ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภัยพิบัติโภปาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZeroSixTwo (คุย | ส่วนร่วม)
การเยียวยาจ่ายเงินผลกระทบการรั่วไหลสารเคมี
บรรทัด 6:
 
เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 หลังเกิดเหตุการณ์เป็นเวลา 24 ปี ศาลอินเดียได้ตัดสินว่า อดีตพนักงานของยูเนียนคาร์ไบด์ 7 คน รวมทั้งนาย[[วอร์เรน แอนเดอร์สัน]] อดีตประธานบริษัท มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และลงโทษจำคุกคนละ 2 ปี พร้อมปรับเงินอีกคนละประมาณ 2,000 [[ดอลลาร์สหรัฐ]] ซึ่งเป็นบทลงโทษขั้นสูงสุดตามกฎหมายอินเดีย ส่วนอดีตพนักงานอีก 8 คนที่ถูกกล่าวหาด้วย ได้ถึงแก่ความตายลงก่อนมีคำพิพากษาดังกล่าว<ref name="convictions">{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/south_asia/8725140.stm|title=Bhopal trial: Eight convicted over India gas disaster |date=2010-06-07|work=[[BBC News]]|accessdate=2010-06-07}}</ref>
 
โดยตอนที่เกิดอุบัติเหตุ แก๊สอันตรายในโรงงานผลิตยาฆ่าแมลงที่เมืองโบพาล ในอินเดียรั่วไหลออกมาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2527 โรงงานเป็นของบริษัท ยูเนี่ยน คาร์ไบด์ แต่ทางดาว เคมีคอล เข้าซื้อบริษัทในปี 2544
 
แก๊สพิษรั่วจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทันทีถึง 8,000 คนและบาดเจ็บอีกกว่า 500,000 คน
 
อุบัติเหตุครั้งนั้น ทำให้ประชาชนเสียชีวิตไปราว 1 หมื่น 5 พันราย แต่จากการประเมินของฝ่ายทางการอินเดีย ขณะที่นักเคลื่อนไหวในพื้นที่บอกว่าตัวเลขน่าจะสูงกว่านี้ถึง 2 เท่า
 
จากข้อมูลของทางการอินเดีย มีผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุครั้งนี้อย่างน้อย 5 แสนคน และเด็กมากมายหลายพันคนที่เกิดจากพ่อแม่ที่ได้รับผลกระทบ ต่างก็มีร่างกายพิกลพิการมากมาย
 
หนึ่งในผู้ประท้วง ก็รวมถึงชาวเบลเยี่ยมคนหนึ่ง ที่บังเอิญเข้าไปท่องเที่ยวอยู่ในเมืองโบพาลวันที่เกิดเหตุด้วย โดยเธอเล่าว่า เธอตื่นขึ้นมากลางดึก พร้อมกับอาการแสบร้อนที่ตา และมีปัญหาในการหายใจ
 
แม้วันเวลาจะผ่านมา 25 ปีแล้ว แต่ผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวก็ยังพบเห็นได้ ในบรรดาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น โดยกลุ่มรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนบอกว่า สารเคมีจากโรงงานแห่งนี้ ยังคงปนเปื้อนในดิน และน้ำบาดาลของเขตที่อยู่ใกล้เคียง
 
ในปี พ.ศ. 2522 หน่วยผลิตใหม่นี้ได้ เริ่มต้นทำการผลิตสาร MIC และมาเกิดอุบัติภัยถังเก็บสาร MIC ระเบิดช่วงหลังเที่ยงคืนย่างเข้าสู่วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ก๊าซพิษจำนวนมหาศาลฟุ้งกระจายปกคลุมไปทั่วเมือง องค์กรอิสระที่ทำงานในพื้นที่ประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตสัปดาห์แรกประมาณ 8,000 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตในคืนแรก 2,259 คน และทยอยเสียชีวิตภายหลังอีกเป็นจำนวนมาก โดยจากสถิติจำนวนผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุสืบเนื่องจากผลกระทบของอุบัติภัย ครั้งดังกล่าวของทางการท้องถิ่นนับจากวันเกิดเหตุจนถึงปี พ.ศ. 2542 มีจำนวนกว่า 22,000 คน จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีการประเมินว่าในช่วงเกิดเหตุนั้นมีผู้ที่ได้รับผลกระทบประมาณ 500,000 คน
 
แต่จำนวนผู้ตายยังคงทับทวีในเวลาต่อมา จนเพิ่มเป็นประมาณ 7,000 คน  ในปัจจุบัน แม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมา 10 แล้วก็ตาม ชาวเมืองโภพาลจำนวนมากยังคงทนทุกข์ด้วยโรคร้ายอันเป็นผลจากการสูดดมและ สัมผัสก๊าซพิษ บ้างก็เป็นโรคปอด บ้างก็มีปัญหาระบบการหายใจ บางคนเป็นวัณโรค โรคผิวหนัง โรคตา และที่เป็นโรคจิตประสาทก็มี ชาวเมืองโภพาลที่ต้องทุกข์ทนกับโรคร้ายเหล่านี้มีจำ นวนเท่าใด ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ประมาณการมีตั้งแต่  120,000 คน จนถึง 250,000 คน แต่ที่ทราบแน่ชัดก็คือ ทุกวันนี้ชาวเมืองโภพาลยังคงทนทุกข์กับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และยังคงมีคนตายอันเนื่องจากเหตุดังกล่าวนั้นสืบต่อไป
 
