ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสคริปต์จัดให้
บรรทัด 1:
{{นิติเวชศาสตร์}}
'''การผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์''' '' (Forensic Autopsy) '' เป็นการผ่าศพผู้ตายเพื่อศึกษาหาสาเหตุการตายเช่นเดียวกับการผ่าศพทาง[[พยาธิวิทยา]] '' (Pathological Autopsy) '' คือ[[แพทย์]]จะเริ่มตั้งแต่การตรวจสภาพศพภายนอก วิเคราะห์และตรวจสอบบาดแผลที่ปรากฎปรากฏบนศพ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสภาพร่างกายภายนอก ก่อนทำการผ่าศพเพื่อตรวจสอบสภาพอวัยวะภายใน เพื่อเป็นการค้นหาสาเหตุการตายรวมทั้งกลไกต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการบ่งบอกสาเหตุการตาย และในศพบางราย การผ่าศพทาง[[นิติเวชศาสตร์]]อาจจะช่วยเป็นแนวทางสำคัญในการชี้เบาะแสให้ทราบถึงพฤติการณ์ในการตายได้ ส่วนวิธีการในการผ่าศพ แพทย์จะเลือกใช้มีดกรีดบริเวณ[[ผิวหนัง]]ให้เป็นรูปร่างใด จากตำแหน่งใด ขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ในแต่ละรายให้เหมาะสม เพื่อให้ได้รายละเอียดและข้อมูลตามต้องการ<ref name="การผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์">การผ่าศพทางนิติเวชศาสตร์, นิติเวชศาสตร์ สำหรับพนักงานสอบสวน, พล.ต.ต.เลี้ยง หุยประเสริฐ, พบ., อว. (นิติเวชศาสตร์) ผู้บังคับการ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ, 2547, หน้า 23</ref>
 
== หลักในการผ่าศพ ==
บรรทัด 11:
สำหรับการผ่าศพทางนิติพยาธินั้น จะมุ่งเน้นเกี่ยวกับพยาธิสภาพของบาดแผล เพราะสาเหตุการตายเป็นหน้าที่ของ[[นิติพยาธิแพทย์]] ซึ่งสาเหตุของการตายมักเป็นการตายอย่างกะทันหันเช่น ผู้ตายถูกรุมทำร้ายจนถึงแก่ความตาย การเกิดอุบัติเหตุ [[การฆ่าตัวตาย]]หรือการตายโดยไม่ทราบเหตุ เพราะฉะนั้นประวัติทางด้านการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยอาจจะมีน้อยจนถึงน้อยมาก แต่ในบางรายผู้ตายไม่ได้ตายทันทีหลังเกิดเหตุ อาจจะได้รับการรักษาพยาบาลมาช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งในกรณีอย่างนี้ แพทย์ผู้รักษาต้องให้ความร่วมมือในการส่งรายละเอียด การรักษาพยาบาล การดำเนินโรค การเปลี่ยนแปลงของอาการตลอดจนผลการตรวจต่าง ๆ ทางห้องปฏิบัติการ เหมือนกับการส่งให้พยาธิแพทย์เช่นกัน และถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตาม[[กฎหมาย]]ด้วย พนักงานผู้ชันสูตรพลิกศพสามารถส่งหมายเรียกให้มาให้ปากคำได้ถ้าแพทย์ผู้รักษาไม่ให้ความร่วมมือ
 
