ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
add english wikilink
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพ:VallabhaM.gif|thumb|200px|ตราวัลลภาภรณ์ ฝ่ายหน้า]]
'''เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์''' (The Vallabhabhorn order) หรือ ตราวัลลภาภรณ์ เป็น[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย|เครื่องราชอิสริยาภรณ์]]อันเป็นบำเหน็จในพระองค์ ที่สร้างขึ้นโดย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อวันที่ [[22 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2461]] พระราชทานให้แก่ผู้มีหน้าที่อยู่ประจำใกล้ชิดพรองค์ในพระราชสำนัก โดยตั้งใจรับราชการด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่พอพระราชหฤทัย โดยพระราชทานให้ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์จัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติเป็นลำดับที่ 20 ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2536/D/029/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย], เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒๙ง ฉบับพิเศษ, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๑ </ref> ปัจจุบัน พ้นสมัยพระราชทานแล้ว
 
== ประวัติ ==
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชปรารภว่า [[ตราวชิรมาลา]] ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานผู้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมีความดีความชอบเฉพาะพระองค์นั้น บางคนเป็นผู้ที่มีหน้าที่ประจำำประจำอยู่นอกพระราชสำนัก และได้รับใช้ราชการชั่วคราว แต่คนที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดพระองค์ภายในพระราชสำนักและตั้งใจสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่พอพระราชหฤทัยนั้น ก็สมควรจะมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์พระราชทานให้สมกับความดีความชอบนอกเหนือจาก ตราวชิรมาลา โดยพระราชทานนามว่า "'''ตราวัลลภาภรณ์'''"
 
ในระยะแรกนั้น พระองค์พระราชทานตราวัลลภาภรณ์ให้แก่พระราชวงศ์และข้าราชการฝ่ายหน้าทั้งสิ้น ต่อมา พระองค์ทรงพระราชคำนึงความดีความชอบของฝ่ายในที่สมควรได้รับพระราชทานตรานี้เช่นกัน ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี]] (พระยศขณะนั้น) ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะทรงพระดำริห์ว่า ฝ่ายในผู้ใดเป็นผู้สมควรจะได้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ชนิดสำหรับฝ่ายใน ก็สุดแล้วแต่พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีจะทรงเห็นเป็นการสมควรและทรงประทานได้<ref name="เพิ่มเติม">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2463/A/345.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ เพิ่มเติมข้อความในพระราชบัญญัติตราวัลละภาภรณ์ พ.ศ. ๒๔๖๑], เล่ม ๓๗, ตอน ๐ก, ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓, หน้า ๓๔๕ </ref>
 
ต่อมา เมื่อพระองค์ทรงถอนหมั้นกับพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีแล้ว พระองค์ก็ถอนสิทธิที่ให้พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีทรงประทานตราวัลลภาภรณ์แก่ฝ่ายหน้าได้ลงด้วย โดยพระองค์มีพระราชดำริที่จะพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระราชินีทรงถือสิทธินั้นสนองพระองค์ ก็สุดแล้วแต่พระองค์จะทรงพระราชดำริเห็นสมควร<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2463/A/437.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ ถอนสิทธิที่พระราชทานไว้แก่พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี], เล่ม ๓๗, ตอน ๐ก, ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๓, หน้า ๔๓๗ </ref>
 
== ลักษณะของเครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ ==
[[ภาพ:VallabhaW.gif|thumb|200px|ตราวัลลภาภรณ์ ฝ่ายใน]]
ตราวัลลภาภรณ์ มีลักษณะเป็นเรือนเงิน ทำเป็นรูปกลีบดอกบัวแหลมยื่นออกมาสี่แฉก ในแฉกหนึ่ง ๆ จำหลักเป็นลายกลีบซ้อนกันสองกลีบ มีเกสรจำหลักโปร่งแทรกสี่ทิศสลับกับกลีบบัวแฉก ด้านหน้ามีอักษรพระบรมนามาภิไธย ร.ร. กับ เลข ๖ หมายความว่า สมเด็จพระรามราชาธิบดี รัชกาลที่ 6 จำหลักเป็นเพชรโสร่งประดับลอยเด่นอยู่ในวงกลมกลางดวงตรา ด้านหลังเป็นรูปวชิราวุธดุลลอยขึ้นมาจากพื้นเงินเกลี้ยง ห้อยแพรแถบสีครามแก่ มีริ้วขาวริ้วแดงเป็นลวดอยู่ริม เหมือนแพรแถบ[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมหาวชิรมงกุฎ]] สำหรับประดับเสื้อที่อกข้างซ้าย<ref name="พรบ">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/A/413.PDF พระราชบัญญัติตราวัลละภาภรณ์], เล่ม ๓๕, ตอน ๐ ก, ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๔๑๓ </ref>
 
ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์สำหรับพระราชทานฝ่ายในนั้น แถบแพรจะผูกเป็นเงื่อนหูกระต่ายเช่นเดียวกับเงื่อนของ[[เหรียญรัตนาภรณ์]]สำหรับพระราชทานฝ่ายใน<ref name="เพิ่มเติม"/>