ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นอร์ธรอป เอฟ-5"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
Skyman (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ภาพ:F-5 flying.jpg|thumb|250px|เอฟ-5อี ไทเกอร์ทูว์]]
 
'''เอฟ-5เอ/บี ฟรีดอมไฟเตอร์''' (F-5 Freedom Fighter) และ '''เอฟ-5อี/เอฟ ไทเกอร์ ทู''' เป็น[[เครื่องบินขับไล่]]ของสหรัฐอเมริกา เริ่มออกแบบเมื่อปี [[พ.ศ. 2505]] (ค.ศ. 1962) โดยบริษัท[[นอร์ธรอป]]
 
 
==ประวัติ==
F-5 ถือกำเนิดจากโครงการของบริษัท[[นอร์ทธรอป]]ที่ทำวิจัยและพัฒนาเครื่องบินขับไล่ที่มีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูงภายใต้โครงการ N-156F แม้ว่า[[กองทัพอากาศสหรัฐ]]จะไม่ได้ให้ความสนใจในเครื่องบินขับไล่ขนาดเล็ก แต่เจ้าหน้าที่ในโครงการช่วยเหลือทางทหารของประธานาธิปดี [[จอห์น เอฟ เคนเนดี]] เห็นถึงศักยภาพที่เครื่องบินในโครงการ N-156F ที่จะสามารถเปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาที่พันธมิตรของสหรัฐได้จัดหาเครื่องบินขับไล่ประสิทธิภาพสูงที่มีราคาไม่แพง รัฐบาลสหรัฐจึงได้เลือกเครื่องบินในโครงการ N-156F มาพัฒนาจนกลายเป็น F-5A Freedom Fighter ซึ่งถือเป็น F-5 รุ่นแรกของโลก และส่งมอบหรือขายให้กับพันธมิตรชาติต่าง ๆ ทั่วโลก
ในช่วงปลาย[[สงครามเวียดนาม]] [[กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา]]ได้พบว่าเครื่องบินขับไล่ทางยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่แบบ[[เอฟ-111]] ได้กลายเป็นเป้าซ้อมปืนและจรวดให้กับนักบิน[[มิก-21]] อย่างมันมือ ด้วยความใหญ่และหนักของ[[เอฟ-111]] ไม่อาจสร้างความได้เปรียบในการรบแบบติดพัน (Dog Fight) ได้ ดังนั้น[[เอฟ-111]] จึงถูกเปลี่ยนภารกิจให้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดเบาและออกปฏิบัติการภายใต้การคุ้มกันของเครื่องบินขับไล่แบบ[[เอฟ-4]] ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ขนาด 2 ที่นั่ง ซึ่งว่าไปแล้วก็ยังมีขนาดใหญ่อยู่ดี และจะต้องใช้ถึงสองเครื่องในการไล่ต้อน[[มิก-21]] ที่แสนจะปราดเปรียว ซึ่งในการดวลกันตัวต่อตัวระหว่าง[[เอฟ-4]] กับ[[มิก-21]] นั้น ส่วนใหญ่[[มิก-21]] จะบินหลบหนีไปได้
 
