ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลื่นยักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไร้สติ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไร้สติ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 8:
 
== ประวัติ ==
การเกิดคลื่นขนาดใหญ่กลางทะเล ระหว่างมีพายุ ซึ่งอาจมีขนาดความสูงของคลื่น 7 เมตร (23 ฟุต) หรือในกรณีพายุรุนแรงนั้นอาจมีความสูงถึง 15 เมตร (50 ฟุต) นั้นถือเป็นเหตุการณ์ปกติ อย่างไรก็ตามในหลายศตวรรษที่ผ่านมาได้มีเรื่องเล่าขานกล่าวถึงพายุขนาดยักษ์ ที่มีความสูงของคลื่นถึง 30 เมตร (100 ฟุต ประมาณเท่ากับความสูงของตึก 12 ชั้น) ผุดขึ้นมากกลางมหาสมุทร แม้กระทั่งสวนทิศทางกับกระแสน้ำ และ คลื่นผิวน้ำ และมักจะเกิดในช่วงอากาศปลอดโปร่ง ได้มีการกล่าวขานถึงลักษณะของคลื่นว่า เหมือนเป็นกำแพงน้ำขนาดยักษ์ โดยมี[[ท้องคลื่น]] คือระดับน้ำซึ่งที่ยุบตัวลงวิ่งนำหน้า ระดับน้ำที่ยุบตัวลงนี้มีจุดต่ำสุดที่ลึกมากจนถูกขนานนามว่าเป็น "hole in the sea" (หลุมในทะเล) เรือที่โดนคลื่นประเภทนี้ซัดมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกจมภายในเวลาไม่กี่วินาที เนื่องจากแรงดันมหาศาลจากน้ำที่ซัดเข้าใส่ที่อาจสูงถึง 100 ตัน ต่อ ตารางเมตร เรือโดยทั่วไปนั้นถูกออกแบบมาให้สามารถทนทานต่อคลื่นพายุที่สูงถึง 15 เมตร และความกดดันประมาณ 15 ตันต่อตารางเมตร และทนทานได้มากกว่านั้นถึงสองเท่าคือคลื่นสูงประมาณ 20 เมตร โดยที่อาจมีความเสียหายแก่เรือ
 
เป็นระยะเวลาอันยาวนาน ที่นักวิทยาศาสตร์ ได้สรุปว่าเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับคลื่นนี้นั้นไม่เป็นจริง เนื่องมาจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของคลื่นนั้น ระบุให้เห็นว่าโอกาสที่จะเกิดคลื่นที่มีขนาดสูงกว่า 15 เมตรนั้นมีน้อยมาก ด้วยความน่าจะเป็นในระดับที่เรียกว่า "เกิด 1 ครั้ง ใน 10,000 ปี" เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามจากภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงไม่กี่ปีมานี้ได้ยืนยันว่า คลื่นขนาดที่มีความสูงถึง 30 เมตรนั้น สามารถพบเห็นได้บ่อยกว่าที่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นแบบจำลองความสูงของคลื่นเชิงเส้น ได้คาดหมายไว้มาก โดยที่มีการเกิดคลื่นดังกล่าวขึ้นในมหาสมุทรทั่วโลก หลายครั้งต่อปี ด้วยเหตุนี้จึงเป็นต้นเหตุให้นักวิทยาศาสตร์หันกลับมาพิจารณาถึงสาเหตุของการเกิดคลื่นดังกล่าว รวมทั้งตั้งประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับ หลักการและทฤษฎี ทางวิศวกรรมทางทะเล ที่เป็นที่ยอมรับ และใช้กันมาเป็นเวลานาน อย่างจริงจัง
 
หมายเหตุ : คลื่นยักษ์ที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นคลื่นคนละประเภทกับ[[คลื่นสึนามิ]] ซึ่งเคยเรียกกันว่า คลื่นทะเล หรือ ไทดอลเวฟ (tidal wave) สึนามินั้นเป็นคลื่นเคลื่อนตัว เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง และ สังเกตยากในบริเวณน้ำลึก มีอันตรายเมื่อเคลื่อนตัวขึ้นชายฝั่ง ในบริเวณน้ำลึกนั้นคลื่นสึนามิไม่มีอันตรายต่อเรือ ซึ่งแตกต่างจากคลื่นยักษ์ซึ่งเป็นคลื่นเฉพาะบริเวณ เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในบริเวณห่างจากชายฝั่ง
 
== ความถี่ของการเกิดคลื่นยักษ์ ==