ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พญาสุเรนทร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
พญาสุเรนทร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์''' มีนามเดิมว่า เทศ เกิดใน[[ราชินิกุล]] "[[บุนนาค]]" ในสมัย[[รัชกาลที่ ๓]] เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ เป็นบุตร[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์]] (ดิศ บุนนาค) กับหม่อมหรุ่น เข้ารับราชการในรัชกาลที่ ๔ เป็นนายรองไชยขรรค์มหาดเล็ก แล้วเป็นนายสรรพวิชัยหุ้มแพรมหาดเล็ก จากนั้นเป็นพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองเพชรบุรี
 
ในรัชกาลที่ ๕ ได้เลื่อนเป็นพระยาสุรินทรฤๅชัย ผู้ว่าราชการเมือง[[เพชรบุรี]] และราชการจรในเมือง[[ราชบุรี]] ดูแลการทำโทรเลขทางเมืองทวายและตัดทาง ได้รับความลำบากตรากตรำเป็นอันมาก รับราชการได้เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าหลวง[[เทศาภิบาล]]มณฑลราชบุรี เป็นผู้ที่มีความวิริยอุตสาหะ และมีความจงรักภักดียิ่ง จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ดำรง[[ศักดินา]] ๑๐,๐๐๐ ไร่ ได้รับพระราชทาน[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์]][[ปฐมจุลจอมเกล้า]] เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐
บรรทัด 5:
เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ) สมรสกับท่านผู้หญิงอู่ ธิดาพระยาภักดีนฤบดินทร์ (กุ้ง [[วงศาโรจน์]]) มีบุตรธิดา ๑๔ คน ที่สำคัญได้แก่
 
-พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน) ใน[[รัชกาลที่ ๖]]
-พระยาสุรินทรฤๅชัย (เทียม) ในรัชกาลที่ ๕
-พระสัจจาภิรมย์ (แถบ) ในรัชกาลที่ ๕
บรรทัด 33:
บุตรที่เป็นมหาดเล็กได้แก่ พุ่ม อั้ง พ่วง อุ้น หาด อ่อง หอม อัด เหลี่ยม ชิน หยัด ทุ้ย เป็นต้น
 
ธิดาเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ที่เกิดจากภรรยาอื่น และได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ ได้แก่ ท่านเจ้าจอมแก้ว และท่านเจ้าจอมแส ธิดาชื่อ หวน ได้เป็น หม่อมห้ามใน[[พระเจ้าวรวงศ์เธอวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัติจาตุรนต์]] [[ราชสกุล]] [[จักรพันธุ์]] ธิดาชื่อ คุณหญิงกุ่ม เป็นภรรยาพระยาชัยสุรินทร์ (ตาล บุนนาค) และธิดาชื่อ คุณหญิงขลิบ เป็นภรรยา[[พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์]] (ทองคำ [[เศวตศิลา]]) เป็นต้น
เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) มีบุตรธิดารวม ๖๒ คน ธิดา ๗ คนได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ บุตรหลายคนรับราชการ ปฏิบัติหน้าที่ตามหัวเมืองโดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่บิดาเคยรับราชการมาก่อน เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ) ถึงอสัญกรรม ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ อายุ ๖๖ ปี