ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลเมืองพะเยา"

เทศบาลเมืองในจังหวัดพะเยา ประเทศไทย
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: ประวัติเทศบาล ตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลเมืองพะเยา จังห...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:39, 28 สิงหาคม 2551

ประวัติเทศบาล ตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดเชียงราย พ. ศ. 2480 ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ( ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร) ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2480 อาทิตย์ทิพอาภา พล. อ. เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ตราไว้ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ. ศ. 2480 โดยที่เห็นสมควรจัดเขตชุมนุมชนในบางส่วนของตำบลเวียง และตำบลแม่ต๋ำ อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย ให้มีฐานะเป็นเทศบาลเมือง

          จนกระทั่ง ปี พ. ศ. 2520 ได้มีการตราราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอน 67 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2520 และมีผลใช้บังคับจาวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีกำหนด 1 เดือน อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย จึงได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา จึงขึ้นกับจังหวัดพะเยา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยตั้งสำนักงานปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 58 ถนนท่ากว๊าน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองพะเยา คนแรกคือ ร. ต. อ. หลวงกมล ดิลกเลิศ พ. ศ. 2481 - 2483 ปัจจุบันนายกเทศมนตรีฯ ลำดับที่ 30 คือ นายมงคล บุญเรือง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งนายเทศมนตรีโดยตรง ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ. ศ. 2496 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 11 พ. ศ. 2543 


ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทั่วไปของเทศบาลเมืองพะเยา

         สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

1. สภาพทั่วไป

    1.1 ลักษณะที่ตั้ง
         ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลต๋อม อำเภอเมืองพะเยา
            ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา
            ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลท่าวังทองอำเภอเมืองพะเยา
            ทิศตะวันตก ติดต่อกับกว๊านพะเยาและตำบลแม่ใสอำเภอเมืองพะเยา
            เทศบาลเมืองพะเยา ปัจจุบันมีเนื้อที่ 9 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,625 ไร่ ประกอบด้วย 2 ตำบล คือ ตำบลเวียง และตำบลแม่ต๋ำ 
   1.2 ประชากร
            จำนวนประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพะเยา เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 มี จำนวน 18,824 คน 
            แยกเป็นชาย 8,904 คน หญิง 9,920 คน แยกเป็นรายตำบล ดังนี้ 
            ตำบลเวียง 10,845 คน ชาย 5 ,063 คน หญิง 5,782 คน
            ตำบลแม่ต๋ำ 7,987 คน ชาย 3 ,839 คน หญิง 4,148 คน 
            จำนวนบ้าน 8 ,210 หลังคาเรือน จำนวนครอบครัว 8,210 ครอบครัว
            เฉลี่ยความหนาแน่นของประชากร 2,091 คน ต่อตารางกิโลเมตร 

2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

    2.1 การคมนาคม การจราจร
          ถนนสายประธาน ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร
และสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันเส้นทางนี้มีปริมาณการจราจรค่อนข้างสูง 
             ถนนสายหลัก ได้แก่ ถนนสายพหลโยธิน หรือ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1202
             ถนนสายรอง ได้แก่ ถนนทางหลวงท้องถิ่นเทศบาลในชุมชนเทศบาล ซึ่งเป็นถนนลาดยางและคอนกรีตเสริมเหล็ก
     2.2 การไฟฟ้า
                     ปัจจุบัน ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา มีไฟฟ้าใช้ครอบคลุมทุกชุมชน โดยมีจำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าเกือบ

ครบทุกครัวเรือน ส่วนไฟฟ้าสาธารณะมีครอบคลุมถนนเกือบครบทุกสาย

   2.3 การประปา
           สำนักงานประปาพะเยาซึ่งเป็นหน่วยงานของการประปาส่วนภูมิภาคเป็นผู้ให้บริการน้ำประปาในเขตเทศบาลเมืองพะเยา

โดยมีกว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำดิบ ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง และขยายการบริการ ซึ่งคาดว่าจะสามารถขยายเขตการบริการให ้ครอบคลุมทุกครัวเรือน ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ปริมาณน้ำประปาที่ผลิตได้ในแต่ละวัน มีจำนวน 1,100 ลูกบาศก์เมตร / วัน

