ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pastman (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งต้องการเก็บกวาดด้วยสจห.
ธนูเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เก็บกวาด}}
==ปฐมวัย==
พระยาเทวาธิราช นามเดิม หม่อมราชวงศ์โป้ย ( ภายหลังใช้นามว่า ม.ร.ว.เทวาธิราช ป.มาลากุล จนอนิจกรรม ) เกิดในราชสกุล มาลากุล เมื่อวันที่ ด้วยเหตุนี้ คุณแม่จึงเป็นผู้หญิงไทยรุ่นแรกที่ได้ไปเรียนที่ญี่ปุ่น พร้อมกับนักเรียนหญิงรุ่นราวคราวเดียวกันอีก 3 ท่าน คือ
คุณหญิงภรตราชา (ขจร อิศรเสนา) คุณนวล และคุณหลี
 
พระยาเทวาธิราช นามเดิม หม่อมราชวงศ์โป้ย ( ภายหลังใช้นามว่า ม.ร.ว.เทวาธิราช ป.มาลากุล จนอนิจกรรม ) เกิดในราชสกุล มาลากุล เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2432 เป็นโอรสของ พลเรือโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ และ หม่อมสุ่น มีพี่น้องร่วมพระบิดา ดังรายนามต่อไปนี้
ส่วนนักเรียนชายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปด้วยพร้อมกันอีกกลุ่มหนึ่งนั้นก็มี 4 ท่านเช่นกัน คือ หม่อมเจ้า
*เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนราธิบดี
พงศ์ภูวนารถพระยาเทวาธิราช (ม.ล. แปด มาลากุล) พระยานรเทพปรีดา (เจริญ สวัสดิ์ชูโต)
*เจ้าจอม ม.ร.ว.แป้น มาลากุล
และหลวงประภาศโกศัยวิทย์ (เสริม ภูมิรัตน)ซึ่งแต่ละท่านในขณะนั้นยังไม่ได้มียศถาบรรดาศักดิ์อะไรทั้งสิ้น
*ท้าววรคณานันท์ ( ม.ร.ว.ปั้ม มาลากุล )
ต่างก็กำลังเป็นหนุ่มเหน้ากันเต็มตัว
*ท้าววรคณานันท์ ( ม.ร.ว.แป้ม มาลากุล )
*เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ( ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล )
*เจ้าจอม ม.ร.ว.แป้ว มาลากุล
*ท้าวสมศักดิ์ ( ม.ร.ว.ปุย มาลากุล )
*พระยาเทวาธิราช
*พระยาชาติเดชอุดม ( ม.ร.ว.โป๊ะ มาลากุล )
*ม.ร.ว.เปี๊ยะ มาลากุล
*ม.ร.ว.ปึก มาลากุล
 
ในวัยเยาว์ พระบิดาได้ถวายตัวพร้อมกับพี่น้องทั้งหมด ให้อยู่ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบรมมหาราชวัง ได้ทรงพระกรุณาฯ ส่งไปศึกษาในขั้นแรก ที่โรงเรียนราชวิทยาลัย และต่อมา ที่ Higher Technological School ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยส่งไปพร้อมกับบุคคล ดังมีรายพระนาม และ รายนามต่อไปนี้
*ม.จ.พงษ์ภูวนารถ ทวีวงศ์ ในกรมหมื่นภูธเรศธำรงศํกดิ์
*ม.ร.ว.โป้ย มาลากุล
*นายเจริญ สวัสดิ-ชูโต ( ภายหลังเป็น พระยานรเทพปรีดา )
*นายเสริม ภูมิรัตน ( ภายหลังเป็น หลวงประภาศโกศัยวิทย์ )
*นางสาวขจร ( ท่านผู้หญิงขจร ภะรตราชา )
*นางสาวพิศ ( นางประภาศโกศัยวิทย์ พิศ ภูมิรัตน )
*นางสาวนวล
*นางสาวหลี ( คุณศรีนาฏ บูรณะฤกษ์ )
ทั้งหมดนี้นับเป็นนักเรียนญี่ปุ่น รุ่นแรก ของประเทศไทย
 
เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว เดินทางกลับมาประเทศไทยในปลายรัชกาลที่ 5 เริ่มฝึกราชการในกรมพระราชพิธี กระทรวงวัง จนถึง พ.ศ.2453 ในรัชกาลที่ 6 จึงได้รับราชการ ทรงพระกรุณาฯพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น จมื่นศิริวังรัตน์ ตำแหน่งกรมวังในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และรับราชการเรื่อยมามีความเจริญโดยลำดับ จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "พระยาเทวาธิราช" ในที่สุด
 
==ตำแหน่งในราชการ==
*พ.ศ.2453 เป็นเจ้ากรมพระตำรวจ ในราชสำนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
*พ.ศ.2463 เป็นผู้ช่วยสมุหพระราชพิธี ในกระทรวงวัง
*พ.ศ.2470 เป็นผู้ช่วยสมุหพระราชพิธี และ เจ้ากรมกรมวัง ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
*พ.ศ.2471 เป็นสมุหพระราชพิธี
*พ.ศ.2476 เป็นสมุหพระราชพิธี และทำการในตำแหน่งเจ้ากรม กองพระราชพิธี
*พ.ศ.2478 เป็นหัวหน้ากองวัง และ พระราชพิธี สำนักพระราชวัง
*พ.ศ.2479 เป็นสมุหพระราชพิธี กรรมการพระราชวัง เพื่อปรึกษากิจการพระราชสำนัก
*พ.ศ.2486 เป็นข้าราชการพลเรื่อนในพระองค์ชั้นพิเศษ
*พ.ศ.2492 เป็นสมุหพระราชพิธี และที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง
 