ข้อที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็คือ มาตรฐานความปลอดภัยของโรงงานผลิตยาฆ่าแมลง ณ เมืองโภพาลตํ่ากว่ามาตรฐานที่กำ หนดโดยประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอันมาก  นักสังเกตการณ์จำนวน  ไม่น้อยเสนอให้เปรียบเทียบโรงงานของบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ในสหรัฐอเมริกากับ โรงงานของบริษัทเดียวกันในประเทศโลกที่สาม ด้วยเหตุที่รัฐบาลประเทศด้อยพัฒนามุ่งแต่ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อก่อให้เกิดการจำ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จนละเลยมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานด้านความปลอดภัยนี้เอง บรรดาบรรษัทระหว่างประเทศจึงพากันส่งออกมลภาวะไปสู่ประเทศโลกที่สาม ความหย่อนยานในด้านมาตรฐานความปลอดภัย
 
'''การชดเชยเยียวยา'''
 
รัฐบาลอินเดียมีท่าที่ค่อนข้างรอมชอมกับบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ ดังจะเห็นได้จากการยอมรับเงินชดเชยเพียง 470 ล้านเหรียญอเมริกัน ซึ่งน้อยกว่า 20% ของจำนวนเงินชดเชยที่รัฐบาลอินเดียเรียกร้องในเบื้องต้น ขบวนการองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศพากันผิดหวัง
 
ในท่าทีของรัฐบาลอินเดียดังกล่าวนี้ เพราะแม้จนบัดนี้ยังไม่สามารถนำ บริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ มาลงโทษทางอาญาได้ จนท้ายที่สุดบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ก็ลอยนวลออกจากอินเดีย เมื่อถอนทุนออกจากประเทศนั้นในเดือนกันยายน 2537
 
เมื่อบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์จ่ายเงินชดเชยจำ นวน 470 ล้านเหรียญอเมริกันแก่รัฐบาลอินเดียในปี 2532 นั้น เป็นเวลาหลังจากที่เกิด 'เหตุเกิดที่โภพาล' แล้ว 5 ปี ชาวเมืองโภพาลจึงตกอยู่ในภาวะทุกข์เข็ญอย่างแสนสาหัส รัฐบาลอินเดียมิได้ดำ เนินการช่วยเหลือชาวเมืองอย่างเต็มที่ แม้กระทั่งในด้านการรักษาพยาบาล จนเมื่อเวลาล่วงไปแล้ว 10 ปี สถานพยาบาลในบริเวณเมืองโภพาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลเนห์รู (Nehru Medical Hospital) มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่พอเพียงแก่    การรักษาพยาบาล
 
กระบวนการจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้เสียหายเป็นไปอย่างเชื่องช้ายิ่ง ซึ่งเป็นการซํ้าเติม ภาวะทุกข์เข็ญของชาวเมืองโภพาล เมื่อผู้เสียหายยื่น   คำร้องขอเงินชดเชย ทางการจะจ่ายเงินสงเคราะห์ชั่วคราวให้เดือนละ 200 รูปี (ประมาณ 7 เหรียญอเมริกัน)
 
ต่อเมื่อศาลวินิจฉัยแล้วว่าเป็นผู้เสียหายจริง จึงจะได้รับเงินชดเชยเป็นก้อน เงินชดเชยที่จ่ายไปแล้วมีจำ นวนระหว่าง 25,000  ถึง 100,000 รูปี แต่คนส่วนใหญ่ได้รับเพียง 25,000 รูปี (ประมาณ 835 เหรียญอเมริกัน) ขบวนการประชาชนชาวเมืองโภพาล ซึ่งมีนายอับดุล จับบาร์ ข่าน (Abdul Jabbar Khan) เป็นผู้นำ เรียกร้องให้จ่ายเงินชดเชยจำ นวน 50,000 รูปีเป็นอย่างน้อย แต่ชาวเมืองโภพาลที่ยากจนอยู่ในภาวะจำ ยอมในการรับเงินชดเชยเพียง 25,000 รูปี
 
เท่าที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 63 ของผู้ยื่นคำ ร้องมิได้รับเงินชดเชยเนื่องจากเอกสารคำร้องไม่สมบูรณ์บ้าง หรือมิฉะนั้นก็เป็นเพราะไม่สามารถพิสูจน์ความเสียหายที่ได้รับจาก'เหตุเกิด ที่โภพาล' บ้าง เงินชดเชยที่รัฐบาลอินเดียได้รับจากบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ในปี 2532  จำนวน 470 ล้านเหรียญอเมริกัน เริ่มจ่ายให้แก่ผู้เสียหายในเดือนตุลาคม 2535 จนบัดนี้เพิ่งจ่ายให้แก่ผู้เสียหายเพียง 113 ล้านเหรียญอเมริกัน ทั้งๆที่เวลาล่วงเลยมาแล้ว 5 ปี มีผู้ได้รับเงินชดเชยเพียงเรือนพัน ยังมีชาวเมืองโภพาลอีกเรือนแสนที่รอรับเงินชดเชยนี้ หากการพิจารณาจ่ายเงินชดเชยเป็นไปดังที่เป็นมา มีผู้ประมาณการว่าจะต้องใช้เวลาถึง 128 ปี จึงจะพิจารณาคำ ร้องได้หมด
 
ชาวเมืองโภพาลไม่เพียงแต่ต้องทนทุกข์กับอาการเจ็บไข้ได้ป่วยเท่านั้น  การประกอบสัมมาชีพเป็นไปได้ด้วยความลำ บากยากยิ่ง รัฐบาลอินเดียเองมิได้สนใจช่วยเหลือเท่าที่ควร ขบวนการประชาชนชาวเมือง โภพาลต้องการให้รัฐบาลอินเดียประกาศให้ 'เหตุเกิดที่โภพาล'เป็น 'ภัยพิบัติแห่งชาติ' ที่ต้องดำ เนินการช่วยเหลือทั้งในด้านการรักษาพยาบาลและการพัฒนาอาชีพอย่างจริงจัง
 
== อ้างอิง ==