ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปิดกั้นเบอร์ลิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kie (คุย | ส่วนร่วม)
Kie (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 123:
ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของปฏิบัติการขนส่งทางอากาศทำให้สหภาพโซเวียตต้องอับอาย และ"พาเหรดวันอีสเตอร์"ก็เป็นเสมือน"ฟางเส้นสุดท้าย" วันที่ [[25 เมษายน]] [[ค.ศ. 1949]] หน่วยข่าวของรัสเซียรายงานว่าโซเวียตมีความเต็มใจที่จะยกเลิกการปิดล้อม วันต่อมา กระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯกล่าวว่าหนทางที่จะยกเลิกการปิดล้อมดูชัดเจน ไม่นานหลังจากนั้น ประเทศมหาอำนาจทั้งสี่ได้เผชิญหน้าเจรจากันอย่างเคร่งเครียด หลังจากนั้นจึงได้ข้อยุติ วันที่ 4 พฤษภาคม ฝ่ายพันธมิตรประกาศว่าจะยกเลิกการปิดล้อมให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 8 วัน
 
การปิดล้อมของโซเวียตสิ้นสุดลงภายในหนึ่งนาทีหลังเที่ยงคืนเมื่อวันที่ [[12 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 1949]] กองทัพรถของอังกฤษเคลื่อนตัวเข้าสู่เบอร์ลินในทันที รถไฟขบวนแรกเข้ามาถึงฝั่งตะวันตกเมื่อเวลา 5.32 น. ในวันนั้น ฝูงชนขนาดมหึมาร่วมแสดงความดีใจที่การปิดล้อมสิ้นสุดลง นายพลเคลย์ผู้ซึ่งได้รับการประกาศการเกษียณจากประนาธิบดีทรูแมนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมได้รับการสดุดีจากทหารอเมริกันจำนวน 11,000 นายและเครื่องบินอีกจำนวนมาก เมื่อเคลย์กลับถึงสหรัฐฯแล้ว เขาได้รับการเดินขบวนขนาดใหญ่ใน[[นครนิวยอร์ก]] ได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์ในรัฐสภา และได้รับการประดับเหรียญเกียรติยศจากทรูแมนอีกด้วย
 
การขนส่งทางอากาศยังดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อสร้างเสบียงเผื่อไว้ เพื่อว่าหากมีเหตุจำเป็นเกิดขึ้น การขนส่งทางอากาศรอบใหม่จะสามารถเริ่มต้นได้อย่างง่ายดาย วันที่ [[24 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1949]] เสบียงสำรองก็ทำให้ทั้งเมืองอยู่ต่อได้อีก 3 เดือน การขนส่งทางอากาศสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ [[30 กันยายน]] [[ค.ศ. 1949]] หลังจากปฏิบัติงานมา 15 เดือน สหรัฐฯได้ขนส่งเสบียงทั้งหมด 1,783,573 ตัน อังกฤษขนส่งเสบียง 541,937 ตัน รวมทั้งหมด 2,326,406 ตัน ด้วยเที่ยวบินสู่กรุงเบอร์ลินทั้งหมด 278,228 เที่ยว รวมระยะทางการบินทั้งหมดกว่า 92 ล้านไมล์ซึ่งเกือบจะเท่ากับ[[หน่วยดาราศาสตร์|ระยะทางจากโลกสู่ดวงอาทิตย์]]<ref>[http://www.almc.army.mil/ALOG/issues/SepOct05/Berlinairlift.html Berlin Airlift: Logistics, Humanitarian Aid, and Strategic Success], Major Gregory C. Tine, Army Logisrician</ref>