ต่อมาในช่วงปี 1970 บริษัท[[นอร์ทธรอป]]ได้รับชัยชนะในโครงการเครื่องบินขับไล่นานาชาติรุ่นปรับปรุง (Improved International Fighter Aircraft) เพื่อทดแทน F-5A โดย[[กองทัพอากาศสหรัฐ]]กำหนดชื่อรุ่นเป็น F-5E Tiger II สำหรับรุ่นที่นั่งเดี่ยว และ F-5F Tiger II สำหรับรุ่นสองที่นั่ง โดยมีการปรับปรุงที่สำคัญคือ เพิ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคทางการบินที่ทันสมัย ติดตั้ง[[เรด้าร์]]แบบ AN/APQ-153 ซึ่งมีระยะตรวจจับราว 25 กิโลเมตร (ในรุ่น A และ B ไม่ได้รับการติดตั้ง[[เรด้าร์]]) ส่วน F-5F ก็ได้รับการติดตั้ง[[ปืนกล]]แบบ M39 ภายในลำตัว (ในรุ่น B ไม่ได้รับการติดตั้งปืนกล) นอกจากนั้นยังได้พัฒนา RF-5E ที่ติดกล้องถ่ายภาพเพื่อใช้ในภารกิจตรวจการณ์อีกด้วย
ความต้องการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาเพื่อต่อกรกับ[[มิก-21]] อย่างสูสี ทำให้เอฟ-5 เอของบริษัท[[นอร์ธรอป]]ซึ่งแต่เดิมถูกจัดวางไว้ในฐานะเครื่องบินลาดตระเวนโจมตีเบาและตรวจการณ์ถ่ายภาพทางอากาศเช่นเดียวกับเครื่อง[[เอ-4]] ถูกจับตามองด้วยความสนใจ เพราะเอฟ-5 เป็นเครื่องบินเบาที่มีท่วงท่าการบินและความปราดเปรียวคล่องตัวที่ใกล้เคียงกับ[[มิก-21]] มากที่สุด ดังนั้นบริษัท[[นอร์ธรอป]]จึงได้รับสั่งให้อัพเกรดเครื่องเอฟ-5 เป็นเครื่องบินขับไล่เบา
 
F-5 ถือเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของประเทศค่ายประชาธิปไตย โดยมีผู้ใช้งานเกือบ 20 ประเทศ และมียอดการผลิตสูงกว่า 2 พันลำ ในปัจจุบันยังมีกองทัพอากาศหลายชาติที่ยังประจำการด้วย F-5 อยู่ หลายชาติเลือกที่จะทำการปรับปรุงเครื่องบินของตนที่ยังบินได้เพื่อที่จะยืดอายุการใช้งานออกไปให้นานที่สุด เช่น[[กองทัพอากาศบราซิล]]และ[[กองทัพอากาศชิลี]]ได้ว่าจ้างบริษัท[[อิลบิท]]ของ[[อิสราเอล]]ให้ทำการปรับปรุง F-5E/F ของตนเป็น F-5EM และ F-5E/F Tiger III ตามลำดับ ซึ่งมีความสามารถในการติดตั้งจรวดนำวิถีจากอิสราเอลทั้ง[[ดาร์บี้]]และ[[ไพธอน-4]] [[กองทัพอากาศสิงคโปร์]]ก็ได้ปรับปรุง F-5E/F ของตนโดยเปลี่ยน[[เรด้าร์]] ระบบอิเล็กทรอนิคต่าง ๆ และเพิ่มความแข็งแรงให้กับปีก โดยกำหนดชื่อเป็น F-5S/T ซึ่งมีความสามารถในการใช้จรวดแบบ [[ไพธอน-4]] และ [[AIM-120 แอมแรม]] ได้ สำหรับ[[กองทัพอากาศไทย]]ได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัท[[อิลบิท]]ให้ทำการปรับปรุง F-5E/F ในฝูงบิน 211 อุบล ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถติดตั้งจรวด[[ไพธอน-4]]ได้ โดยกองทัพอากาศไทยกำหนดชื่อเรียกว่า F-5T Tigres
เครื่องเอฟ-5 ได้รับการปรับปรุงโดยการขยายโครงสร้างให้ใหญ่และยาวขึ้นกว่าเดิมประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ใช้เครื่องยนต์ของ[[เยเนอรัล อิเลคทริค]]รุ่นใหม่ที่มีแรงขับดันสูงขึ้น ติดเรดาห์ที่มีขีดความสามารถจับเป้าหมายได้อย่างแม่นยำในระยะ 15 ไมล์ สามารถยิงจรวดอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยอินฟราเรดแบบ[[เอไอเอ็ม-9]] และเรียกเอฟ-5 รุ่นนี้ว่า'''เอฟ-5 อี ไทเกอร์ทูว์'''
 
เอฟ-5 อี ถูกส่งเข้าประจำการใน[[เวียดนามใต้]]เพียงไม่กี่ร้อยเครื่องและยังไม่ทันได้ประมือกับ[[มิก-21]] [[สหรัฐอเมริกา]]ก็ยอมถอนตัวออกจาก[[สงครามเวียดนาม]]พร้อมกับทิ้งเอฟ-5 อี จำนวน 350 เครื่องไว้ใน[[เวียดนาม]] ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามได้เก็บรักษาเอฟ-5 อี ไว้ใน[[อนุสรณ์สถานสงครามเวียดนาม]]เพียงไม่กี่เครื่องและทิ้งส่วนที่เหลือให้ชำรุดผุพังไปตามกาลเวลา เนื่องจากไม่มีการซ่อมบำรุงและอะไหล่สนับสนุน
 
