ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขอม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Koroyawin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{โปร}}
'''ขอม''' เป็นชื่อทาง[[วัฒนธรรม]] ไม่ใช่ชื่อชนชาติ หมายถึงคนกลุ่มหนึ่งที่อยู่บริเวณ[[ลุ่มน้ำเจ้าพระยา]] นับถือฮินดูหรือพุทธมหายาน ทางตอนใต้ของ[[อาณาจักรสุโขทัย|แคว้นสุโขทัย]] อาจจะหมายถึงพวก [[ละโว้]] (หรือ [[ลพบุรี]]) เอกสารทาง[[ล้านนา]] เช่น จารึกและตำนานต่าง ๆ ล้วนระบุสอดคล้องกันว่าขอมคือพวกที่อยู่ทางใต้ของ[[ล้านนา]](ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย) เนื่องจากคำว่า ขอม สัญนิษฐานว่ามาจากคำว่า “เขมร”+”กรอม” (ที่แปลว่าใต้) พูดเร็ว ๆ กลายเป็น “ขอม” และ ความหมายของความเป็นขอม ได้สืบทอดกันมาแต่โบราณกาลก่อนยุคพุทธกาล พร้อมกับการคิดค้น “ลายสือไทย” ก่อนที่พ่อขุนรามคำแหงจะนำอักษร “สือไทย” มาจารึกลงในหลักศิลาจารึก ในปี พ.ศ. ๑๘๒๖ โดยความสำคัญของ “ขอม” หรือ ตำแหน่งคู่ขนานทางการปกครองบ้านเมืองจัดอยู่ในแบบแผนประเพณีการปกครองของราชสำนักสยาม ทั้งไทยเหนือ ตั้งแต่เมืองกำแพงเพชรขึ้นไป และ ไทยใต้ ตั้งแต่นครสวรรค์ลงไปถึงปลายแหลมมลายู และ หมู่เกาะชวา ขอมนี้จึงเป็นระบบปกครองคู่ขนาน ได้แก่ หัวหน้าปกครองสูงสุด มีตำแหน่งเป็น “ขุน”ส่วนตำแหน่ง “ขอม” ถือเป็นตำแหน่งผู้ช่วยเหลือแทนขุนใน “ด้านศิลปวิทยาการทุกแขนง” ไม่เว้นแม้แต่การประดิษฐ์ “ลายสือขอม” ที่คิดค้นขึ้นพร้อมๆกับลายสือไทยในยุคก่อนพุทธกาล โดยผู้ประดิษฐ์อักษรไทยคนแรกชื่อว่า “ขุนสือไทย” และ ผู้ประดิษฐ์อักษรขอมคนแรกชื่อ “ขอมฟ้าไทย”<ref>http://www.komchadluek.net/2008/03/08/x_soc_s001_193134.php?news_id=193134</ref>
 
พวกนี้ตัดผมเกรียน และ[[นุ่งโจงกระเบน]] กินข้าวเจ้า ฯลฯ [[แคว้นละโว้]]มีชื่อในตำนาน และพงศาวดารว่า กัมโพช เลียนอย่างชื่อ [[กัมพูชา]] ของ[[เขมร]] นับถือทั้งฮินดูและพุทธมหายาน อาจารย์ [[ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช]] เคยเขียนอธิบายไว้ว่า ขอมเป็นพวกนับถือ[[ฮินดู]]หรือ[[มหายาน|พุทธมหายาน]] ใครเข้ารีตเป็นฮินดู หรือพุทธมหายาน เป็นได้ชื่อว่า ขอม ทั้งหมด ขอมไม่ใช่ชื่อชนชาติ เพราะไม่มีชนชาติขอม แต่เป็นชื่อทางวัฒนธรรม เช่นเดียวกับ [[สยาม]]เนื่องจากสารบบสืบค้นข้อมูลในสยามยังอ่อนด้อยในเชิงวิชาการโบราณคดี จึงทำให้ความเข้าใจเรื่อง “ขอม” ของคนไทยรุ่นหลังได้ขาดพร่องไปนานหลายศตวรรษ ซึ่งถ้าสืบค้นให้ถูกทางก็จะพบว่า “ระเบียบวิธีการสืบทอดความเป็นไทย” ในสมัยโบราณนั้นจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่โดยธรรมชาติของคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก ดังนั้น แม้คนไทยเหนือจะนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน หรือ พราหมณ์ฮินดู ก็ตาม ก็ยังคงมีตำแหน่ง “ขอม” ที่คู่ขนานกับตำแหน่ง “ขุน” ในการยกผู้นำเมืองแว่นแคว้นขึ้นปกครอง เช่น ในยุคก่อนสถาปนาสุโขไทยเป็นราชธานีของไทยเหนือ มีตำแหน่งขุนคือ ขุนบางกลางหาว แต่มี”ขุน”อีกท่านหนึ่งที่สามารถรบชนะ ‘ขอมสบาดโขลญลำพง’นั่นคือ “ขุนผาเมือง” เมื่อรบชนะและได้ร่วมกันสถาปนาเมืองหลวงแล้ว ขุนผาเมืองได้ยกพระนามราชศักดิ์สูงสุดฝ่ายเมืองหลวงพระนคร(กัมวุเทศ)คือ ขุนศรีอินทราทิตย์ ให้แก่พระสหายคือ ขุนบางกลางหาว ในส่วนของตนเองนั้น ได้ลดบทบาทไปคู่ขนานทางด้านการปกครองเมืองในตำแหน่ง “ขอม” ที่เราค้นพบประวัติท่านว่า เป็น “ขอมผาเมือง” เพราะท่านมีความรู้ในด้านศิลปวิทยาการทุกแขนง จึงเป็นที่ปรึกษาราชธานีสุโขทัย และ ปกครองเมืองเคียงคู่สุโขทัยคือ ศรีสัชนาลัย
สำหรับไทยใต้ กลุ่มลว้า และ ทวาลาว หรือ ทวารวดี มีอาณาจักรโบราณที่เจริญรุ่งเรือง นั่นคือ สุวรรณภูมิ (สุวัณณภูมิ) ตั้งเมืองหลวงร่วมระหว่างรอยต่อเมืองพริบพลี(เพชรบุรี) กับ คูบัว ราชพลี (ราชบุรี) มีเจ้าขึ้นปกครองในตำแหน่งคู่ขนานทั้งสองตำแหน่งคือ “ขุน” และ “ขอม” เช่นเดียวกับไทยเหนือ โดยมีขุนที่ปกครองสูงสุดและได้คิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้ในสมัยก่อนยุคพุทธกาล ชื่อว่า “ขุนสือไทย” และ มีตำแหน่งขอมที่สามารถคิดค้นวิทยาการต่างๆ ที่เรียกว่า “ต้น” เช่น ‘ต้นลาย’ ที่ใช้เขียนบนภาชนะดิน หรือ ลายที่ใช้ปักทอบนผ้าเนื้อต่างๆ รวมถึงผ้าไหม โดยเฉพาะ “ต้นลายสือขอมไทย” จะมีตำแหน่งขอมสูงสุดในการประดิษฐ์คิดค้น ชื่อว่า “ขอมฟ้าไทย” และ ยังเป็นผู้ช่วยฝ่ายปกครองสูงสุดคือ ขุนสือไทย ที่ช่วยการสืบทอดความเป็นไทยมาตั้งแต่ก่อนยุคพุทธกาลจนถึงการเปลี่ยนแปลงในการนับถือพระพุทธศาสนา และ การรบพุ่ง การเจริญทางไมตรีระหว่างเมืองและแว่นแคว้น จนถึงการแพร่กระจาย “อารยธรรมขอม” อันยิ่งใหญ่ แต่ชนชาวไทยเหนือและไทยใต้ยังขาดความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ความเป็นคนไทยมาแต่ยุคลว้า ต่อมาเป็นยุคลูกผสมมอญโบราณ คือ มอญกลิงค์ แต่ ไม่มีเขมรโบราณ เพราะที่เรียกตัวเองว่า เขมร แต่คนไทยรุ่นหลังไปโยนบาปให้เขาว่า เป็นขอม นั้น เขาเป็นชาวพื้นเมืองในกัมพูชาตอนใต้ ที่เรียกว่า “ขแมร์กรอม” ที่เราหลงตีความว่า เป็น กรอม กร๋อม และ เข้าใจว่า เป็นขอม ที่แท้คือ ชาวจาม และ ชาวพรรณ ชาวชอง ที่เป็นทาสแรงงานในยุคก่อสร้างปราสาทต่างๆ จากหมู่เกาะทะเลใต้ เท่านั้นเอง
 
นักวิชาการประวัติศาสตร์หลายคน เช่น [[ชาญวิทย์ เกษตรสิริ]], [[ประเสริฐ ณ นคร]], [[ไมเคิล ไรท์]] และ [[สุจิตต์ วงษ์เทศ]] เห็นว่าขอมกับเขมรคือคนกลุ่มเดียวกัน<ref>{{cite news |title=ชาญวิทย์ เกษตรศิริ : ขอม คือ ใคร Who are the Khom? |url=https://prachatai.com/journal/2009/07/25138 |accessdate=30 January 2023 |work=ประชาไท |language=th}}</ref><ref>{{cite news |title="เขมร" ไม่เรียกตัวเองว่า "ขอม" ไม่มีคำว่าขอมในภาษาเขมร คำว่า "ขอม" มาจากไหน? |url=https://www.silpa-mag.com/history/article_75839 |accessdate=30 January 2023 |work=ศิลปวัฒนธรรม |date=27 January 2023 |language=th}}</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ขอม"