ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จำลอง ศรีเมือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sli20Tw7N96mrv (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ก่อกวน
บรรทัด 17:
| footnotes =
|}}
 
 
'''พลตรีจำลอง ศรีเมือง''' อดีตสมาชิก[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร|ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ]] 2 สมัย ผู้ก่อตั้ง และหัวหน้า[[พรรคพลังธรรม]]คนแรก เป็นแกนนำของผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ [[พฤษภาทมิฬ]] ปี พ.ศ. 2535 และเป็น 1 ใน 5 แกนนำ[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] ที่เรียกร้องให้ พ.ต.ท.[[ทักษิณ ชินวัตร]] ลาออกจากตำแหน่ง [[นายกรัฐมนตรี]] ช่วงปี [[พ.ศ. 2549]]
เส้น 26 ⟶ 25:
"พล.ต.จำลอง ศรีเมือง" เกิดวันที่ [[5 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2478]] ที่ฝั่งธนบุรี บิดามีอาชีพค้าปลาสดชื่อ สมนึก ชุณรัตน์ ส่วนมารดาชื่อ บุญเรือน ประกอบอาชีพแม่ค้าเร่ ตั้งแต่ จำลองยังแบเบาะบิดาได้เสียชีวิตลง และต่อมามารดาได้สมรสใหม่กับ โชศน์ ศรีเมือง ซึ่งเป็นที่มาของนามสกุล ศรีเมือง ที่ พล.ต.จำลองใช้ต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ กับชื่อเล่น พล.ต.จำลองนั้นเดิมมีชื่อเล่นว่า “ หนู ” แต่พอเข้า[[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]] ก็ถูกเพื่อนฝูงตั้งให้ใหม่ว่า “ จ๋ำ ” ขณะที่ชื่อ “ ลอง ” นั้น เป็นชื่อเล่นที่คนอื่น ๆ ทั่วไปมักใช้เรียกขาน ส่วนที่ใคร ๆ เรียกกันว่า “ มหา ” เพราะอดีตนายทหารผู้นี้ใฝ่ทางธรรม เมื่อครั้งอุปสมบทก็ศึกษาทางธรรมอย่างจริงจัง และเพราะเคยออกมาระบุว่าตนเองปฏิบัติตน[[สมถะ]] นอนไม้กระดานแผ่นเดียว แม้แต่การอาบน้ำก็จะใช้น้ำเพียง 5 [[ขัน]] ก็เลยได้ฉายา “ มหา 5 ขัน ”
 
ปัจจุบันสมรสกับ พ.ต.หญิง ศิริลักษณ์ เขียวละออ ภายหลังได้ร่วมกันทำกิจกรรมสังคมหลาย ๆ อย่าง ทั้งด้านการปฏิบัติธรรม เรื่องการกิน[[อาหารมังสวิรัติ]] ดูแลสุนัขจรจัด รวมถึงจัดตั้งโดยการไถเงินจากนักธุรกิจและเข้าร่วมขบวนการทำลายประชาะปไตย เพื่อผลประดยชน์ของตัวเองทั้งสิ้น[[โรงเรียนผู้นำ]]
 
== การศึกษา ==
เส้น 32 ⟶ 31:
 
[[ภาพ:10จำลอง.jpg|frame|พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับบทบาททางการเมืองสมัยแรก ๆ ]]
== ด้านชีวิตนักการเมือง ==
พล.ต.จำลอง มีชื่อเสียงโดดเด่นขึ้นมาหลังจากลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] ในปี พ.ศ. 2528 เบอร์ 8 ในนาม “ กลุ่มรวมพลัง ” โดยชนะได้รับคะแนนเสียง 408,233 คะแนน ถึงขนาดที่วง[[คาราบาว]] แต่งเพลงให้ชื่อ " มหาจำลองรุ่น 7 " หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2531 จึงก่อตั้ง [[พรรคพลังธรรม]] ขึ้น โดยสื่อมักเรียกขานกันว่าเป็น “ พรรคพลังผัก ” เนื่องจากสนับสนุนให้คนเลิกกินเนื้อสัตว์หันมากินอาหารมังสวิรัติ กระแสความนิยมในตัว พล.ต.จำลองในฐานะนักการเมืองผู้สมถะ พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นกระแส “ จำลองฟีเวอร์ ” และเรียกกันติดปากว่า " มหาจำลอง " ชนะการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่า ฯ อีกสมัยในปี พ.ศ. 2533 โดยได้รับคะแนนท่วมท้นถึง 703,671 คะแนน ทิ้งห่างผู้สมัครจาก[[พรรคประชากรไทย]]คือ นาย[[เดโช สวนานนท์]] ถึง 419,894 คะแนน แต่ก่อนที่จะครบวาระ 4 ปี ก็ลาออก และผันตัวเองสู่สนามเลือกตั้งระดับชาติ ตำแหน่งสูงสุดที่เคยเป็นเมื่อครั้งมีเก้าอี้ใน[[คณะรัฐบาล]]คือ รองนายกรัฐมนตรี
 
ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคพลังธรรมได้รับคะแนนความนิยมสูงสุดในพื้นที่กรุงเทพ ฯ โดยสามารถกวาดที่นั่งได้ถึง 32 ที่นั่งจาก 35 ที่นั่ง และเมื่อเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พล.ต.จำลอง เป็นแกนนำคนสำคัญในการประท้วงต่อต้านรัฐบาล พล.อ.[[สุจินดา คราประยูร]] โดยถูกจับกุมตัวกลางที่ชุมนุมเมื่อบ่ายวันทื่ 18 พฤษภาคม และในวันที่ 20 พฤษภาคม [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]มีรับสั่งให้บุคคลทั้งสองเข้าเฝ้า โดยมีพระราชดำรัสสำคัญถึงการต่อสู้กันรังแต่จะทำให้บ้านเมืองพินาศ<ref>[http://www.212cafe.com/boardvip/view.php?user=phrae&id=2487 พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานวันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2535]</ref> หลังจากนั้น พล.ต.จำลอง ก็ได้ลาออกจากทุกตำแหน่งทางการเมืองตามที่เคยได้ให้สัญญาไว้เมื่อครั้งชุมนุม ซึ่งหลังจากนี้ได้มีกระแสเสียงกล่าวหาว่า " จำลองพาคนไปตาย " จากฝ่ายตรงข้าม
 
ต่อมา พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็ได้ให้การสนับสนุน ร้อยเอก[[กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา]] ให้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อจากตน ซึ่ง ร.อ.กฤษฎาก็ได้รับการเลือกตั้งไป
 
จากนั้นเมื่อ พ.ต.ท.[[ทักษิณ ชินวัตร]] เข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรก ก็ด้วยการสนับสนุนของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พล.ต.จำลอง มีภาพของการเป็นผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรื่อยมา จากนั้น พล.ต.จำลอง ก็ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพ ฯ อีกสมัยในปี พ.ศ. 2539 แต่ทว่าคราวนี้ พล.ต.จำลอง ไม่อาจชนะการเลือกตั้งได้เหมือนเมื่ออดีต เมื่อเป็นฝ่ายพ่ายการเลือกตั้งไปอย่างขาดลอย โดยแพ้ให้แก่ นาย[[พิจิตต รัตตกุล]] อดีตผู้สมัคร ฯ ด้วยกัน ในปี พ.ศ. 2535 จากนั้นบทบาททางการเมืองของ พล.ต.จำลอง ศรีเมืองก็ค่อย ๆ ลดลง โดยเจ้าตัวได้ก่อตั้ง[[โรงเรียนผู้นำ]] อบรมบุคคลากรที่จะมีบทบาทเป็นผู้นำของสังคมต่อไปในอนาคตขึ้นที่[[จังหวัดกาญจนบุรี]] และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อย่างสมถะอยู่ที่นั่น<ref>[http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=4524376656412 ทำไมต้องมหาจำลอง..]</ref> แต่เมื่อมีข่าวคราวเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พล.ต.จำลอง ก็ยังคงเป็นผู้ให้การสนับสนุนอยู่ เช่น [[คดีซุกหุ้น]] พล.ต.จำลอง ก็เป็นหนึ่งบุคคลที่เข้าร่วมฟังการพิจารณาของ[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]ในห้องพิพากษาด้วย
 
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้ง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพ ฯ ในปี พ.ศ. 2547 เมื่อเป็นผู้สนับสนุน นาย[[มานะ มหาสุวีระชัย]] ผู้สมัครอิสระเบอร์ 5 อดีต ส.ส.พรรคพลังธรรม และ[[พรรคประชาธิปัตย์|ประชาธิปัตย์]] แต่นายมานะก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง<ref>[http://www.komchadluek.net/column/pra/2004/08/22/02.php ชีวิตขึ้นอยู่กับ..."ดวง" ดร.มานะ มหาสุวีระชัย]</ref>จากนั้น พล.ต.จำลอง ก็ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อเป็นผู้ประท้วงไม่ให้[[เบียร์ช้าง]]เข้า[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย|ตลาดหุ้น]] โดยเจ้าตัวอ้างเพื่อเหตุศีลธรรมของสังคม<ref>[http://www.rakbankerd.com/hotnews.html?nid=1575 ต้าน"เบียร์ช้าง"ลามทั่วปท. ตลาดหุ้นถอยเลื่อนประชุม]</ref>
 
== แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ==
ในสถานการณ์[[วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549]] พล.ต.จำลองได้ร่วมเป็นเป็น 1 ใน 5 แกนนำเครือข่าย[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] และแกนนำอีก 4 คนคือ
* [[สนธิ ลิ้มทองกุล]]
* [[พิภพ ธงไชย]]
* [[สมศักดิ์ โกศัยสุข]]
* [[สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์]]
* [[สุริยะใส กตะศิลา]] เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
 
พล.ต.จำลอง ได้เปิดแถลงข่าวเข้าร่วมการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่[[อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา]]ภายหลังการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549]] พล.ต.จำลองได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิก[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] (สนช.)
 
ปัจจุบันพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับมารวมตัวกันอีกครั้ง
 
== เบ็ดเตล็ด ==
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง มี[[คนไทยเชื้อสายจีน|เชื้อสายจีน]] โดยครอบครัวใช้แซ่โล้ว ซึ่งเป็นแซ่เดียวกับ [[สุจินดา คราประยูร|พล.อ.สุจินดา คราประยูร]] ด้วย