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า เกือบครึ่งชีวิตในเวลาราชการ ของพระยาเทวาธิราช ท่านได้ครองตำแหน่งสมุหพระราชพิธี ยาวนานถึง 3 แผ่นดิน ตราบจนเกษียณอายุ ออกรับพระราชทานบำนาญ เมื่อ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2501 รวมอายุเวลาราชการ 47 ปี 6 เดือน เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถและรอบรู้ในเรื่องพิธีการในพระราชสำนัก อันจะหาผู้เสมอได้ยาก ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ , ปถมาภรณ์ช้างเผือก , ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ , และเหรียญรัตนาภรณ์ ในรัชกาลที่ 6-7-8-9 เป็นเกียรติยศ
 
==ราชการพิเศษ==
*พ.ศ.2478 เป็นประธานกรรมการปรึกษากิจการระหว่างพระราชสำนัก และ กรมศิลปากร
*พ.ศ.2478 เป็นกรรมการสอบแข่งขันส่งนักเรียนไปต่างประเทศ
*พ.ศ.2478 เป็นกรรมการพิจารณาทรัพย์สิน สำนักพระราชวัง และ กรรมการพิจารณาหลักสูตรประถมและมัธยมศึกษา
*พ.ศ.2485 เป็นกรรมการชำระปทานุกรม
*พ.ศ.2486 เป็นกรรมการที่ปรึกษาวัฒนธรรม เรื่อง ชีวิตในบ้าน
*พ.ศ.2490 เป็นกรรมการสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ
*พ.ศ.2491 เป็นกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
*พ.ศ.2495 เป็นประธานกรรมการดำเนินงานพระเมรุ พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรทร
*พ.ศ.2496 เป็นประธานกรรมการพิจารณาจัดวางแผนผังดัดแปลง และ ซ่อมทำพระราชฐาน
 
ในราชการพิเศษที่ได้กล่าวมานี้ ที่สำคัญที่สุด คือ ในปี พ.ศ.2493 ได้เป็นผู้อำนวยการ งานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และ งานพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเทียร ได้มีโอกาสถวายน้ำจากพระเต้าแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วย
 
==งานอดิเรก==
 
นอกจากหน้าที่ในพระราชสำนักแล้ว ยามว่าง พระยาเทวาธิราช จะเพลิดเพลินอยู่กับการสะสมวัตถุโบราณ และ หาความรู้ในหนังสือ จากห้องสมุด ภายในบ้านของท่าน ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ถนนประแจจีน ( บ้านเลขที่ 408 สี่แยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี ในปัจจุบัน )และเขียนบทความสารคดีต่างๆ เกี่ยวกับประเพณีทั้งใน-นอกวัง อาทิ
*ราชาภิสดุดี
*ประเพณีวัง
*เจ้า
*เบญจราชกกุธภัณฑ์ และ ราชูปโภค
*วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
*ประเพณีการสมรส
*เรื่องเรือนหอ
*เพชร-พลอย
*เครื่องประดับของไทย
*ช่าง 10 หมู่
*บทสนทนา เรื่อง "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" ฯลฯ
 
ที่สำคัญที่สุด คือได้รับพระเมตตา จาก สมเด็จฯเจ้าฟ้าฯกรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ให้เขียนจดหมายทูลถามความรู้ โต้ตอบกับพระองค์ท่าน เป็นเวลาหลายปี ซึ่งมีบุคคลเพียงไม่กี่ท่าน ที่จะได้รับพระเมตตาเช่นนี้ นอกจากการแสวงหาความรู้จากหนังสือแล้ว พระยาเทวาธิราช ยังมีความสามารถในการถ่ายภาพนิ่ง และ ภาพยนตร์ ภายในตึกของท่านจะมีห้องสำหรับล้างฟิล์ม และห้องฉายภาพยนตร์ด้วย เรื่องที่ท่านกำกับ มีอาทิ เจ้าหญิงกุณฑลทิพย์ ฯลฯ
 
==ครอบครัว==
 
ในปี พ.ศ.2458 ท่านได้ทำการสมรส กับ คุณหญิงเผื่อน มาลากุล ( สกุลเดิม บุนนาค ) มีบุตร-ธิดา รวม 9 ท่าน คือ
*ม.ล.ปุณฑริก ชุมสาย
*ม.ล.ปัณยา มาลากุล
*ม.ล.ปิลันธน์ มาลากุล
*ม.ล.ปานีย์ เพชรไทย
*ม.ล.ปฤศนี ศรีศุภอรรถ
*ม.ล.ปัทมาวดี มาลากุล
*ม.ล.ปารวดี กันภัย
*ม.ล.ปราลี ประสมทรัพย์
*ม.ล.โปรพ มาลากุล
 
บั้นปลายชีวิต พระยาเทวาธิราช หรือ ม.ร.ว.เทวาธิราช ป.มาลากุล ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ได้ทำการรักษาเรื่อยมา อาการมีแต่ทรงและทรุด จนในที่สุด ก็ถึงอนิจกรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2510 สิริรวมอายุได้ 78 ปี
 
==อ้างอิง==
*ปกิณกะ ของ ม.ร.ว.เทวาธิราช ป.มาลากุล ( พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว.เทวาธิราช ป.มาลากุล ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2510 )