ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 8:
 
จุดกำเนิดของสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลได้เริ่มต้นเมื่อ[[ฤดูใบไม้ร่วง]] ปี [[ค.ศ. 1935]] เมื่อนายทหารหลายนายของเยอรมนีทั้งในและนอกกระทรวงการต่างประเทศพยายามที่จะรักษาสมดุลในความต้องการทางการแข่งขันโดยขึ้นอยู่กับนโยบายต่างประเทศของนาซีเยอรมนี ซึ่งมีความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายที่ต้องการจะรักษาความเป็นพันธมิตรกับ[[สาธารณรัฐจีน]] และความปรารถนาส่วนตัวของฮิตเลอร์ที่จะสร้างพันธมิตรใหม่กับ[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]] เมื่อถึงเดือนตุลาคม 1935 ข้อเสนอดังกล่าวได้มีการถกเถียงกันว่าพันธมิตรที่มีเป้าหมายเพื่อที่จะต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นจะเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง[[พรรคก๊กมินตั๋ง]] นาซีเยอรมนี และจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก[[โจอาคิม วอน ริบเบนทรอบ]] เอกอัครราชทูตพิเศษและหัวหน้าของ ''Dienststelle Ribbentrop'' และ นายพล[[โอชิมา ฮิโรชิ]] ผู้ช่วยทูตทหารญี่ปุ่นใน[[กรุงเบอร์ลิน]] ซึ่งหวังว่าการรวมตัวเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีจะทำให้จีนยอมจำนนต่อญี่ปุ่นในที่สุด แต่ว่าจีนมิได้สนใจในเรื่องดังกล่าวเลย แต่ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 1935 ริบเบนทรอบและโอชิมาได้ลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล สนธิสัญญาเบื้องต้นได้ออกมาในตอนปลายเดือนพฤศจิกายน 1935 โดยเชิญให้อังกฤษ อิตาลี จีนและโปแลนด์เข้าร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ด้วยความวิตกกังวลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี Konstantin von Neurath และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม จอมพล Werner von Blomberg มีว่าสนธิสัญญาดังกล่าวอาจจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น รวมไปถึงความยุ่งยากในญี่ปุ่นหลังจากการก่อรัฐประหารในวันที่ [[26 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1936]] แต่ไม่สำเร็จ ทำให้สนธิสัญญาดังกล่าวถูกระงับไปเป็นเวลาเกือบหนึ่งปี เมื่อถึงฤดูร้อนแห่งปี 1936 อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของกำลังทหารในคณะรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้งเยอรมนีและญี่ปุ่นต่างก็เกรงพันธมิตรระหว่างฝรั่งเศส-สหภาพโซเวียต และความปรารถนาของฮิตเลอร์ในด้านนโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเชื่อมั่นว่าถ้าหากสามารถดึงอังกฤษเข้ามาเป็นพันธมิตรได้ สนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลก็จะฟื้นขึ้นมาอีก สนธิสัญญาดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ในเบื้องต้นในวันที่ [[23 ตุลาคม]] 1936 และลงนามเมื่อ [[25 พฤศจิกายน]] 1936 แต่ว่าเยอรมนีก็ยังต้องการที่จะรักษาสัมพันธไมตรีกับสหภาพโซเวียตต่อไป ดังนั้นตัวสนธิสัญญาจึงได้กล่าวถึงเฉพาะองค์การคอมมิวนิสต์สากล แต่ทว่าในข้อตกลงลับที่ได้เขียนชึ้นมานั้นได้กล่าวว่าถ้าเกิดสงครามระหว่างประเทศหนึ่งประเทศใดกับสหภาพโซเวียตขึ้น ประเทศผู้ลงนามที่เหลือจะวางตัวเป็นกลางจนกระทั่งสงครามยุติ
 
== ข้อตกลง ==
 
ในกรณีที่เกิดสงครามระหว่างสหภาพโซเวียตกับเยอรมนีหรือญี่ปุ่น ทั้งสองประเทศจะตกลงใจกันปรึกษาหารือถึงแนวทาง "การรักษาแนวคิดดั้งเดิมของตน" ทั้งสองฝ่ายยังตกลงอีกด้วยว่าทั้งสองฝ่ายจะไม่ตกลงใจทำสนธิสัญญาทางการเมืองกับสหภาพโซเวียต และเยอรมนีจะต้องให้การรับรองแก่[[แมนจูกัว]]
 
== กลุ่มประเทศผู้ลงนาม เมื่อปี ค.ศ. 1941 ==