ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิพิธภัณฑ์ตำหนักปลายเนิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพ:พิพิธภัณฑ์ ตำหนักปลายเนิน.jpg|thumb|300px|พิพิธภัณฑ์ ตำหนักปลายเนิน]]
'''พิพิธภัณฑ์ ตำหนักปลายเนิน''' ตั้งอยู่บน[[ถนนพระรามสี่]] กรุงเทพฯ แต่เดิมเป็นพระตำหนักที่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] ทรงใช้เป็นที่ประทับชั่วคราวในเบื้องแรก ปัจจุบัน ตำหนักปลายเนินนี้ได้ใช้เป็นสถานที่จัดงานวันนริศฯ ที่ตำหนักนี้ โดยมูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ จะจัดเป็น ประจำในวันที่ [[28 เมษายน]] ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จฯ กรม พระนริศฯ ของทุกปี โดยเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าชมได้ตามเวลา ราชการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด
 
== ประวัติ ==
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงโปรดให้ซื้อ[[เรือนไทย]]อย่างโบราณเพื่อสร้าง ก่อสร้างเสร็จในปี [[พ.ศ. 2457]] เป็นพระตำหนักเพราะมีพระประสงค์จะให้เสร็จโดยเร็วและไม่สิ้นเปลือง เนื่องจากทรงพระประชวรและมีพระดำริ จะมาประทับนอกเมืองเป็นครั้งคราว แต่ท่านมักจะประชวร เมื่อกลับไปประทับ ที่[[วังท่าพระ]] เนื่องจากพระองค์จะต้องทรงงาน ประจำที่วังท่าพระ ข้าง[[พระบรมมหาราชวัง]] จนกระทั่งเข้าช่วงปลายของพระองค์ พระตำหนักนี้จึงเป็นที่ประทับโดยถาวรไป ส่วนวังท่าพระนั้น จะเสด็จไปประทับเฉพาะช่วงหน้าหนาว หรือช่วงที่มีงาน พระราชพิธีเท่านั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงเสด็จประทับ อยู่ ณ วังที่[[คลองเตย]]จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ลงในปีพ.ศ. 2490 วังนี้จึงตก แก่ทายาทตระกูลจิตรพงศ์นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ผู้ครอบครอง คือ [[ม.ล. ดวงจิตร จิตรพงศ์]]
 
เมื่อแรกสร้างมุงหลังคาจากทุกหลัง บางหลังฝาทำด้วยแผงไม้ไผ่สานมีไม้ประกับเป็นกรอบค้ำเปิดขึ้นได้ทั้งฝา ต่อมาได้เปลี่ยนใช้กระเบื้องไม้สักมุงหลังคาแทน เพราะจากนั้นต้องเปลี่ยนใหม่ทุก 2 - 3 ปี ส่วนฝาเปลี่ยนเป็นฝาไม้มีหน้าต่างกว้าง เนื่องจากไม่สะดวกใน[[ฤดูฝน]] ซึ่งยุคนั้นไม่มีใครเคยทำ