ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์จิ้น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aquapatinth (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
==ประวัติ==
ซือหม่าเอี๋ยน([[สุมาเอี๋ยน]])ประกาศตั้งราชวงศ์จิ้นตะวันตกขึ้นแทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉวุ่ยของเฉาเชาหรือ[[โจโฉ]] เมื่อถึงปี 280 จิ้นตะวันตกปราบก๊กอู๋ลงได้ สภาพการแบ่งแยกอำนาจของ[[สามก๊ก]]ก็สลายตัวไป ทั้งแผ่นดินจีนรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง เกิดความสันติสุขขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ราชวงศ์จิ้นตะวันตกเป็นยุคสมัยที่กลุ่มตระกูลใหญ่ก้าวเข้ามาเป็นผู้มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างสูง เนื่องจากนโยบายการปกครองของซือหม่าเอี๋ยนหรือจิ้นอู่ตี้โน้มเอียงไปในทางเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มตระกูลชนชั้นสูง อีกทั้งกฎหมายยังให้สิทธิพิเศษต่อขุนนางเจ้าที่ดิน ในการจัดสรรการถือครองที่ดินและผลประโยชน์อื่น ๆ โดยอ้างอิงจากระดับชั้นตำแหน่งขุนนาง ระเบียบเหล่านี้ได้กลายเป็นเครื่องมือการเพาะสร้างอำนาจแบบเบ็ดเสร็จให้กับกลุ่มตระกูลใหญ่เหล่านี้ ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางชนชั้นในสังคมครั้งใหญ่ เพราะเพื่อรักษาสิทธิพิเศษนี้ ถึงกับตั้งข้อรังเกียจไม่ยอมนั่งร่วมโต๊ะหรือแต่งงานข้ามสายเลือดกับตระกูลที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษ ทำให้ผู้อยู่นอกวงถึงแม้จะได้เข้ารับราชการก็จะยังคงถูกมองอย่างแปลกแยกและกีดกันไม่ให้ได้รับการเลื่อนขั้นในตำแหน่งสูงขึ้น ขณะที่ขุมกำลังจากตระกูลใหญ่เหล่านี้เติบโตขึ้น ข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทว่าอำนาจการปกครองจากส่วนกลางกลับอ่อนแอลง เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายในเวลาต่อมา ในยุคสมัยนี้ บ้านเมืองเสื่อมโทรม กลุ่มผู้มีอำนาจใช้ชีวิตอย่างความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขันและคดโกง ขณะที่คนจนถูกเรียกเก็บภาษีแพงลิบลิ่ว เหล่าปัญญาชนที่เกิดมาท่ามกลางยุคสมัยแห่งความวุ่นวายนี้ ต่างท้อแท้สิ้นหวัง พากันหลีกหนีความเป็นจริง ไม่ถามไถ่ปัญหาบ้านเมือง ชีวิตหมกมุ่นอยู่กับการเสพสุราและพูดคุยเรื่องราวไร้สาระ หรือเสนอแนวคิดเชิงดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นในสังคม เป็นต้น ดังนั้น ศาสตร์ในการทำนายทายทักและแนวคิดเชิงอภิปรัชญา จึงเป็นที่นิยมอย่างสูงขณะเดียวกัน การแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจทางการเมืองในราชสำนักก็ทวีความเข้มข้นขึ้น อำนาจในการปกครองของฝ่ายราชสำนักตกอยู่ในภาวะวิกฤต จิ้นอู่ตี้เนื่องจากได้รับบทเรียนจากราชวงศ์วุ่ยที่ไม่ได้จัดสรรอำนาจให้เชื้อพระวงศ์เป็นเหตุให้ราชวงศ์จิ้นซึ่งอยู่ในตระกูลอื่นเข้าฉกฉวยอำนาจได้โดยง่าย ดังนั้น เพื่อรักษาพระราชอำนาจของตนไว้ จึงทรงอวยยศเหล่าเชื้อพระวงศ์ขึ้นเป็นอ๋อง ให้อำนาจในการตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางทหารของกลุ่มอำนาจภายนอก