ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน''' (standard deviation: s.d.) ในทาง[[สถิติศาสตร์]]และ[[ความน่าจะเป็น]] เป็นการวัดการกระจายแบบหนึ่งของกลุ่ม[[ข้อมูล]] สามารถนำไปใช้กับ[[การแจกแจงความน่าจะเป็น]] [[ตัวแปรสุ่ม]] [[ประชากร (สถิติศาสตร์)|ประชากร]] หรือ[[มัลติเซต]] ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมักเขียนแทนด้วย[[อักษรกรีก]][[ซิกมา]]ตัวเล็ก (σ) นิยามขึ้นจากส่วนเบี่ยงเบนแบบ [[root mean square]] (RMS) กับ[[ค่าเฉลี่ย]] หรือนิยามขึ้นจาก[[รากที่สอง]]ของ[[ความแปรปรวน]]
 
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคิดค้นโดย [[ฟรานซิส กาลตัน]] (Francis Galton)<!--สำเนียงบริติช--> ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1860 <ref>[http://www.sciencetimeline.net/1866.htm Sir Francis Galton discovered the standard deviation]</ref> เป็นการวัดการกระจายทางสถิติที่เป็นปกติทั่วไป ใช้สำหรับเปรียบเทียบว่าค่าต่างๆ ใน[[เซตข้อมูล]]กระจายตัวออกไปมากน้อยเท่าใด หากข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ใกล้ค่าเฉลี่ยมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก็จะมีค่าน้อย ในทางกลับกัน ถ้าข้อมูลแต่ละจุดอยู่ห่างไกลจากค่าเฉลี่ยเป็นส่วนมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก็จะมีค่ามาก และเมื่อข้อมูลทุกตัวมีค่าเท่ากันหมด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะมีค่าเท่ากับ[[ศูนย์]] นั่นคือไม่มีการกระจายตัว คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งก็คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้หน่วยอันเดียวกันกับข้อมูล แต่กับความแปรปรวนนั้นไม่ใช่