ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
== การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ==
[[ภาพ:4tigers.jpg|thumb|300px|4 ทหารเสือ (จากซ้าย) พ.อ.พระยาทรงสุรเดช, พ.อ.[[พระยาพหลพลพยุหเสนา]], พ.อ.[[พระยาฤทธิ์อัคเนย์]] และ พ.ท.[[พระประศาสน์พิทยายุทธ]]]]
พระยาทรงสุรเดชได้บันทึกจากความทรงจำถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ช่วงนี้ไว้อย่างละเอียด ซึ่งใน[[การปฏิวัติสยาม|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] นั้น พระยาทรงสุรเดชเป็นผู้ที่เชื่อมให้นายทหารระดับสูงที่มีแนวคิดเดียวกัน เช่น [[พระยาพหลพลพยุหเสนา]] เข้าร่วมกับ[[คณะราษฎร์ราษฎร]] ซึ่งตัวพระยาทรงสุรเดชเองเคยพูดว่า ''"พวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แทบทั้งหมด มุ่งแต่เพียงทำตัวให้โปรดปรานไว้เนื้อเชื่อใจจากพระเจ้าแผ่นดินไม่ว่าด้วยวิธีใด ตลอดทั้งวิธีที่ต้องสละเกียรติยศด้วย..."''
 
ในแผนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น การประชุมใน[[ประเทศไทย]] คณะราษฎร์ได้ประชุมกัน 2 ครั้ง ครั้งแรกประชุมกันเพียงไม่กี่เดือนก่อนลงมือ ที่บ้านพักของพระยาทรงสุรเดชที่[[สะพานควาย]] และครั้งที่ 2 ที่บ้านพักของ ร้อยโท[[ประยูร ภมรมนตรี ]] ที่[[ถนนเศรษฐศิริ]] ซึ่งพระยาทรงสุรเดชในตอนแรกนั้นได้เสนอแผนการว่า ใช้ทหารยึด[[พระที่นั่งอัมพรสถาน]]ซึ่งเป็นที่ประทับของ[[รัชกาลที่ 7|รัชกาลที่ 7]] ในเวลากลางคืน และขอถวายความอารักขาแก่ในหลวงในฐานองค์ประกัน แล้วบังคับให้ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทย แต่แผนนี้มีผู้ไม่เห็นด้วย เพราะระหว่างที่บุกเข้าไปอาจเกิดการปะทะกันกับทหารมหาดเล็กจนถึงขึ้นนองเลือด และผู้ก่อการได้ตกลงในหลักการของการปฏิวัติครั้งนี้คือ จะต้องพยายามมิให้เกิดการนองเลือด จะต้องไม่กระเทือนต่อพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์เกินควร และตกลงว่าจะทำการปฏิวัติในช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับที่[[พระราชวังไกลกังวล]]
 
การประชุมกันหนที่ 2 ที่บ้านของร้อยโทประยูร ในวันที่ [[12 มิถุนายน]] พระยาทรงสุรเดชจึงเสนอแผนการทั้งหมด 3 แผน
บรรทัด 24:
* แผนที่ 1 ให้นัดประชุมบรรดานายทหารที่กรมเสนาธิการ หรือที่กรมยุทธศึกษา หรือที่ศาลาว่าการกลาโหม เพื่อประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ผู้ใดไม่เห็นด้วยก็จะเข้าควบคุมตัวไว้ ในระหว่างนั้นคณะผู้ก่อการฝ่ายทหารเรือและพลเรือนแยกย้ายกันไปคุมตัวเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มากักตัวไว้ใน[[พระที่นั่งอนันตสมาคม]]หรือบนเรือรบ
 
* แผนที่ 2 ให้จัดส่งหน่วยต่างๆต่าง ๆ ไปคุมตามวังเจ้านายและข้าราชการคนสำคัญ ในขณะเดียวกันให้จัดหน่วยออกทำการตัดการสื่อสารติดต่อ เช่น [[โทรเลข]] [[โทรศัพท์]] และให้จัดการรวบรวมกำลังทหารไปชุมนุม ณ [[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] โดยวิธีออกคำสั่งลวงในตอนเช้าตรู่แล้วประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อหน้าทหารเหล่านั้น และจัดนายทหารฝ่ายก่อการเข้าควบคุมบังคับบัญชาทหารเหล่านั้นแทนผู้บังคับบัญชาคนเดิมแล้ว ทหารก็คงจะฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาคนใหม่ต่อไป การณ์ก็คงสำเร็จลงโดยเรียบร้อยโดยมิต้องมีการต่อสู้จนเลือดนองแผ่นดิน
 
* แผนที่ 3 ให้หน่วยทหารหนึ่งจู่โจมเข้าไปใน[[วังบางขุนพรหม]] และเข้าจับกุมพระองค์[[กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]]มาประทับที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อเป็นประกันความปลอดภัยของคณะราษฎร และให้ดำเนินการอย่างอื่น ๆ ตามที่กล่าวแล้วในแผนที่ 2