ทำให้เชื้อพระวงศ์เหล่านี้สามารถบัญชาการกำลังทหารจำนวนไม่น้อย เมื่อถึงสมัยของจิ้นฮุ่ยตี้ การอวยยศซึ่งแต่เดิมมีจุดมุ่งหมายเพื่ออารักขาฐานอำนาจของราชสำนัก กลับเป็นบ่อเกิดของข้อขัดแย้งในการแบ่งลำดับขั้นการบริหาร ทำให้ภายในราชสำนักเกิดการแย่งชิงอำนาจครั้งใหญ่ บรรดาอ๋องพระราชทานต่างก็ถูกม้วนเข้าสู่วังวนแห่งอำนาจทางการเมือง นับตั้งแต่ปี 291 เป็นต้นมา เมืองลั่วหยาง ได้เกิดเหตุจราจล ‘8 อ๋องชิงบัลลังก์’อ๋องทั้ง 8 ได้แก่ อ๋องเลี่ยง อ๋องเหว่ย อ๋องหลุน อ๋องจ่ง อ๋องหยิ่ง อ๋องอี้ อ๋องหยงและอ๋องเย่ว์ ต่างยกกำลังเข้าห้ำหั่นกันเกิดเป็นสงครามภายในขึ้น เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองครั้งนี้กินเวลาถึง 16 ปี ทหารและพลเรือนลัมตายนับแสน หลายเมืองถูกทำลายล้างยับเยิน เป็นเหตุให้ราชวงศ์จิ้นตะวันตกที่แต่เดิมก็ไม่ได้มีผลสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจมากนักอยู่แล้ว กลับยิ่งต้องเผชิญกับความเสียหายอย่างสาหัส สุดท้ายจิ้นฮุ่ยตี้ถูกวางยาสิ้นพระชนม์ บรรดาอ๋องต่างฆ่าฟันกันจนสิ้นเรี่ยวแรง นับแต่สมัยฮั่นตะวันออกเป็นต้นมา ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในในแถบชายแดนภาคตะวันตกและภาคเหนือก็ได้ทยอยอพยพเข้าสู่แผ่นดินจีน เมื่อถึงปลายราชวงศ์วุ่ยและจิ้น เนื่องจากเกิดภาวะแรงงานขาดแคลนจึงมักมีการกวาดต้อนชนกลุ่มน้อยจำนวนมากเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศ ชนเผ่าต่าง ๆเมื่อเข้ามาอยู่อาศัยระยะยาว จึงได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่น ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่แต่เดิมเป็นปศุสัตว์เร่ร่อน หันมาทำไร่ไถนา บ้างก็ได้รับการศึกษา เข้ารับราชการ เป็นต้น ต่อมาเนื่องจากได้รับการบีบคั้นจากการปกครองของเจ้าที่ดินชาวฮั่น และการรีดเก็บภาษีขั้นสูง ทำให้ความสัมพันธ์ทวีความตึงเครียดมากขึ้น จนในที่สุด พากันลุกขึ้นก่อหวอดต่อต้านการปกครองจากส่วนกลาง โดยกลุ่มที่เริ่มทำการก่อนได้แก่กลุ่มขุนศึกของชนเผ่าต่าง ๆในช่วงปลายของจราจล 8 อ๋อง ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผู้นำของแต่ละกลุ่มต่างทยอยกันเสียชีวิตในการศึก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนูหลิวหยวน ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่าฮั่นกว๋อ ภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุครชายชื่อหลิวชง ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา โดยเชื้อพระวงศ์ทางนครฉางอันเมื่อทราบเรื่องก็ประกาศยกให้จิ้นหมิ่นตี้ ขึ้นครองบัลลังก์สืบทอดราชวงศ์จิ้นต่อไปทันที ประชาชนที่หวาดเกรงภัยจากสงครามทางภาคเหนือ ต่างพากันอพยพลงใต้ จวบถึงปี 316 กองกำลังของชนเผ่าซงหนูบุกเข้านครฉางอัน จับกุมจิ้นหมิ่นตี้ เพื่อรับโทษทัณฑ์ จิ้นตะวันตกจึงถึงกาลล่มสลายราชวงศ์จิ้นตะวันตกอยู่ในอำนาจรวม 51 ปี มีกษัตริย์เพียง 4 พระองค์ และเป็นราชวงศ์เดียวในยุคสมัยวุ่ยจิ้นเหนือใต้(คริสตศักราช 220 – 589)ที่มีการปกครองแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียว
 
== จิ้นตะวันออก (คริสตศักราช 317 – 420) ==