ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
→‎top: บอต: นำแม่แบบออก, removed: {{รอการตรวจสอบ}}
อมฤตาลัย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 25:
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อองซานร่วมมือกับดร.บามอร์ตั้งกลุ่มเสรีภาพเพื่อเรียกร้องเอกราช เมื่อถูก[[อังกฤษ]]กวาดล้าง อองซานหนีไปญี่ปุ่นและดำเนินการแบบใต้ดินนำทะขิ่นจำนวน 30 คนไปฝึกอาวุธในญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2484 ทะขิ่นเหล่านี้กลับเข้าประเทศพร้อมกองทัพญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2485 และได้จัดตั้งกองทหารร่วมกับญี่ปุ่นเพื่อขับไล่อังกฤษออกจากพม่า
 
จากจุดนี้ แนวคิดทางการเมืองของทะขิ่นเริ่มแตกต่างกันไป กลุ่มของอองซานสนับสนุนญี่ปุ่น ในขณะที่บางส่วนหันไปนิยมลัทธิ[[คอมมิวนิสต์]]และจัดตั้ง[[พรรคคอมมิวนิสต์พม่า]]ขึ้น ต่อมาเมื่อฝ่ายอองซานเรื่มแน่ใจว่าญี่ปุ่นไม่ได้จริงใจในการให้เอกราชแก่พม่า อองซานจึงเป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นทั้งหมดเข้าเป็นสันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ โดยมีหน่วยงานหลักคือ กองทัพแห่งชาติพม่า [[พรรคปฏิวัติพม่า]] และ[[พรรคคอมมิวนิสต์พม่า]] ภายหลังเมื่อทางญี่ปุ่นเริ่มไหวตัว สันนิบาตฯจึงจึงเปิดรับกลุ่มอื่นๆอื่น ๆ รวมทั้งชนกลุ่มน้อยต่างๆต่าง ๆ เข้าร่วมอีกมาก ดังนั้น เมื่อสงครามโลกยุติลง สันนิบาตฯจึงประกาศเป็นตัวแทนชาวพม่าทั้งหมดในการเรียกร้องเอกราช
 
==การเรียกร้องเอกราช==
อังกฤษไม่พอใจบทบาทของสันนิบาตฯในช่วงสงครามมากนักเพราะเคยร่วมมือกับญี่ปุ่นมาก่อน ดังนั้นเมื่อสงครามยุติลง อังกฤษจึงประกาศจะกลับมาปกครองพม่าต่อไป สันนิบาตฯจึงประกาศต่อต้านอังกฤษและจัดการชุมนุมอย่างสงบที่พระ[[เจดีย์ชเวดากอง]]เมื่อ พ.ศ. 2489 และไม่ให้ความร่วมมือกับตัวแทนรัฐบาลอังกฤษ อย่างไรก็ตามแนวทางการต่อสู้ของผู้นำสันนิบาตฯก็มีความขัดแย้งกันเอง อองซานต้องการต่อสู้ด้วยสันติวิธีแต่พรรคคอมมิวนิสต์ต้องการสู้ด้วยอาวุธ พรรคคอมมิวนิสต์จึงถูกขับออกจากสันนิบาตฯในที่สุด
 
การเจรจาระหว่างพม่ากับอังกฤษส่งผลให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญในพม่าเมื่อ พ.ศ. 2490 และมีการลวนามใน[[สนธิสัญญาเวียงปางหลวง]]กับชนกลุ่มน้อย ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญ อูเซย์วางแผนยึดอำนาจโดยส่งมือปืนเข้าไปสังหารอองซานและรัฐมนตรีอื่นๆอื่น ๆ เมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 หลังจากนั้น อังกฤษตั้งให้[[อูนุ]]เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญและดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญต่อไปจนแล้วเสร็จ อังกฤษให้เอกราชแก่พม่าเมื่อ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 สันนิบาตฯได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศต่อมา
 
==หลังได้รับเอกราช==
การบริหารประเทศของสันนิบาตฯเต็มไปด้วยปัญหาต่างๆต่าง ๆ มากมายทั้งความขัดแย้งกับพรรคคอมมิวนิสต์ และการก่อกบฏของ[[รัฐกะเหรี่ยง]]และ[[รัฐยะไข่|ยะไข่]] ฝ่ายของผู้นำเอง มีการแตกแยกเป็นสองฝ่ายชัดเจนคือฝ่ายของนายกรัฐมนตรีอูนุ ทะขิ่นทิน และอูจอดุนฝ่ายหนึ่งกับฝ่ายสังคมนิยมของบะส่วยกับจอเย่ง ความพยายามผ่อนปรนให้ชนกลุ่มน้อยและการส่งเสริม[[ศาสนาพุทธ]]ที่ทำให้ผู้นับถือศาสนาอื่นไม่พอใจ เป็นเหตุให้นายพลเนวินทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2505 บทบาทของสันนิบาตฯจึงยุติลง
 
==อ้างอิง==