ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิชัยสงคราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ตำราพิชัยสงคราม''' เป็นคำที่ใช้เรียก[[หนังสือ]]หรือเอกสารที่มีการรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับ[[กลยุทธ]] [[ยุทธศาสตร์]] [[ยุทธวิธี]]การรบต่างๆ เช่นอาทิ [[การรุก]] [[การตั้งรับ]] การแปรขบวนทัพ การใช้อุบายทำลายข้าศึก เป็นต้น หนังสือจำพวกนี้ในบางแห่งมักจะมีการใส่เนื้อหาที่เป็นความเชื่อทางด้าน[[โหราศาสตร์]]เข้ามาประกอบ เช่น การดูฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพ การทำพิธีข่มขวัญข้าศึกและบำรุงขวัญฝ่ายตน ฯลฯ เนื้อหานั้นอาจอยู่ในลักษณะของ[[ร้อยแก้ว]]หรือ[[ร้อยกรอง]]ก็ได้
 
ใน[[ประเทศไทย]] ตำราพิชัยสงครามฉบับต่างๆ ที่มีการค้นพบมักเขียนเนื้อหาไว้ในรูปแบบ[[ร้อยกรอง]] เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการจดจำใจความสำคัญของแต่ละกลยุทธ เช่น กลศึกอย่างหนึ่งชื่อว่า กลพังภูผา ซึ่งมีหลักการสำคัญว่า ให้ล่อข้าศึกด้วยกำลังที่น้อยกว่าของฝ่ายเราเข้ามาในที่คับขันแล้วจึงโจมตีให้แตกพ่าย ได้บรรยายความด้วยฉันทลักษณ์ประเภทร่ายไว้ดังนี้
บรรทัด 5:
:''"กลนี้ชื่อพังภูผา แม้ศึกมาปะทะ อย่าเพ่อระเริงแรง สำแดงดุจเหนน้อย ชักคล้อยแฝงป่าเข้า ศึกเหนเราดูถูก ผูกช้างม้าออกไล่ ยอพลใหญ่กระทบ ผิรบเข้าบอไหว ให้ช้างม้าโรมรุม กลุ้มกันหักอย่าคลา อย่าช้าเร่งรุมตี ศึกแล่นหนีตามต่อย ให้ยับย่อยพรายพรัด ตัดเอาหัวโห่เล่น เต้นเริงรำสำแดงหาร ให้ศึกคร้านคร้ามกลัว ระรั้วระเสิดสัง กลศึกอันนี้ ชื่อว่าพังภูผาฯ"''<ref>[http://www.taharn.net/toom/49i05.html ตำราพิชัยสงคราม ๒๑ กลยุทธ์ไทย] (http://www.taharn.net) </ref>
 
ตำราพิชัยสงครามที่นับว่ามีชื่อเสียงมาในระดับโลก คือ [[ตำราพิชัยสงครามของซุนวู]] ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล อันอยู่ในช่วง[[ยุครณรัฐ]]ของ[[จีน]] ทั้งนี้ หนังสือพงศาวดารจีนบางเรื่องที่มีการกล่าวถึงการรบและการใช้อุบาย เช่น [[สามก๊ก]] [[ไซ่ฮั่น]] ก็อาจนับว่าเป็นตำราพิชัยสงครามได้เช่นกัน
 
เนื้อหาและหลักในตำราพิชัยสงครามต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตำราพิชัยสงครามของ[[ซุนวู]] ปัจจุบันได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในด้าน[[การบริหาร]]และด้าน[[เศรษฐกิจ]]ขององค์กรต่างๆ เป็นจำนวนมาก