ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศสยาม เมษายน พ.ศ. 2476"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476''' เป็น[[รัฐประหาร]]ครั้งแรกของ[[ประเทศไทย]] (บางข้อมูลไม่นับเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการ[[รัฐประหาร]]) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2476]] โดยที่[[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] นายกรัฐมนตรีได้ประกาศ[[พระราชกฤษฎีกา]]ปิด[[สภาผู้แทนราษฎร]] พร้อมงดใช้[[รัฐธรรมนูญ]]บางมาตรา
 
เหตุสืบเนื่องจากการนำเสนอเค้าโครง[[เศรษฐกิจ]]ของนาย[[ปรีดี พนมยงค์]] ฉบับที่เรียกว่า "สมุดปกเหลือง" ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของ[[คอมมิวนิสต์]] บ้างถึงกับกล่าวว่าถ้านายปรีดีไม่ลอกมาจาก[[สตาลิน]] สตาลินก็ต้องลอกมาจากนายปรีดี ก่อให้เกิดความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในหมู่[[คณะราษฎร์ราษฎร]]ด้วยกันเองและบรรดาข้าราชการ ซึ่ง[[พระยาทรงสุรเดช]] 1 ใน 4 ทหารเสือผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้นำ[[พระยาฤทธิ์อัคเนย์]] และ [[พระประศาสน์พิทยายุทธ]] ทหารเสืออีก 2 คน สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ ฯ แต่ในส่วนของบรรดานายทหารคณะราษฎร์ส่วนใหญ่ยังคงให้การสนับสนุนนายปรีดีอยู่
 
สำหรับตัวพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเองนั้น ไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ คณะนายทหารที่สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ ฯ จึงขู่ฝ่ายที่สนับสนุนนายปรีดีว่า จะพกปืนเข้าที่ประชุมสภา ฯ และยกพวกไปล้อมบ้านพักของนายปรีดี เป็นเหตุให้ต้องใช้พระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ '''รัฐประหารเงียบ''' พร้อมบีบบังคับนายปรีดีไปที่[[ประเทศฝรั่งเศส]] และได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ออกมาใช้ด้วย มีการกวาดล้างจับกุมชาว[[เวียดนาม]]ที่สงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันคณะกรรมการ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย|พรรคคอมมิวนิสต์สยาม]]ก็ถูกจับและถูกจำคุก ทั้งนี้มีบันทึกที่ไม่เป็นทางการว่า พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ พระยาทรงสุรเดช ร่วมมือกันในการขจัดบทบาททางการเมืองของคนสำคัญในคณะราษฏร์เอง อาทิ นายปรีดี พนมยงค์ พันโท [[แปลก พิบูลสงคราม|หลวงพิบูลสงคราม]] เป็นต้น