[[สหรัฐอเมริกา]]เองก็ยังคงใช้งานเอฟ-5 อี มาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ในสามภาระกิจคือ เป็นเครื่องบินข้าศึกสมมุติในการฝึกหลักสูตร[[ท็อปกัน]] (TOP GUN) เพราะเอฟ-5 อี มีลักษณะการบินที่ใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่มิกของ[[รัสเซีย]]มาก ใช้เป็นเครื่องบินสังเกตการณ์การบินของอากาศยานทดลองและใช้ฝึกนักบิน โดยใช้[[ที-38]] แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น[[ที-45]] ของอังกฤษแล้ว [[กองทัพอากาศไทย]]ก็ได้ทำการปรับปรุงเอฟ-5 อี ในประจำการให้มีขีดความสามารถในการรบเพิ่มขึ้น โดยการเปลี่ยนเรดาห์ให้สามารถจับเป้าข้าศึกได้ในระยะ 25 ไมล์ เพิ่มจอ[[ฮัด]] (HUD) ติดระบบนำร่องแบบ[[ทาแคน]]ซึ่งเอฟ-5 อีของ[[กองทัพอากาศไทย]]เมื่อปรับปรุงแล้ว จึงมีขีดความสามารถในการยิงจรวดนำวิถีแบบ[[ไพธอน|ไพธอน 4]] เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ยิง[[เอไอเอ็ม-9]] ได้แบบเดียวเท่านั้น
 
เครื่องบินขับไล่เบาที่เป็นอมตะที่สุดในโลกนี้ (ยังคงประจำการในกองทัพของประเทศผู้ผลิตจนถึงปัจจุบัน) นอกจาก[[มิก-21]] แล้ว มีเพียงเอฟ-5 อีคู่ปรับที่ไม่เคยเจอกันเลยตลอดกาล
 
==รุ่นของเอฟ-5==
* '''F-5A Freedom Fighter'''
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว
* '''F-5B'''
* '''F-5B Freedom Fighter'''
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง
* '''F-5C Skoshi Tiger'''
เป็นรุ่นที่ได้รับการปรับปรุงในบางจุด เช่น การติดตั้งท่อรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ
* '''F-5D'''
เครื่องบินขับไล่รุ่นสองที่นั่งซึ่งไม่ได้รับการผลิตจริง
* '''F-5E Tiger II'''
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยวรุ่นปรับปรุง
* '''F-5F Tiger II'''
เครื่องบินขับไล่ที่สองที่นั่งรุ่นปรับปรุง
* '''F-5G''' ต่อมาคือ[[เอฟ-20]]
* '''F-5G'''
เปลี่ยนเครื่องยนต์จากสองเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์เดียว ต่อมาคือ[[เอฟ-20]]
* '''F-5N'''
รุ่นฝึกของกองทัพเรือสหรัฐ
* '''F-5S'''
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวที่ได้รับการปรับปรุงโดย[[กองทัพอากาศสิงคโปร์]]
* '''F-5T'''
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่งได้รับการปรับปรุงโดย[[กองทัพอากาศสิงคโปร์]]
* '''F-5T Tigres'''
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวและสองที่นั่งที่ได้รับการปรับปรุงโดย[[กองทัพอากาศไทย]]
* '''F-5EM'''
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวที่ได้รับการปรับปรุงโดย[[กองทัพอากาศบราซิล]]
* '''F-5FM'''
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่งที่ได้รับการปรับปรุงโดย[[กองทัพอากาศบราซิล]]
* '''F-5E Tiger III'''
เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวที่ได้รับการปรับปรุงโดย[[กองทัพอากาศชิลี]]
* '''F-5F Tiger III'''
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่งที่ได้รับการปรับปรุงโดย[[กองทัพอากาศชิลี]]
* '''RF-5A'''
เครื่องบินขับไล่ลาดตระเวนถ่ายภาพ
* '''RF-5A(G)'''
* '''RF-5E Tigereye'''
เครื่องบินขับไล่ลาดตระเวนถ่ายภาพ
* '''YF-5'''
* '''CF-5'''
 