== บาดแผลที่ปรากฎปรากฏ ==
การผ่าศพทางนิติพยาธิ เป็นการผ่าศพเพื่อเน้นไปทางด้าน[[บาดแผล]]ภายนอกร่างกาย แต่ไม่ได้หมายความว่านิติพยาธิแพทย์สามารถละเลยรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพร่างกายและอวัยวะภายในได้ การผ่าศพตลอดจนการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ '' (Microscopic Examination) '' ยังคงมีความจำเป็นมากสำหรับการผ่าศพ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ตายมักจะตายในขณะเกิดเหตุ บาดแผลต่าง ๆ มักไม่ทันมีการเปลี่ยนแปลงทางกล้องจุลทรรศน์แต่ยังมีผู้ตายในกรณีอื่น ๆ เช่น ผู้ที่ตายอย่างกะทันหันและไม่คาดคิดหรือผู้ป่วยตายในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตายตามธรรมชาติและการตัดชิ้นเนื้อทางกล้องจุลทรรศน์จะเป็นข้อมูลอันสำคัญในการวินิจฉัย<ref name="บาดแผล">บาดแผล, นิติเวชศาสตร์ สำหรับพนักงานสอบสวน, พล.ต.ต.เลี้ยง หุยประเสริฐ, พบ., อว. (นิติเวชศาสตร์) ผู้บังคับการ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ, 2547, หน้า 23</ref>
อีกกรณีหนึ่งซึ่งพบมากขึ้นทุกทีคือกรณีที่ญาติผู้ตายร้องเรียนว่าแพทย์ให้การรักษาพยาบาลไม่เหมาะ สมเป็นเหตุให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ทำให้การตายนั้นกลายเป็นคดีเข้าข่ายที่ต้องให้นิติเวชแพทย์เป็นผู้ตรวจทั้ง ๆ ที่เหตุตายเป็นการตายจากโรคทางธรรมชาติ ส่วนใหญ่ผู้ตายผิดธรรมชาติ มักตายในขณะเกิดเหตุหรือหลังเกิดเหตุในเวลาสั้น ๆ และนิติพยาธิแพทย์จะเน้นทางด้านบาดแผลดังกล่าวแล้ว ประวัติหรือเรื่องราวที่เกิดเหตุจึงค่อนข้างสั้น และในหลาย ๆ กรณีสามารถตรวจสอบได้ง่ายเมื่อเห็นสถานที่เกิดเหตุ เช่น ในที่เกิดเหตุ พบผู้ตายแขวนคอตายที่ขื่อเพดานในห้องนอน โดยที่ประตูหน้าต่างห้องนอนปิดสนิท เครื่องปรับอากาศยังทำงานอยู่ ในห้องมีสภาพเรียบร้อยไม่มีร่องรอยการต่อสู้ และมีจดหมายเขียนด้วยลายมือผู้ตายอ้างเหตุฆ่าตัวตายอยู่บนโต๊ะน่าจะเชื่อได้ว่าผูกคอตนเองไปกว่า 80% แล้ว เมื่อร่วมกับการผ่าศพไม่พบมีบาดแผลใดใดในร่างกาย นอกจากแผลการรัดที่ลำคอ การบาดเจ็บภายในลำคอก็พบน้อยมาก สามารถสันนิษฐานได้ว่าผู้ตายผูกคอตนเอง
 
อาจกล่าวได้ว่า การผ่าศพทางนิติพยาธิเริ่มตั้งแต่ที่เกิดเหตุ '' (Forensic Autopsy Begins at Crime Scene) '' นอกจากนั้นการดูศพตั้งแต่ที่เกิดเหตุ ยังทำให้สามารถดำเนินการป้องกันหรือรักษาสภาพบางส่วนของศพเป็นพิเศษได้ เช่นเมื่อมีเหตุยิงกันตายและผู้ตายมีส่วนร่วมในการยิงกันด้วย ควรรักษามือที่ใช้ยิงเป็นกรณีพิเศษ เช่นใช้ถุงหุ้มมือข้างนั้นไม่ให้มีการปนเปื้อนและไม่ให้มีการพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือก่อนจะทำการตรวจเขม่าดินปืนเป็นต้น หรือในรายที่เกิดการข่มขืนและฆ่าก็ควรห่อหุ้มมือทั้ง 2 ข้างในลักษณะที่จะรักษาสิ่งที่อาจจะอยู่ในมือผู้ตายซึ่งสามารถใช้เป็นวัตถุพยานได้ รวมทั้งการห่อศพด้วยความระมัดระวังไม่ให้สิ่งที่ติดอยู่กับศพสูญหายไป หรือปนเปื้อนสิ่งที่ไม่ได้ติดมากับศพในที่เกิดเหตุมาปนเปื้อนในภายหลัง
การที่นิติพยาธิเน้นทางด้านบาดแผล ทำให้ต้องเน้นไปถึงเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มด้วย เนื่องจากเสื้อผ้าที่ห่อหุ้มร่างกายจะรองรับอาวุธหรือวัตถุที่ก่อให้เกิดบาดแผลก่อน ร่องรอยของอาวุธอาจจะปรากฏบนเสื้อผ้าแทนที่จะไปปรากฏบนบาดแผลก็ได้ นอกจากนั้นบาดแผลที่ทะลุผ่านเสื้อผ้ากับบาดแผลที่ไม่ทะลุผ่านเสื้อผ้าก็มีความหมายต่างกัน เช่น ถ้าเป็นการฆ่าตัวตาย บาดแผลจะเกิดที่ส่วนของร่างกายที่เลือกสรรแล้ว และมักไม่ทะลุผ่านเสื้อผ้าของตนเอง ความแตกต่างอีกประการหนึ่งระหว่างพยาธิและนิติพยาธิคือ พยาธิแพทย์มักไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการประเมินระยะเวลาในการตายของผู้ตาย เนื่องจากผู้ตายส่วนใหญ่จะตายในโรงพยาบาลและทราบเวลาตายที่แน่นอน หลังตายก็สามารถเก็บศพไว้ในตู้เย็น โอกาสของพยาธิแพทย์ที่จะได้รับศพที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการเน่าสลายตัวแทบจะไม่มี ส่วนนิติพยาธิแพทย์จะต้องพบศพที่เน่าสลายตัวทุกรูป แบบ และจำเป็นต้องพยายามประเมินระยะเวลาตายให้ได้ใกล้เคียง เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวน