ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองพระรถ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Princemixvasuvadh (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
== ประวัติ ==
[[ภาพ:พระสถูปเนินธาตุ.jpg|250px|thumb|right|พระสถูปโบราณบริเวณเนินธาตุ โบราณสถาน เมืองพระรถ ตำบลหน้าพระธาตุ [[อำเภอพนัสนิคม]]]]
 
เมืองพระรถเป็นชุมชนเมืองโบราณ อยู่ที่ตำบลหน้าพระธาตุ [[อำเภอพนัสนิคม]] อยู่ห่างจากตัวอำเภอพนัสนิคม มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๑ กิโลเมตร ไปทางถนนพนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา ตัดทับส่วนหนึ่งของกำแพงและคูเมืองด้านทิศตะวันออก จากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบ เชื่อว่าเมืองนี้เป็นเมืองในสมัย[[ทวารวดี]](ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ -๑๖)และเจริญสืบเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘)
เมืองพระรถ จัดว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่สมัยทวารวดี ตั้งอยู่ระหว่างที่สูงและที่ลุ่มมาบรรจบกัน บริเวณรอบเมืองเป็นพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวแบบทดน้ำ มีลำน้ำไหลผ่านหลายสาย ลำน้ำที่ไหลผ่านเข้ามาในเขตเมืองพระรถ ได้แก่ คลองสระกลาง คลองหลวง คลองพานทอง คลองสระกลางไหลมาทางด้านทิศใต้ ผ่านตัวอำเภอพนัสนิคมและวัดเกาะแก้ว มายังคูเมืองพระรถด้านตะวันออกเรียกว่า คลองเมือง ดังนั้นเมืองนี้จึงมีสภาพเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมท้องถิ่น เพราะมีลำน้ำต่าง ๆ เชื่อมต่อกับชุมชนร่วมสมัยอื่น ๆ เช่น [[เมืองศรีมโหสถ]]
[[ภาพ:ผังโบราณสถานเมืองพระรถอำเภอพนัสนิคม.jpg|250px|thumb|left|ผังเมืองโบราณสถาน เมืองพระรถ ตำบลหน้าพระธาตุ [[อำเภอพนัสนิคม]]]]
 
== ที่ตั้ง ==
ตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
แผนที่ทหาร พิมพ์ครั้งที่1 -RTSD ลำดับชุด L7017 ระวาง 5235 IV รุ้ง 13ฐ 27' 55" เหนือ แวง 101 ฐ 10'05" ตะวันออก พิกัดกริด 47 PQQ 346895
 
== โบราณสถาน ==
โบราณสถานมีอยู่ 2 ประเภท คือ ร่องรอยผังเมือง และศาสนสถาน ได้แก่
* '''ผังเมืองพระรถ'''
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๑,๕๕๐ x ๘๕๐ เมตร กำแพงเมืองเป็นคันดินสองชั้นสูงจากพื้นดินประมาณสองศอกเศษ ห่างกันชั้นละห้าวา คูเมืองกว้างประมาณสามศอก
เส้น 15 ⟶ 20:
== โบราณวัตถุ ==
โบราณวัตถุ ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา ทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบกระจายอยู่ทั่วไป ชิ้นส่วนของเทวรูปพระนารายณ์สวมหมวกแขก พระพุทธรูปแบบทวารวดีปางนาคปรก หินบดยา กังสดาล และแท่นพระพุทธรูปทำด้วยหินขนาดใหญ่ ส่วนโบราณวัตถุชิ้นเล็ก ๆ ที่พบได้แก่ พระพุทธรูปสำริดแบบลพบุรี พระพุทธรูปศิลาแบบทวารวดี เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนเหนือตัวพนัศบดี (พนัสบดี เป็นสัตว์ที่มีส่วนผสมของครุฑ หงส์ และโค คือมีปากเป็นครุฑ มีเขาเป็นโค และมีปีกคล้ายหงส์ ซึ่งเป็นลักษณะที่รวมพาหนะของเทพเจ้าทั้งสามในศาสนาพราหมณ์) พระพุทธรูปองค์นี้ชาวบ้านพบที่คูเมืองด้านใต้ ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เรียกกันว่า [[พระพนัสบดี]] เป็นสัญลักษณ์ของอำเภอพนัสนิคม โบราณวัตถุที่พบเกือบทั้งหมดเป็นศาสนวัตถุ มีอายุตั้งแต่สมัยทวารวดีมาถึงสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘)
 
== ประกาศกรมศิลปากร ==
ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมืองพระรถ ตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
เป็นที่สนใจของผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดีตั้งแต่ พ.ศ. 2474 - สำรวจ 2495 , 2510 - สำรวจและขุดแต่ง 2510 ,2528
 
== ดูเพิ่ม ==
เส้น 21 ⟶ 30:
== อ้างอิง ==
<references />
* [http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/chonburi2.htm สถานที่ต่างๆ[ อำเภอพนัสนิคม]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/chonburi2.htm สถานที่ต่างๆ อำเภอพนัสนิคม]
* [http://www.huso.buu.ac.th/cai/Sociology/Chonburi/html/introduction3-0.htm ประวัติศาสตร์ของจังหวัดชลบุรี]
 
{{coor title dms|15|12|5|N|102|30|27|E}}
[[หมวดหมู่:อำเภอพนัสนิคม]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในพุทธศตวรรษที่ 12]]