ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ขอให้กล้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BodhisattvaBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: sv:Wikipedia:Var djärv
Tassanee ser (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23:
 
นอกจากนี้ คุณควรจะมีเคารพใน ''ระบบที่เป็นอยู่'' บ้าง เช่น หลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขเนื้อหาของบทความ ถ้าในขณะนั้นได้มีการลงความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขดังกล่าวอยู่ โดยเฉพาะถ้ายังไม่มีการเห็นพ้องต้องกันอย่างชัดเจน
ลักษณะสารานุกรม
สารานุกรมวิกิพีเดียได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไข รวมถึงนโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม อย่างไรก็ตามการนำไปใช้อ้างอิงในเอกสารทางวิชาการยังคงเป็นข้อถกเถียงเนื่องจากการเปิดโอกาสให้ทุกคนแก้ไข ซึ่งง่ายต่อการปรับเปลี่ยนข้อมูลทุกเมื่อ
 
ผู้ประสงค์ร้ายที่มือบอนเข้าไปทำลายข้อมูลหรือสิ่งดีๆ ในวิกิพีเดีย ยังเป็นปัญหาที่เกิดบ่อย แม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ก่อการร้ายเหล่านั้นจะถูกจับได้ และมีการเข้าไปแก้ไขเนื้อหาเพิ่มเติมที่ไม่ถูกต้องเหล่านั้นอย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้วิกิพีเดียที่ทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นล่าสุด
 
การตรวจสอบเนื้อหาในวิกิพีเดีย ใช้วิธีอ้างอิงจากงานที่ได้รับการตีพิมพ์ (peer-reviewed publications) แทนที่จะเป็นบุคคลผู้เชี่ยวชาญ วิกิพีเดียไม่เรียกร้องให้ผู้ร่วมสมทบงานให้ชื่อสกุลจริงหรือข้อมูลอื่นใดเพื่อสร้างตัวตนในวิกิพีเดีย และแม้ว่าผู้สมทบงานบางรายจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตน วิกิพีเดียก็ยังต้องการให้งานสมทบของเขาสนับสนุนโดยแหล่งอ้างอิงที่ตีพิมพ์แล้วและตรวจสอบได้
 
ความน่าเชื่อถือของวิกิพีเดียได้ถูกทำการทดสอบ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ได้มีทีมนักวิจัยทดสอบความถูกต้องของวิกิพีเดียฉบับภาษาอังกฤษ เปรียบเทียบกับสารานุกรมบริเตนนิกา สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนำเรื่องราวเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ไปทดสอบ ผลลัพธ์ที่ออกมาสรุปว่าความถูกต้องใกล้เคียงกัน โดยมีการผิดพลาดทางข้อมูลและการใช้ภาษาใกล้เคียงกัน[5]
 
วิกิพีเดียถูกกล่าวหาว่านำเสนอเนื้อหาที่มีความลำเอียงอย่างเป็นระบบ (systemic bias) และมีความไม่สอดคล้องกัน[6] นักวิจารณ์ให้เหตุผลว่า ธรรมชาติที่เปิดของวิกิพีเดียและการไม่มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงในเนื้อหาจำนวนมาก ทำให้มันไม่น่าเชื่อถือ[7] นักวิจารณ์อีกกลุ่มแนะว่า โดยปกติแล้ววิกิพีเดียนั้นเชื่อถือได้ แต่มันไม่แน่ชัดเท่าไรนักว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน[8] มหาวิทยาลัยและอาจารย์จำนวนมากไม่สนับสนุนให้นักเรียนอ้างอิงสารานุกรมใด ๆ ในงานวิชาการ และชอบที่จะให้ใช้งานจากแหล่งปฐมภูมิมากกว่า[9] บางรายระบุเป็นการเฉพาะว่าห้ามอ้างอิงวิกิพีเดีย[10] ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย จิมมี่ เวลส์ เน้นว่าสารานุกรมชนิดใด ๆ นั้นโดยปกติแล้วไม่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และไม่ควรไว้วางใจมันว่าเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้[11]
 
== แต่อย่าเพิ่งกลัวไป ==