ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บริเวณเวอร์นิเก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล สมอง | Name = บริเวณเวอร์นิเก<br>(Wernicke's area) | Latin = | GraySubject ...
 
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "กลีบข้างศีรษะ" → "กลีบข้างขม่อม" ด้วยสคริปต์จัดให้
บรรทัด 19:
| DorlandsSuf = 12151778
}}
'''บริเวณเวอร์นิเก''' (Wernicke's area) เป็นบริเวณของ[[ซีรีบรัล คอร์เท็กซ์]]ใน[[สมอง]]ของมนุษย์ อยู่ด้านหลังของ[[รอยนูนซุพีเรียร์เทมพอรัล]] (superior temporal gyrus) ล้อมรอบคอร์เท็กซ์ของระบบรับเสียง (auditory cortex) บน[[ร่องด้านข้าง]]หรือร่องซิลเวียน [ซึ่งเป็นส่วนที่[[กลีบขมับ]] (temporal lobe) และ[[กลีบข้างศีรษะขม่อม]] (parietal lobe) มาพบกัน] อาจเรียกบริเวณนี้ว่าส่วนท้ายของ[[บริเวณบรอดมานน์]] 22 และในคนส่วนใหญ่บริเวณนี้จะอยู่ในสมองซีกซ้าย ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะในด้านทักษะทาง[[ภาษา]] การอุดตันของ[[หลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบรัล]] (middle cerebral artery) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจทำให้บริเวณนี้ทำหน้าที่ได้ผิดปกติ
 
ชื่อของบริเวณเวอร์นิเกมาจากชื่อของ [[คาร์ล เวอร์นิเก]] นักประสาทวิทยาและจิตแพทย์ชาว[[ประเทศเยอรมนี|เยอรมัน]] ซึ่งค้นพบว่าการทำลายในบริเวณนี้ทำให้เกิด[[ภาวะเสียการสื่อความ]] (aphasia) ซึ่งเรียกว่า ''Wernicke's aphasia'' หรือ ''receptive aphasia'' ในปี ค.ศ. 1874 ([[พ.ศ. 2417]]) ภาวะดังกล่าวทำให้เกิดความบกพร่องของความเข้าใจภาษาและการพูด ซึ่งมีจังหวะของเสียงที่ธรรมชาติและมี[[วากยสัมพันธ์]]ที่ปกติ แต่ไม่มีความสามารถเข้าใจความหมายได้ อาจเรียกภาวะนี้ว่า ''fluent'' หรือ ''jargon aphasia'' การทำงานของเวอร์นิเกเป็นการริเริ่มการศึกษาสมองในบริเวณนี้และบทบาทที่เกี่ยวกับภาษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจและการตีความภาษาพูด