ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.7
วรุฒ หิ่มสาใจ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 42:
}}
 
'''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512''' นับเป็น '''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย เป็นครั้งที่ 11''' มีจัดขึ้นในเมื่อวันที่ [[10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ผลคือชัยชนะของ[[พรรคสหประชาไทย]]ที่นำโดยจอมพล[[ถนอม กิตติขจร]] และพลเอก[[ประภาส จารุเสถียร]] ที่ได้ 75 ที่นั่งจากทั้งหมด 219 ที่นั่ง แต่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสภา ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 49.2% หลังการเลือกตั้ง ส.ส. 2512อิสระ 30 คนจากทั้งหมด 72 คนเข้าร่วมกับพรรคสหประชาไทย ทำให้พรรคสหประชาไทยมีที่นั่งทั้งหมด 105 ที่นั่ง แต่ยังไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภาที่ 110 ที่นั่ง ขณะที่ ส.ส. 24 คนตั้ง[[พรรคอิสระ]]
 
สืบเนื่องมาจากการที่[[จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ได้กระทำ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501|การรัฐประหารขึ้น]]ในวันที่ [[20 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2501]] ได้ประกาศให้[[รัฐธรรมนูญ]], [[รัฐสภาไทย|รัฐสภา]]และ[[พรรคการเมือง]]ต่าง ๆ เป็นอันสิ้นสุดลง และได้ตั้ง[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]ขึ้นเมื่อวันที่ [[3 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2502]] โดยมี นาย[[ทวี บุณยเกตุ]] เป็นประธาน สภาร่างรัฐธรรมนูญใช้เวลาในการร่างรัฐธรรมนูญจนแล้วเสร็จและนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 ในยุคที่มี จอมพล[[ถนอม กิตติขจร]] เป็น[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] และได้มีรัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 นอกจากนั้น ยังได้มีการประกาศใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 และพระราชบัญญัติเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน พ.ศ. 2511 จากนั้นรัฐบาลได้ประกาศกำหนดวันจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นไปตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 180 ซึ่งกำหนดให้ต้องมีการเลือกตั้งขึ้นภายใน 240 วัน