[[ภาพ:F-5T.jpg|thumb|250px|F-5T Tigres ของกองทัพอากาศไทย ขณะกำลังเตรียมขึ้นบิน]]
 
==ประเทศที่มี F-5 ประจำการ==
 
 
;{{AUT}} : เช่าจากสวิสเซอร์แลนด์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรอรับเครื่องบินขับไล่ไต้ฝุ่น
;{{BHR}}
;{{BOT}}
;{{BRA}}
* [[กองทัพอากาศบราซิล]]
;{{CHI}}
* [[กองทัพอากาศชิลี]]
;{{ETH}}
;{{GRE}}
;{{HON}}
;{{IDN}}
* [[กองทัพอากาศอิโดนิเซีย]]: F-5E ทั้ง 16 ลำปลดประจำการในปี 2548 ปัจจุบันเป็นเครื่องบินสำรอง
;{{IRN}}
* [[กองทัพอากาศอิหร่าน]]: ได้รับมอบ F-5E/F จำนวน 140 ลำในสมัยพระเจ้าซาร์ ปัจจุบันปฏิบัติการได้ 60 - 70 ลำ
;{{JOR}}
;{{KEN}}
;{{LBA}}
;{{MAS}} : กำลังปลดประจำการ
;{{MEX}}
;{{MAR}}
;{{NLD}}
* [[กองทัพอากาศเนเธอแลนด์]]: ปลดประจำการ
;{{NOR}}
* [[กองทัพอากาศนอร์เวย์]]
;{{PAK}} : ยืมมาจากประเทศอื่นชั่วคราวในระหว่างสงครามกับอินเดีย
;{{PHL}}
* [[กองทัพอากาศฟิลิปปินส์]]: ปลดประจำการ F-5A/B
;{{KOR}}
* [[กองทัพอากาศเกาหลีใต้]]
;{{SAU}}
* [[กองทัพอากาศซาอุดิอารเบีย]]
;{{SIN}}
* [[กองทัพอากาศสิงคโปร์]]: ปรับปรุงเป็นรุ่น F-5S/T มีประจำการราว 35 ลำ
;{{ESP}}
* [[กองทัพอากาศสเปน]]
;{{SUI}}
* [[กองทัพอากาศสวิส]]: กำลังจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่มาทดแทน
;{{THA}}
* [[กองทัพอากาศไทย]]: F-5A/B/E จะถูกปลดประจำการในปี 2553 และทดแทนด้วย [[JAS 39 Gripen] F-5T Tigris ยังประจำการต่อไป.
;{{TUN}}
;{{TUR}}
* [[กองทัพอากาศตุรกี]]
;{{USA}}
* [[กองทัพอากาศสหรัฐ]]: เป็นเครื่องบินข้าศึกสมมุติ
* [[นาวิกโยธินสหรัฐ]]: เป็นเครื่องบินข้าศึกสมมุติ
* [[กองทัพเรือสหรัฐ]]: เป็นเครื่องบินข้าศึกสมมุติ
;{{VEN}}
;{{flag|South Vietnam}}
* [[กองทัพอากาศเวียดนามใต้]]
;{{VNM}}
* [[กองทัพอากาศเวียดนาม]]: เป็นเครื่องเก่าของ[[กองทัพอากาศเวียดนามใต้]]
;{{YEM}}
 
==เหตุการณ์ในประเทศไทย==
เส้น 68 ⟶ 141:
**สามารถติดตั้งอาวุธที่ใต้ปีกได้ข้างละ 2 แห่ง และ ใต้ลำตัว 1 แห่ง รวมเป็นน้ำหนักสูงสุด 3,175 กิโลกรัม
<ref>อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522</ref>
 
== เพิ่มเติม ==
 
* [[เอฟ-5บี ลำแรกของโลก]]
* [[กองทัพอากาศไทย]]
 
== อ้างอิง ==