ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาลีรัตน์ แก้วก่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
เคยเข้าร่วม[[ขบวนการนักศึกษา]]หลังเหตุการณ์ [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2519]] ในเขตเทือกเขา[[ภูพาน]] จ.สกลนคร ต่อมาหลังการออก[[ประกาศ 66/23]] ในสมัยรัฐบาล[[พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2523]] เมื่อบ้านเมืองคลี่คลายได้กลับเข้าเมือง โดยเป็นอาสาสมัครให้กับพรรคการเมือง
 
เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] ครั้งแรกในนาม[[พรรคประชาชน]] ในปี [[พ.ศ. 2531]] แต่ไม่ได้รับเลือก ในช่วงที่[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) ยึดอำนาจจาก พลเอก[[ชาติชาย ชุณหะวันชุณหะวัณ]] ในปี [[พ.ศ. 2534]] ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม[[พรรคความหวังใหม่]]เมื่อเดือนมีนาคม [[พ.ศ. 2535]] แต่ไม่ได้รับเลือก หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ มีการเลือกตั้งใหม่ในนาม[[พรรคชาติพัฒนา]] เนื่องจากพรรคความหวังใหม่ไม่ส่งลงสมัคร เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 แต่ไม่ได้รับเลือกอีกครั้ง
 
หลังจากนั้น ได้ลงสมัคร ส.ส.ในนามพรรคชาติพัฒนาอีกครั้ง เมื่อเดือนกรกฎาคม [[พ.ศ. 2538]] กระทั่งได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.สกลนคร มีผลงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเด็ก เยาวชน และสตรี โดยเฉพาะการจัดตั้งชมรมผู้นำสตรีท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร (ปัจจุบันคือ สมาคมผู้นำสตรีท้องถิ่น สกลนคร)
บรรทัด 16:
ได้รับความไว้วางใจจาก ส.ส. และ ส.ว.หญิง เลือกให้ดำรงตำแหน่งประธาน[[ชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย]] เมื่อปี พ.ศ. 2546-2548 บทบาทที่สำคัญ คือ การส่งเสริมให้สตรีเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยจัดการฝึกอบรมให้ , การนำร่างพระราชัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำจากความรุนแรงในครอบครัว ออกรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ใน 4 ภูมิภาค, การร่วมมือกับกรรมกาธิการการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการยกร่าง พระราชบัญญัติอนามัยการเจริญพันธุ์ ฯลฯ
 
ระหว่างดำรงตำแหน่ง ส.ว.เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วม[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] ทำ[[ทำการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี]]
 
เดือนธันวาคม [[พ.ศ. 2550]] ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระบบสัดส่วน [[พรรคมัชฌิมาธิปไตย]] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง