ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 30:
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีการเลื่อนชั้น อิสริยยศเจ้านาย จากที่ได้รับแต่เดิมแต่ประการใด (ยกเว้นการเลื่อนกรมพระราชมารดา หรือผู้ที่ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชขึ้นเป็น กรมพระ) ประเพณี การเลื่อนอิสริยยศเจ้านายเกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชการที่ 2 ให้เรียก กรมของสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า "กรมสมเด็จพระ" ต่อมาในรัชกาลที่ 3 โปรดให้ พระองค์เจ้าทรงกรมชั้นผู้ใหญ่เลื่อนขึ้นไปได้เป็น "กรมสมเด็จพระ" สูงกว่า "กรมพระ" เดิม และต่อมาในสมัยรัชการที่ 5 ให้แก้ไข "กรมสมเด็จพระ" เป็น "กรมพระยา" ดังนั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทธิ์ อิสริยยศเจ้านายจึงมี 5 ชั้นคือ
 
# ชั้นที่ 1 กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จพระ
# ชั้นที่ 2 กรมพระ นอกจากเป็นกรมสำหร้บพระราชมารดา วังหน้า วังหลัง แล้วยังตั้งสมเด็จพระพี่นางเธอให้ดำรงพระอิสริยยศนี้
# ชั้นที่ 2 กรมพระ
# ชั้นที่ 3 กรมหลวง สำหรับเจ้าฟ้าชั้นใหญ่ และทั้งพระองค์ชายและพระองค์หญิง
# ชั้นที่ 4 กรมขุน สำหรับเจ้าฟ้าชั้นเล็ก แล้วจึงเลื่อกนเป็นกรมหลวง
# ชั้นที่ 5 กรมหมื่น สำหรับพระองค์เจ้า
 
เจ้าทรงกรม จะมีขุนนางเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุบัญชี โดยบรรดาศักดิ์ของเจ้ากรม คือบรรดาศักดิ์สูงสุดของอิสริยยศนั้น เช่น กรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ มี เจ้ากรม บรรดาศักดิ์เป็น พระยาดำรงค์ราชานุภาพ ศักดินา 1,000 ไร่ ปลัดกรม คือ พระปราบบรพล ศักดินา 800 ไร่ สมุห์บัญชี คือ หลวงสกลคณารักษ์ ศักดินา 500 ไร่