ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ขอให้กล้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการก่อกวนของ 202.29.6.246 ไปยังรุ่นโดย Sry85 ด้วยสจห.
บรรทัด 8:
อย่ายึดติดกับเรื่องที่เราเขียน โดยสัญชาตญาณของมนุษย์ จะรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำงาน หรือเขียนงานอะไรขึ้นมา อย่าให้ความรู้สึกนั้นมายึดติดในหัวเรา เพราะเมื่อโดนคนอื่นแก้งาน อาจจะหงุดหงิดได้ แต่ลองนึกดูว่าถ้าทุกคนช่วยแก้งานที่เราเขียน งานที่เราสร้างขึ้นมาจะพัฒนาดีขึ้นมากแค่ไหน โดยทั่วไปแล้ว สัญชาตญาณของเราที่ต้องการ "ครอบครอง" สิ่งที่เราเขียนนั้น เป็นลักษณะที่เป็นผลเสียกับที่นี่ และมันจะเป็นการดีถ้าเราจะเคาะสนิมของการยึดติดทางอารมณ์เสียบ้าง โดยการแก้ไขบทความอย่างถึงราก ถ้ามันจะทำให้เกิดผลที่ดีขึ้น แน่นอน คนอื่น ๆ ก็จะแก้ไขบทความที่ "คุณ" เขียนอย่างกล้าหาญ และไร้ความปรานี ด้วยเช่นกัน แต่อย่าไปคิดเป็นเรื่องส่วนตัว ทุกคนที่นี่ต่างต้องการ ทำให้วิกิพีเดียดีที่สุดเท่าที่มันจะเป็นได้ทั้งนั้น
 
== แก้เลย แต่อย่าสะเพร่า ==
'''พวกทำให้ชาติเดือดร้อน คิดว่าตัวเองนักเลงนักรึไง'''
ผู้ใช้ใหม่นั้น มักจะตื่นเต้นไปกับการเปิดกว้างของ[[วิกิพีเดีย]]และกระโจนเข้าใส่มัน นี่เป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าลืมว่า ''ขอให้กล้าแก้ไขบทความ'' ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะลบบทความเกี่ยวกับประเด็นที่ซับซ้อน และเต็มไปด้วยการโต้เถียง ที่มีประวัติยาวนานหลายๆ อัน ในหลายๆ กรณี เนื้อหาของบทความที่คุณเห็นนั้น ผ่านกระบวนการแก้ไขและเจรจาต่อรองของชาววิกิพีเดียที่มีประสบการณ์และมุมมองที่แตกต่างกัน การแก้ไขโดยไม่ระวังต่อบทความดังกล่าว อาจการเป็นการเข้าไปตีรังผึ้ง และผู้ใช้ที่มีส่วนร่วมในการเขียนบทความในหน้านั้น อาจโต้ตอบอย่างโกรธเกรี้ยว กระนั้นก็ตามการแก้ไขไวยากรณ์ที่ผิดพลาดนั้น ก็ยังเป็นสิ่งที่ควรกระทำอยู่
 
ถ้าคุณพบบทความเกี่ยวกับประเด็นที่ก่อให้เกิดการโต้เถียงที่คุณต้องการจะแก้ไข คุณควรจะเข้าไปอ่านบทความให้ครบถ้วน อ่านหน้าอภิปราย และดูประวัติของบทความนั้นๆ เพื่อจะได้พอทราบที่มาที่ไปและสถานะปัจจุบันของบทความดังกล่าว
 
ถ้าคุณเป็น[[วิกิพีเดีย:ชาววิกิพีเดีย|ชาววิกิพีเดีย]]ผู้ช่ำชอง คุณน่าจะพอทราบได้ว่าการแก้ไขใดเป็นสิ่งที่ผู้คนยอมรับ และอะไรเป็นสิ่งที่ควรต้องสอบถามก่อน
 
แต่ถ้าคุณเป็นผู้ใช้มือใหม่และไม่แน่ใจว่าคนอื่นๆ จะมองการแก้ไขของคุณว่าอย่างไร แต่คุณก็ต้องการจะแก้ไขหรือลบบางส่วนของบทความ เราแนะนำว่าคุณควรจะ
 
# คัดลอกข้อความดังกล่าวไปยังหน้าอภิปราย และเขียนความเห็นขัดแย้งของคุณไว้ (ในกรณีที่ส่วนดังกล่าวเป็นประโยค หรือมีความยาวระดับประโยค)
# เขียนความเห็นของคุณไว้ในหน้าอภิปราย แต่เก็บหน้าบทความไว้เช่นเดิม (ในกรณีที่ส่วนดังกล่าวมีความยาวค่อนข้างมาก)
 
หลังจากนั้นรอคำตอบสักระยะ ถ้าไม่มีใครมีความเห็นขัดแย้ง คุณก็สามารถดำเนินการไปได้ แต่อย่าลืมที่จะย้ายส่วนที่ลบที่มีขนาดใหญ่ ไปไว้ที่หน้าอภิปราย และเขียนความเห็นของคุณกำกับไว้ด้วย เพื่อที่ผู้ใช้คนอื่นๆ จะได้เข้าใจการแก้ไขของคุณ และสามารถเข้าใจประวัติของบทความนั้นได้ และอย่าลืมที่จะใส่[[วิกิพีเดีย:คำอธิบายอย่างย่อ|คำอธิบายอย่างย่อ]]ของการแก้ไขของคุณลงไปด้วย
 
นอกจากนี้ คุณควรจะมีเคารพใน ''ระบบที่เป็นอยู่'' บ้าง เช่น หลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขเนื้อหาของบทความ ถ้าในขณะนั้นได้มีการลงความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขดังกล่าวอยู่ โดยเฉพาะถ้ายังไม่มีการเห็นพ้องต้องกันอย่างชัดเจน
 
== แต่อย่าเพิ่งกลัวไป ==