   2.4 การสื่อสารและการโทรคมนาคม
           1 ) การไปรษณีย์โทรเลข ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา มีที่ทำการไปรษณีย์ โทรเลข จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ที่ทำการไปรษณีย์หนองระบู ตั้งอยู่เลขที่ 687 ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
           2 ) โทรศัพท์ ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา มีหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งได้เปิดให้บริการ โดยบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท ที ที แอนด์ ที (มหาชน) และมีระบบบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของระบบเอไอเอส ระบบดีแทค ระบบออเรจท์ การให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 
           3 ) สถานีวิทยุกระจายเสียงในเขตเทศบาลเมืองพะเยา มีสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. ( ห้องจัดรายการ ) จำนวน 1 แห่ง

3 ด้านการเศรษฐกิจ

    3.1 โครงสร้างทางเศรษฐกิจ / รายได้ประชากร
           โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ประกอบด้วย ภาคเกษตรกรรม การพาณิชยกรรม การอุตสาหกรรม และการบริการ รายได้เฉลี่ยของประชากร ปีละประมาณ 21,781 บาท / คน / ปี (ข้อมูล จปฐ. - ปี 2547)
    3.2 การเกษตรกรรมและการประมง
           ภาคการเกษตร ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา มีผู้ประกอบการ อาชีพการเกษตร ได้แก่ การทำนา ทำไร่ ทำสวน การปลูกพืชสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ โดยภาคการเกษตรจะอยู่ในบริเวณตำบลแม่ต๋ำเป็นส่วนใหญ่ และประกอบอาชีพประมงเพียงเล็กน้อย
    3.3 การอุตสาหกรรม
           การอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลเมืองพะเยา เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็ก ซึ่งใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตร ได้แก่ โรงสีข้าว โรงโม่แป้ง โรงทำเส้นหมี่ - เส้นก๋วยเตี๋ยว โรงงานทำลูกชิ้น นอกจากนั้นยังมีโรงพิมพ์ และโรงซ่อมรถยนต์ ต่าง ๆ มีอุตสาหกรรมจำนวนทั้งสิ้น 77 แห่ง
    3.4 การพาณิชยกรรมและการบริการ
           ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา มีตลาดสด 6 แห่ง คือ ตลาดสดพะเยาอาเขต ตลาดสดเฉลิมศักดิ์ ตลาดสดข้างโรงเรียนเทศบาล 3 ตลาดสดแม่ต๋ำ ตลาดสดหน้าวัดป่าลานคำ และตลาดสดชุมชนแม่ต่ำสายใน และมีสถานีบริการน้ำมัน 4 แห่ง
    3.5 การท่องเที่ยว
         กว๊านพะเยาแหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองพะเยาที่สำคัญ ได้แก่ กว๊านพะเยา อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง พระตำหนักโบราณสถาน ประกอบด้วย วัดศรีโคมคำ หรือวัดพระเจ้าตนหลวง วัดลี วัดหลวงราชสัณฐาน วัดพระธาตุจอมทอง เป็นต้น
            สำหรับโรงแรมที่พักมีจำนวน 6 แห่ง มีเพียงพอสำหรับนักท่องเที่ยว แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ซึ่งมีทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศจะแวะชมเที่ยวกว๊านพะเยา และแวะพักรับประทานอาหารเท่านั้น นักท่องเที่ยวจะมีมากในวันหยุดและเทศกาลต่าง ๆ

