทศ ราคาสินค้า และเรื่องที่น่าสนใจอื่น ๆ<ref>[http://archive.lib.kmutt.ac.th/detail.php?ar_id=2009 โฉมหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของเมืองไทย]</ref> และมีการนำเสนอ เป็นการรายงานข่าวและการเขียนบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่<ref>[http://guru.sanook.com/history/topic/1581/%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%87/ บางกอกรีคอร์เดอร์ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยเริ่มออกวางแผง ]</ref> จุดประสงค์ของหนังสือพิมพ์เล่มแรกฉบับนี้ หมอบรัดเลย์พยายามเน้นให้คนเห็นว่า "หนังสือพิมพ์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร หมอพยายามชี้ให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์นั้นมีคุณต่อบ้านเมืองเป็นอันมาก เป็นแสงสว่างของบ้านเมือง คนชั่วเท่านั้นที่กลัวหนังสือพิมพ์ เพราะกลัวว่าหนังสือพิมพ์จะประจานความชั่วของตน"<ref>บางกอกรีคอเดอ ฉบับ 3 พฤศจิกายน 2408</ref>
 
== ประวัติ ==
หมอบรัดเลย์ได้กราบทูลขอพระบรมราชานุญาตกับ[[รัชกาลที่ 3]] เมื่อบรรดาอำมาตย์มุขมนตรีให้การสนับสนุนแล้ว จึงได้ออกหนังสือพิมพ์ขึ้น ซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ ยังไม่มีใครรู้จัก จนบางคนคิดว่า มันเป็นเพียง[[จดหมายเหตุ]]ธรรมดา ถึงกับมีคนเรียกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น<ref>สุกัญญา ตีระวนิช, '''หมอบรัดเลกับการหนังสือพิมพ์กับกรุงสยาม''' (กรุงเทพ : มติชน 2529) หน้า 40</ref> แต่ออกพิมพ์ได้ปีเดียวก็เลิกไป เพราะรัฐบาลไม่สนับสนุน อันเนื่องมาจากการทำหนังสือพิมพ์แบบอเมริกัน ที่มีรูปแบบวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่เนื่องจากผู้อ่านหนังสือพิมพ์ก็คือรัฐบาลนั่นเอง และเมื่อประสบปัญหาจากรัฐบาล ประกอบกับหมอมีปัญหาส่วนตัวเกี่ยวกับการจัดระบบเผยแพร่[[คริสตศาสนา]]ในเมืองไทยและปัญหาครอบครัว จึงเลิกออกหนังสือพิมพ์ไประยะหนึ่ง
 
ต่อมาในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] พระองค์ทรงเปิดกว้างต่อการไหลบ่าของอารยธรรมตะวันตกมากขึ้น ทั้งยังทรงเคยเป็นสมาชิก บางกอกรีคอเดอ มาก่อน และเมื่อหมอบรัดเลย์ออกหนังสือพิมพ์อีก ก็ทรงบอกรับเป็นสมาชิกอีก ครั้นได้พบว่าหมอบรัดเลย์เขียนบทความโจมตี[[พุทธศาสนา]]ก็ทรงเขียนบทความตอบโต้ โดยมิทรงลงพระมหาปรมาภิไตย แต่คนทั่วไปก็ทราบดีกว่าบทความเหล่านั้นคือใคร<ref>สุกัญญา, เรื่องเดียวกัน, หน้า 55</ref>
 
== อ้างอิง ==