ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงละครเทศกาลไบรอยท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Loveless (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: de:Richard-Wagner-Festspielhaus
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{ป้ายเตือนปีคศ}}
{{กล่องข้อมูล สิ่งก่อสร้าง
เส้น 34 ⟶ 36:
วากเนอร์เลือกเบย์รึทด้วยเหตุผลหลายประการ: โรงอุปรากรสร้างสำหรับ[[มากราฟเฟรดริคแห่งเบย์รึท]]และภรรยา[[ฟรีเดอริเค โซฟี วิลเฮลมีนแห่งเบย์รึท]] พระขนิษฐาของ[[พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย]] ในปี [[ค.ศ. 1747]] ซึ่งมีระบบเสียงดีและเหมาะกับความคิดของวากเนอร์ ประการที่สองเมืองเบย์รึทอยู่นอกบริเวณที่วากเนอร์ไม่สามารถแสดงอุปรากรของตนเองเพราะได้ขายลิขสิทธิ์ไปหมดเมื่อปี [[ค.ศ. 1864]] เพราะปัญหาทางการเงิน ประการสุดท้ายเบย์รึทขณะนั้นไม่มีวัฒนธรรมที่เด่นที่จะเป็นคู่แข่งได้ทำให้วากเนอร์เป็นที่เด่นโดยไม่มีใครลบได้ เมื่อเทศกาลอุปรากรเริ่มขึ้นก็จะกลายเป็นจุดสนใจทาง[[วัฒนธรรม]]ของเบย์รึท
 
วากเนอร์นำการออกแบบมาจาก[[สถาปนิก]][[กอดฟรีด เซมเพอร์]]ซึ่งวากเนอร์มิได้รับการอนุญาติอนุญาต แบบของเซมเพอร์เดิมออกสำหรับโรงอุปรากรที่[[มิวนิค]] ที่สร้างภายใต้การควบคุมของวากเนอร์ ทุนการก่อสร้างส่วนใหญ่มาจากพระเจ้าลุดวิกที่ 2 วากเนอร์วางศิลาฤกษ์ในวันเกิดของตนเองเมื่อวันที่ [[22 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 1872]] สิ่งก่อสร้างเปิดเป็นครั้งแรกด้วยการแสดงอุปรากร “[[แหวนแห่งนิเบลลุงเก็น]]” หรือเรืยกสั้นๆ ว่า “แหวน” (Der Ring des Nibelungen) ทั้งสี่องค์อย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรก (ความยาวทั้งหมดประมาณ 15 ชั่วโมง) ตั้งแต่วันที่ [[13 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1876]] ถึงวันที่ [[17 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1876]] อุปรากรเรื่องนี้มักจะแสดงทั้งชุดในงานเทศกาลอุปรากรที่เบย์รึท
 
ด้านหน้าของโรงละครเท่านั้นที่มีลักษณะการตกแต่งที่พบกันในสมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนั้นภายนอกก็มีลักษณะเรียบง่ายไม่มีการตกแต่งเท่าใดนักนอกไปจากอิฐที่ก็มิได้มีการตกแต่ง
 
ลักษณะที่เด่นของโรงละครแห่งนี้คือที่นั่งของหลุม[[วงออร์เคสตรา]] (orchestra pit) ซึ่งตั้งลึกเข้าไปภายใต้เวทีและคลุมด้วยเพดานบางๆ เพื่อที่จะซ่อนวงดนตรีจากผู้ชม ซึ่งเป็นสิ่งที่วากเนอร์เน้นเพื่อที่จะให้ผู้ชมสนใจแต่เฉพาะอุปรากรบนเวทีแทนที่จะมี[[ผู้กำกับดนตรื]] (Conductor) ที่โบกบาทองทำให้เสียสมาธิ นอกจากนั้นการออกแบบก็ยังพยายามแก้ความสมดุลย์สมดุลระหว่างนักร้องและออร์เคสตราซึ่งทำให้เป็นเสียงที่ออกมาอย่างที่วากเนอร์ต้องการ แต่การจัดระบบเสียงเช่นนี้ทำความลำบากให้แก่ผู้กำกับดนตรืเป็นอันมากแม้ว่าจะเป็นผู้กำกับที่มีชื่อเสียงก็ตาม นอกจากผู้ชมที่ถูกซ่อนอยู่ในความมืดแล้ว เสียงสะท้อนกังวานทำให้การประสานเสียงระหว่างวงออร์เคสตรากับนักร้องเป็นไปได้ยาก ฉนั้นผู้กำกับดนตรืจึงจำต้องไม่สนใจสัญญาณจากนักร้อง นอกจากนั้นผู้กำกับดนตรืยังพบว่าการกำกับดนตรีที่เบย์รึทเป็นงานที่ท้าทายความสามารถมากที่สุดในอาชีพของตนเองงานหนึ่ง
 
ลักษณะที่เด่นทางสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่งคือการใช้เพดานโค้งซ้อน (proscenium) ซึ่งทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าโรงละครลึกกว่าความเป็นจริง เพดานโค้งซ้อนและหลุมสำหรับวงออร์เคสตราเกือบใต้เวทีทำให้เกิดบรรยากาศที่วากเนอร์เรียกว่า “เหวแห่งความลึกลับ” (mystic gulf) ระหว่างผู้ชมและเวที อันทำให้การแสดงที่ออกมาบนเวทีเหมือนฝันซึ่งเป็นการย้ำความลึกลับของเนื้อหาและบรรยากาศของอุปรากรที่วากเนอร์ต้องการ
เส้น 44 ⟶ 46:
==อ้างอิง==
* สปอตต์ส, เฟรดดริค, “เบย์รึท: ประวัติของเทศกาลวากเนอร์”, นิวเฮเวนและลอนดอน: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล, ค.ศ. 1994
* เบอร์ลิงเกม, เอ็ดเวิร์ด แอล, “ศิลปะ, ชีวิต, และ ทฤษฎีเกี่ยวกับริชาร์ด วากเนอร์”, นิวยอร์คนิวยอร์ก, เฮนรี โฮลท และบริษัท, ค.ศ. 1875 [http://historical.library.cornell.edu/cgi-bin/cul.cdl/docviewer?did=cdl137&view=50&frames=0&seq=9 ออนไลน์]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เส้น 52 ⟶ 54:
<center>
<gallery>
Imageภาพ:L-Bayrethertheater.png|ผัง
Imageภาพ:Festspielhaus Bayreuth 1900.jpg|[[ค.ศ. 1900]]
Imageภาพ:Bayreuth-Rheingold-1876.jpg|ภายใน [[ค.ศ. 1876]]
Imageภาพ:Festspielhaus Bayreuth Innen.JPG|ภายใน
</gallery>
</center>