4. ด้านสังคม

    4.1 ชุมชน
           ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองพะเยา มีจำนวน 13 ชุมชน จำนวน 8,210 หลังคาเรือน แบ่งเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลเวียง ตำบลแม่ต๋ำ
    4.2 ศาสนา
           ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพะเยาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 90 มีวัด จำนวน 13 แห่ง และยังมีประชาชนที่นับถือ ศาสนาอื่นๆ อีก เช่น ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์
    4.3 การศึกษา
           ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา มีสถาบันการศึกษา จำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย
              - โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพะเยา 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 ถึง โรงเรียนเทศบาล 6 มีครู จำนวน 136 คน นักเรียน 3,500 คน โดยเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2 แห่ง คือ โรงเรียนเทศบาล 2 และโรงเรียนเทศบาล 3
              - โรงเรียนในสังกัด สปช. 1 แห่ง คือ โรงเรียนอนุบาลพะเยา
              - โรงเรียนเอกชน 4 แห่ง คือ โรงเรียนบุญสิษฐ์วิทยา โรงเรียนพินิตประสาธน์ โรงเรียนวัฒนาวิทยาโรงเรียนราชคฤห์วิทยา
              - มหาวิทยาลัย 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา
    4.4 ประเพณี
           กิจกรรมประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีวันเข้าพรรษา ประเพณีเดือนแปดเป็ง ประเพณีตานก๋วยสลาก และประเพณีวันลอยกระทง เป็นต้น โดยประเพณีดังกล่าวประชาชนทุกหมู่เหล่าจะร่วมกันประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และกิจกรรมรื่นเริง เป็นประจำทุกปี
    4.5 การสาธารณสุข
           ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพะเยา จะใช้บริการด้านการสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลพะเยา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลพะเยาราม ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชน สำหรับเทศบาลเมืองพะเยา มีศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชนเพื่อให้บริการประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา 2 แห่ง
    4.6 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
           งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
              1 ) รถยนต์ดับเพลิง 5 คัน
              2 ) รถยนต์บรรทุกน้ำ 3 คัน แยกเป็น
                       - ขนาดบรรจุน้ำ 5,000 ลิตร จำนวน 1 คัน
                       - ขนาดบรรจุน้ำ 6,000 ลิตร จำนวน 1 คัน
                       - ขนาดบรรจุน้ำ 12,000 ลิตร จำนวน 1 คัน
              3 ) เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม 3 เครื่อง
              4 ) รถยนต์กู้ภัยพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิต 1 คัน
              5 ) เรือท้องแบนสำหรับติดตั้ง เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม 2 ลำ
              6 ) อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ดับเพลิง 36 คน
                       - พนักงานเทศบาล 5 คน
                       - ลูกจ้างประจำ 11 คน
                       - ลูกจ้างชั่วคราว 20 คน
              7 ) อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 454 คน
              8 ) ในรอบปีที่ผ่านมามีการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่องทุกระยะ

5. สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

    5.1 ภูมิอากาศ
           1 ) อุณหภูมิสูงสุด 38.5 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 10 องศาเซลเซียส
                       อุณหภูมิเฉลี่ยเดือน มี ค. - มิ.ย. 26.37 องศาเซลเซียส
                       อุณหภูมิเฉลี่ยเดือน ก.ค. - ต.ค. 26.44 องศาเซลเซียส
                       อุณหภูมิเฉลี่ยเดือน พ.ย. - ก.พ. 22.44 องศาเซลเซียส
           2 ) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย สูงสุด พ.ศ. 2537 ต่ำสุด พ.ศ. 2535
                       ปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ยเดือน มี.ค. - มิ.ย. 113.2 ม.ม.
                       ปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ยเดือน ก.ค. - ต.ค. 100.2 ม.ม.
                       ปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ยเดือน พ.ย. - ก.พ. 0.2 ม.ม.
           3 ) ทิศทางลม
                       ฤดูฝน พัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้
                       ฤดูร้อน พัดมาจากทิศใต้
                       ฤดูหนาว พัดมาจากทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
    5.2 แหล่งน้ำ
        1 ) กว๊านพะเยา
           2 ) คลองแม่ต๋ำ
    5.3 การระบายน้ำ
        1 ) พื้นที่น้ำท่วมถึง คิดเป็นร้อยละ 4 ของพื้นที่ทั้งหมด
           2 ) ระยะเวลาเฉลี่ยที่น้ำท่วมขังนานที่สุด 15 วัน ประมาณห้วงเดือน ก.ย. - ต.ค.
           3 ) เครื่องสูบน้ำ
                       - ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง
                       - ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง
    5.4 น้ำเสีย
         1 ) ปริมาณน้ำเสีย 6,000 ลบ.ม./วัน
            2 ) ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้แบบบ่อผึ่งเติมอากาศ รวม 1 แห่ง
            3 ) น้ำเสียที่บำบัดได้ จำนวน 3,500 ลบ.ม./วัน
            4 ) ค่า BOD. ในทางระบายน้ำสายหลัก 2.0 มิลลิกรัม / ลิตร
    5.5 ขยะ
           1 ) ปริมาณขยะ 35 ตัน / วัน
           2 ) รถยนต์ที่ใช้จัดเก็บขยะ รวม 7 คัน
                       - รถยนต์คันที่ 1 รถเก็บขนแบบเปิดข้าง เทท้าย ขนาดความจุ 15 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2524
                       - รถยนต์คันที่ 2 รถเก็บขนแบบเปิดข้าง เทท้าย ขนาดความจุ 15 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2531
                       - รถยนต์คันที่ 3 รถเก็บขนแบบเปิดข้าง เทท้าย ขนาดความจุ 15 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2535
                       - รถยนต์คันที่ 4 รถเก็บขนแบบเปิดข้าง เทท้าย ขนาดความจุ 15 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2535
                       - รถยนต์คันที่ 5 รถเก็บขนแบบเปิดข้าง เทท้าย ขนาดความจุ 15 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2535
                       - รถยนต์คันที่ 6 รถเก็บขนแบบเปิดข้าง เทท้าย ขนาดความจุ 15 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2539
                       - รถยนต์คันที่ 7 รถเก็บขนแบบเปิดข้าง เทท้าย ขนาดความจุ 15 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2542
           บุคลากรประจำรถเก็บขน จำนวนทั้งสิ้น 32 คน
           3 ) เครื่องจักรที่ใช้ในการกำจัดขยะมูลฝอย
                       - รถแบคโฮห์ จำนวน 1 คัน จัดซื้อเมื่อ พ.ศ.2537
                       - รถแทรกเตอร์ ขนาด 125 แรงม้า จำนวน 1 คัน จัดซื้อเมื่อ พ.ศ.2539
                       - รถตักหน้า - ขุดหลัง ขนาด 79 แรงม้า จำนวน 1 คัน จัดซื้อเมื่อพ.ศ.2541
                       - รถยนต์บรรทุกเทท้าย ชนิด 6 ล้อ จำนวน 1 คัน จัดซื้อเมื่อ พ.ศ.2545
                       - รถยนต์บรรทุกน้ำแบบมาตรฐานความจุไม่น้อยกว่า 6,000 ลิตร จำนวน 1 คัน จัดซื้อเมื่อ พ.ศ.2545
                       - รถยนต์บรรทุกขยะมูลฝอยแบบอัดท้าย จำนวน 1 คัน จัดซื้อเมื่อ พ.ศ.2545
                       - รถตีนตะขาบ จำนวน 1 คัน จัดซื้อเมื่อ พ.ศ.2545
                       - รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ จำนวน 1 คัน จัดซื้อเมื่อ พ.ศ.2545
           4 ) ขยะที่กำจัดได้ จำนวน 35 ตัน / วัน กำจัดโดยวิธีฝังกลบทั้งหมดในแต่ละวัน
           5 ) ที่ดินสำหรับกำจัดขยะที่กำลังใช้ จำนวน 82 ไร่ 2 งาน 67 ตารางวา ตั้งอยู่ หมู่ที่ 11 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา (จัดซื้อเมื่อ พ.ศ.2529 เนื้อที่ 74 ไร่ 2 งาน 16 ตารางวา และจัดซื้อเมื่อปี พ.ศ. 2538 เนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 51 ตารางวา)
                       - ห่างจากเขตเทศบาลเมืองพะเยา เป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร
                       - ในปี 2543 ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ รวมเป็นเงิน 63,134,800 บาท                            เพื่อก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยแบบถูกสุขาภิบาล เป็นเงิน 51,234,800 บาท และเป็นค่าจัดซื้อครุภัณฑ์ เป็นเงิน 11,900,000 บาท โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 สิ้นสุดโครงการใน พ.ศ. 2545 ผูกพันงบประมาณ 3 ปี
                       - คาดว่าจะสามารถกำจัดขยะได้อีก 15 - 20 ปี
           6 ) ที่ดินสำรองที่เตรียมไว้สำหรับกำจัดขยะในอนาคต จำนวน 83 ไร่ 3 งาน 83 ตารางวา ตั้งอยู่ ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ห่างจากเขตเทศบาล เมืองพะเยา เป็นระยะทาง ประมาณ 5 กิโลเมตร