ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รักคุณเท่าฟ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 0 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.9.2
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 0 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.9.3
บรรทัด 7:
การบินไทยเริ่มใช้คำขวัญ "รักคุณเท่าฟ้า" ตั้งแต่ราวปี [[พ.ศ. 2521]] สำหรับโครงการส่งเสริมภาพลักษณ์และบริการใหม่ ภายใต้หัวข้อรณรงค์ชื่อเดียวกัน โดยขณะนั้น ตราสัญลักษณ์ของการบินไทย เพิ่งเปลี่ยนเป็นรูป[[จำปี|ดอกจำปี]] ดังเช่นปัจจุบัน<ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000167337 วิวัฒนาการชุด “แอร์โฮสเตสไทย” จากอดีตสู่ปัจจุบัน]{{ลิงก์เสีย|date=พฤศจิกายน 2022 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}</ref> จนกระทั่งปี [[พ.ศ. 2528]] วงดนตรี[[คาราบาว]] จัดทำบทเพลงมอบให้การบินไทย ชื่อเดียวกับคำขวัญ เพื่อสนับสนุนการส่งเสริมภาพลักษณ์ดังกล่าว<ref>[http://www.snr.ac.th/wita/Music/love_u_much.htm รักคุณเท่าฟ้า]{{ลิงก์เสีย|date=กันยายน 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}</ref>
 
เพลงดังกล่าว มีที่มาจาก การทัวร์คอนเสิร์ตของวงคาราบาว ร่วมกับ[[เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์]] ซึ่งเดินทางด้วยสายการบินไทย จาก[[ท่าอากาศยานกรุงเทพ]] (ดอนเมือง) ไปยัง[[ซีแอตเทิล|นครซีแอตเทิล]] [[สหรัฐอเมริกา]] โดยก่อนการเดินทาง วงคาราบาวแต่งเพลงนี้ขึ้น เพื่อตอบแทนแก่สายการบินไทย ดนตรีที่ใช้เป็นแบบฟังสบาย มีเนื้อหาและท่วงทำนอง ที่ใช้จินตนาการอย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้ [[ไพบูลย์ ศุภวารี]] เป็นผู้จัดรายการวิทยุคนแรก ซึ่งนำเพลงนี้เผยแพร่สู่ผู้ฟัง และได้รับความนิยม ในเวลาไม่นานนัก<ref>[http://www.thaimusicstory.com/index.php?topic=421.0 เมื่อ"คาราบาว"บินสู่อ้อมแขนเทพีแห่งสันติภาพ 2528 ก่อกำเนิดเพลง "รักคุณเท่าฟ้า"]{{ลิงก์เสีย|date=พฤษภาคม 2023 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}</ref> จึงทำให้ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2529]] [[คาราบาว]]นำเพลงนี้ ลงในอัลบั้ม[[รวมเพลงคาราบาว]] ของตัวเอง ทั้งหมดร่วมกันส่งเสริมให้คำขวัญ "รักคุณเท่าฟ้า" เป็นที่จดจำอย่างแพร่หลายเรื่อยมา
 
ทั้งนี้ต่อมา ยังมีศิลปินรายอื่น นำเพลงนี้ไปร้องลงในสตูดิโออัลบั้ม ได้แก่ [[ชัคกี้ ธัญญรัตน์]] ในอัลบั้ม ศรัทธา<ref>[http://www.oknation.net/blog/phoenixman/2007/11/19/entry-2 รักคุณเท่าฟ้า...เวอร์ชัน ชัคกี้ ธัญรัตน์ (2528)]</ref>, [[โคโค่แจ๊ซ]], [[วิยะดา โกมารกุล ณ นคร]] เป็นต้น {{อ้างอิง-เส้นใต้|อนึ่ง เพลงดังกล่าว ในฉบับของคาราบาว ยังนำมาใช้เป็นเพลงเปิดรายการ ''ใต้ฟ้าเมืองไทย'' สารคดีสั้นทางโทรทัศน์ ในระยะเวลาตอนละ 5 นาที ซึ่งเสนอฉายทาง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]] ตั้งแต่ราวปี [[พ.ศ. 2531]]-[[พ.ศ. 2539|2539]] โดยใช้ท่อนเพลงบรรเลงช่วงกลาง ก่อนจะข้ามไปยังท่อนแรกของช่วงที่สาม}}