ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การกัดเซาะชายฝั่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
 
'''เขื่อนกันทรายและคลื่น''' (jetty) มีลักษณะคล้ายกับคันดักทรายแต่จะยาวและแข็งแรงกว่ามาก นิยมสร้างบริเวณปากแม่น้ำเพื่อป้องกันตะกอนทรายมาทับถมปากแม่น้ำ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมทางเรือ
 
'''เขื่อนกันคลื่น ''' (breakwater) เป็นลักษณะโครงสร้างใช้ชะลอความเร็วของน้ำที่เข้ากระทบฝั่ง จะวางเป็นระยะ ๆ ขนานไปกับชายฝั่ง บางพื้นที่นิยมใช้บริเวณท่าเรือเพื่อป้องกันคลื่นที่อาจสร้างความเสียหายต่อเรือ วัสดุนั้นมีหลายประเภทได้แก่การใช้ท่อนไม้ฟังเป็นแนว ใช้หินก้อนขนาดใหญ่กองรวมกันเป็นแถว ในประเทศไทยจะนิยมใช้กอนหินกองรวมกันมากที่สุด ส่วนในประเทศญี่ปุ่นใช้แท่งคอนกรีตรูปทรง 4 แฉก หรือคอนกรีตที่สร้างขึ้นลักษณะคล้ายโอ่งและมีรูพรุนรอบโอ่ง
 
'''การสร้างหาดใหม่''' (beach renourishment) เป็นการเติมทรายในหาดเพื่อขยายต่อเติมหาดที่ถูกกัดเซาะ แต่วิธีนี้จะให้งบประมาณสูงมากและไม่ใช่การแก้ปัญหาแบบถาวร
 
 
== ดูเพิ่ม ==