ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงธัญพืช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: eo:Agroglifoj
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพ:Crop34.jpg|thumb|วงข้าวโพดล้ม หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ครอปเซอร์เคิล]]
 
เส้น 24 ⟶ 25:
 
คอลลิน แอนดริวส์ (Colin Andrews) ภาพจาก BBC
มีอีกทฤษฎีหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เป็นของด๊อกเตอร์ คอลลิน แอนดริวส์ (Colin Andrews) นักวิทยาศาสตร์อังกฤษซึ่งศึกษาครอปเซอร์เคิลมาเป็นเวลา 17 ปี ในปี 2000 แอนดริวเปิดเผยผลวิจัยซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก[[มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์]]ว่า ราวๆ ร้อยละ 80 ของครอปเซอร์เคิลเป็นฝีมือของมนุษย์ ครอปเซอร์เคิลเหล่านี้ จะมีรูปทรงซับซ้อนและวิจิตรพิสดารส่วนที่เหลือซึ่งมีรูปทรงง่ายๆนั้น เขาเชื่อว่ามันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ[[สนามแม่เหล็ก]]ในบริเวณนั้น ซึ่งทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าและกระแสไฟนี้เองเป็นตัวการทำให้พืชล้มลง งานวิจัยที่พบว่าครอปเซอร์เคิลบางแห่งทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเช่นไมโครโฟน หรือเครื่องบันทึกเสียงถูกรบกวนจนใช้การไม่ได้ รวมทั้งผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นจะรู้สึกปวดศรีษะศีรษะหรือมีอาการคลื่นไส้ สนับสนุนทฤษฎีนี้ นักวิจัยบางคนเชื่อว่ามันเกิดจากพลังงานที่ตกค้าง
 
แต่ในปี 2000 ชายชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งได้ออกมาเปิดเผยตนเองว่าเป็นผู้สร้างครอปเซอร์เคิลที่วิจิตรพิสดารหลายสิบแห่งในภาคใต้ของอังกฤษมากว่า 11 ปี พวกเขาเรียกตนเองว่า '''Circlemakers''' โดยใช้คอมพิวเตอร์ร่างรูปแบบก่อน พวกเขาได้รับเชิญจากสื่อมวลชนให้สาธิตการสร้างครอปเซอร์เคิลที่มีความซับซ้อนหลายครั้ง ซึ่งพวกเขาทำได้จริงๆ และก็ไม่ได้ใช้ไมโครเวฟ ปัจจุบันพวกเขามีเว็บไซต์ที่แสดงผลงานและเสนอข่าวสารเกี่ยวกับครอปเซอร์เคิล